Tuesday, September 14, 2004

ROAD MOVIES AND RETRO MOVIES

หนังเกี่ยวกับการเดินทางที่ชอบมากๆ (ประเด็นหลักของหนังอาจไม่ได้เกี่ยวกับการเดินทาง แต่การเดินทางเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของหนัง)

1.WEEK-END (JEAN-LUC GODARD, A+)
การเดินทางที่เจอกับความซวยมากมาย

2.FANDO AND LIS (ALEJANDRO JODOROWSKY, A+)
การเดินทางที่เจอกับความซวยมากมาย

3.ZABRISKIE POINT (1970, MICHELANGELO ANTONIONI, A+)
พระเอกหนังเรื่องนี้หล่อมากค่ะ ทัศนียภาพทะเลทรายในหนังเรื่องนี้ก็สุดยอดมากๆ

4.KISS OR KILL (1997, BILL BENNETT, A+)
นำแสดงโดยฟรานเซส โอ คอนเนอร์ จาก A.I. ARTIFICIAL INTELLIGENCE (A+, STEVEN SPIELBERG) ซึ่งอาจจะถือเป็นหนังเกี่ยวกับการแสวงหาและการเดินทางเหมือนกัน

5.THE TRIP (2002, MILES SWAIN, A)
ช่วงแรกของหนังเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของเกย์หนุ่มสองคนในทศวรรษ 1970 โดยกินระยะเวลาราว 10 ปี แต่ช่วงหลังของหนังจะพูดถึงการเดินทางของทั้งคู่ขณะออกจากเม็กซิโกมายังสหรัฐ เป็นหนังที่ตลก, ซึ้ง และได้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เกย์ในสหรัฐ

6.BUBBLE BOY (2001, BLAIR HAYES, A)
เจค กิลเลนฮาล พระเอกหนังเรื่องนี้พบคนแปลกๆมากมายในระหว่างการเดินทาง นี่คือหนังการเมืองที่ปลอมตัวมาในรูปของหนังตลกในแบบเดียวกับ ELLA ENCHANTED (A) และหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะโจมตีนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมเหมือนๆกัน โดยศัตรูสำคัญของ BUBBLE BOY ก็คือประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนและค่านิยมที่เรแกนทิ้งไว้ให้กับสังคมอเมริกัน

7.WHAT ALICE FOUND (A. DEAN BELL, A-)
เด็กสาวคนนึงเดินทางออกจากบ้าน เธอได้พบกับชายหญิงวัยกลางคนท่าทางใจดีคู่นึงในระหว่างการเดินทาง และเธอก็ตัดสินใจร่วมทางกับชายหญิงคู่นี้ ในตอนนั้นเธอไม่รู้หรอกว่าเธอจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ทางเพศอะไรบ้างข้างหน้า

8.ALICE IN THE CITIES (1974, WIM WENDERS, A-)
หนังอันอบอุ่นเกี่ยวกับการเดินทางของผู้ชายที่จับพลัดจับผลูต้องมาช่วยเด็กหญิงคนนึงหาบ้านของตัวเอง แน่นอนว่าการที่นางเอกหนังเรื่องนี้และหนังเรื่องอื่นๆใช้ชื่อว่า alice เป็นเพราะว่าหนังต้องการพาดพิงไปถึง ALICE IN WONDERLAND ซึ่งก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเดินทางเหมือนกัน

9.THE SHOOTING (1967, MONTE HELLMAN, A-)
การเดินทางของคาวบอยที่พิศวงมาก

10.ชื่อชอบ ชวนหาเรื่อง (A-)



TREASURE ISLAND ทำเลียนแบบหนังยุคเก่าได้เหมือนมากๆจริงๆด้วยค่ะ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราถูกหลอกก็คือ

1.เราไม่เคยรู้ข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้มาก่อนเลย
2.เราไม่เคยรู้จักนักแสดงในหนังเรื่องนี้มาก่อนเลย ถ้าหากเราเห็นหน้านักแสดงที่เรารู้จัก เราก็ต้องพอเดาออกแน่นอนว่ามันเป็นหนังที่สร้างขึ้นในยุคไหน

ชอบที่คุณ homogenic บอกว่าบางฉากดูเหมือนหนังของ David Lynch ค่ะ ตอนแรกดิฉันไม่ทันนึกตรงจุดนี้ แต่พอคิดดูอีกทีก็ใช่จริงๆ เพราะหนังของเดวิด ลินช์จะมี “ความหลอน + ลักษณะบางอย่างของทศวรรษ 1950” ผสมอยู่ด้วย และหนังเรื่อง Treasure Island ก็จะมีลักษณะนี้อยู่ด้วยเหมือนกัน

ดิฉันจะชอบหนังที่มีลักษณะแบบนี้ค่ะ หนังที่มีความหลอน+ลักษณะบางอย่างของทศวรรษ 1940-1950 เรื่องอื่นๆ ที่ดิฉันเคยดูก็มีเรื่อง THE STICKY FINGERS OF TIME หรือ “ผู้หญิงสามมิติ” (A+) ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และหนังบางเรื่องของ Bruce Conner โดยเฉพาะเรื่อง TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, A+++++) ดิฉันรู้สึกว่าหนังแต่ละยุคอาจจะมีความหลอนแตกต่างกันไป แต่ในทศวรรษนั้นความหลอนมักจะเกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์และมนุษย์ต่างดาวด้วย

ฉากบางฉากใน TREASURE ISLAND ทำให้ดิฉันนึกไปถึงมิวสิควิดีโอเพลง YOU DO SOMETHING TO ME ของ SINEAD O’CONNOR ด้วย

นอกจากนี้ ดิฉันยังคิดว่า TREASURE ISLAND เป็นหนึ่งในหนังที่นำสไตล์หนังยุคเก่ามาประยุกต์ดัดแปลงใช้ได้อย่างถูกใจมากๆค่ะ หนังที่นำสไตล์หนังยุคเก่ามาดัดแปลงใช้ได้ถูกใจดิฉันมากๆก็รวมถึงเรื่อง

1.THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (2004, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, A+)
2.THE SADDEST MUSIC IN THE WORLD (2003, GUY MADDIN, A+)
3.ODILON REDON OR THE EYE LIKE A STRANGE BALLOON MOUNTS TOWARD INFINITY (1995, GUY MADDIN)
4.FAR FROM HEAVEAN (2002, TODD HAYNES, A+/A)
5.MINOES (2001, VINCENT BAL, A+/A)
6.POISON (1991, TODD HAYNES, A)
7.ฟ้าทะลายโจร (A)
8.A PLACE AMONG THE LIVING (2003, RAOUL RUIZ, A)
9.WILLARD (2003, Glen Morgan, A)
10.KILL BILL (A)
11.DOWN WITH LOVE (2003, PEYTON REED, A-)
12.JUHA (1999, AKI KAURISMAKI, B+)
13.TALES FROM THE GIMLI HOSPITAL (1988, GUY MADDIN, B+)
14.CQ (2001, ROMAN COPPOLA, B+)
15.YES NURSE, NO NURSE (2002, PIETER KRAMER, B)

เสียดายเหมือนกันค่ะที่ ODE TO COLOGNE ภาพไม่ค่อยชัด แต่ยังดีที่หนังเรื่องนี้เน้นเสียงเพลง ไม่ได้เน้นรายละเอียดของภาพ ก็เลยทำให้ไม่เสียอารมณ์มากนัก

รู้สึกแปลกใจกับตัวเองเหมือนกันค่ะ เพราะคุณสนธยาชอบเอาเพลงของ BAP มาเปิดในโรงหนังก่อนหนังฉาย ดิฉันเคยฟังเพลงของ Bap หลายรอบแต่ก็ไม่เคยชอบเพลงของพวกเขาเลย แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วกลับทำให้ชอบเพลงของวงนี้เพิ่มขึ้นมาก ที่รู้สึกแปลกก็คือภาพที่วิม เวนเดอร์สถ่ายมาประกอบกับเพลงในหนังเรื่องนี้ เป็นภาพมิวสิควิดีโอที่ธรรมดามากๆ ดิฉันดูแล้วรู้สึกว่าภาพที่ใช้ประกอบเพลงในหนังเรื่องนี้ มันทั้งธรรมดา ทั้งเชย ไม่มีความหวือหวา ไม่มีความเปรี้ยวความเท่อะไรเลย แต่ทำไมภาพและการตัดต่อที่ธรรมดาเหลือเกินเหล่านี้ ถึงทำให้ดิฉันรู้สึกถึงความเพราะของเพลงเพิ่มขึ้นมากก็ไม่รู้ นี่คือสิ่งที่ดิฉันทึ่งกับเวนเดอร์สมากค่ะ เขาทำให้เพลงเพราะขึ้นกว่าเดิม 10 เท่าในความเห็นของฉัน การถ่ายภาพและการตัดต่อภาพของเขามีอะไรบางอย่างที่มันทำให้เพลงฟังเพราะขึ้นมาก แต่กลับไม่แย่งความเด่นมาจากตัวเพลงเลยแม้แต่นิดเดียว

ตอนที่ดู BUENA VISTA SOCIAL CLUB ก็รู้สึกว่าเพลงเพราะมาก แต่ในตอนนั้นก็ไม่คิดว่าความรู้สึกชอบของดิฉันที่มีต่อเสียงเพลงเกิดจากฝีมือของวิม เวนเดอร์สทั้งหมด เพราะดิฉันคิดว่าถ้าตัวเองได้ฟังเพลงพวกนี้จากที่อื่น ก็คงชอบเพลงพวกนี้ได้ง่ายๆเหมือนกัน แต่ในกรณีของ ODE TO COLOGNE, THE SOUL OF A MAN และ ALABAMA – 3000 LIGHT YEARS FROM HOME (A+++++) นั้น ดิฉันยกความดีความชอบให้กับเวนเดอร์สทั้งหมดเลยค่ะ เพราะถ้าดิฉันฟังเพลงเหล่านี้จากที่อื่น ไม่ใช่จากในหนัง 3 เรื่องนี้ ดิฉันคงฟังได้ไม่จบเพลงอย่างแน่นอน เพราะมันไม่ใช่เพลงแนวที่ตัวเองชอบเลย ดิฉันไม่ชอบเพลงร็อคและเพลงบลูส์ค่ะ แต่พอได้ดูหนัง 3 เรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกได้เลยว่าวิม เวนเดอร์สดึงความเพราะของเพลงพวกนี้ออกมาได้อย่างมหัศจรรย์มากๆ

ดิฉันเคยรู้สึกอย่างนี้กับซาวด์แทรค PARIS, TEXAS เหมือนกันค่ะ เพราะเพื่อนของดิฉันเคยให้ซีดีซาวดท์แทรคหนังเรื่องนี้มาฟังก่อนที่ดิฉันจะได้ดูตัวหนัง ดิฉันยอมรับว่าแทบทนฟังซาวด์แทรคของหนังเรื่องนี้ไม่ได้เลย มันไม่ใช่แนวที่ตัวเองชอบเลยจริงๆ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว แล้วกลับมาฟังซาวด์แทรคหนังเรื่องนี้อีกที บรรยากาศและภาพต่างๆจากในหนังมันก็ลอยขึ้นมาในมโนสำนึก และทำให้รู้สึกว่าจริงๆแล้วซาวด์แทรคหนังเรื่องนี้มันเพราะสุดขีด ความรู้สึกที่มีต่อซาวด์แทรคหนังเรื่องนี้พลิกจากหลังตีนมาเป็นหน้ามือเพราะตัวหนังแท้ๆ

หนังเรื่อง VELVET GOLDMINE (A+) ของ TODD HAYNES ก็ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเพลงในหนังมันเพราะสุดขีดเหมือนกันค่ะ ไม่รู้เขาเรียกว่าเพลงแนวแกลมร็อคหรือเปล่า ทั้งๆที่ปกติแล้วไม่เคยชอบเพลงแนวนี้มาก่อนเลย

ชอบตอนที่ผู้หญิงผิวดำร้องเพลงใน ODE TO COLOGNE เหมือนกันค่ะ ดิฉันมักจะชอบฟังเพลงที่ผู้หญิงร้องมากกว่าผู้ชายร้อง ปัจจัยนึงอาจจะเป็นเพราะว่าตอนที่ผู้หญิงร้อง ดิฉัน “ฟัง” เพลงจริงๆ แต่ตอนที่ผู้ชายร้อง ดิฉันอาจจะ “ดู” มากกว่า “ฟัง” อิอิอิ โดยเฉพาะในกรณีของวงบอยแบนด์

ตอนที่ผู้หญิงผิวดำร้องเพลงใน ODE TO COLOGNE ทำให้ดิฉันนึกไปถึงวง DEACON BLUE เหมือนกันค่ะ เพราะวงนี้ทำเพลงเพราะมาก แต่ส่วนใหญ่มักให้ผู้ชายร้อง ทั้งๆที่ในวงนี้ก็มีสมาชิกเป็นผู้หญิงเหมือนกัน ตอนแรกดิฉันก็ไม่รู้ว่าผู้หญิงใน DEACON BLUE ร้องเพลงเก่งหรือเปล่า เพราะไม่เคยได้ยินเสียงเธอชัดๆถนัดๆสักที เธอได้ร้องคลอๆแค่เพลงละ 2-3 ประโยคเท่านั้น แต่พอตอนหลังก็ได้ฟังเพลง COVER FROM THE SKY ที่ผู้หญิงคนนี้ได้ร้องนำอย่างเต็มตัว โอ มันช่างเพราะอะไรเช่นนี้ ทำไมวงDEACON BLUE ถึงไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงคนนี้ได้ร้องนำหลายๆเพลงก็ไม่รู้

ดู THE SOUL OF A MAN และ ODE TO COLOGNE แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าหนังสารคดีที่เกี่ยวกับเพลงนี่มีเยอะแยะมากมายจริงๆ หนังแนวนี้ที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึงก็คือ STANDING IN THE SHADOWS OF MOTOWN (2002, PAUL JUSTMAN, A-) โดยเฉพาะฉากที่ CHAKA KHAN ร้องเพลงนี่ โหย เพราะมากๆ แต่บางเรื่องดิฉันก็ไม่ค่อยชอบเท่าที่ควร อย่างเช่นเรื่อง SOUND OF BRAZIL (2002, MIKA KAURISMAKI, B-)

No comments: