Thursday, July 14, 2005

WAR PHOTOGRAPHER (A+)

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.WAR PHOTOGRAPHER (2001, CHRISTIAN FREI, A+) http://us.imdb.com/title/tt0309061/
2.CEASE! FIRE! MORE BROKEN PROMISES, MORE BROKEN LIVES (2004, KAW LAH FILMS, A+)
3.ANGRY HARVEST (1984, AGNIESZKA HOLLAND, A+)

--หนังที่ควรดูควบกับ WAR PHOTOGRAPHER คือ

1.HOTEL RWANDA (2004, TERRY GEORGE, A) เพราะพูดถึงสงครามรวันดาเหมือนกัน แต่ JAMES NACHTWEY พระเอกของ WAR PHOTOGRAPHER เล่าให้ฟังว่าหลังจากกลุ่มฮูตูที่พ่ายแพ้หนีไปประเทศเพื่อนบ้านเมื่อสงครามกลางเมืองสิ้นสุด พวกเขาก็ไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากโรคระบาดอย่างอหิวาต์ พวกเขา “ขึ้นทางด่วนไปลงนรกอย่างรวดเร็ว”

2. ONE STEP ON A MINE, IT’S ALL OVER (1999, SHO IGARASHI, A-) ที่นำแสดงโดย TADANOBU ASANO ในบทของตากล้องที่เข้ามาถ่ายภาพในกัมพูชาในช่วงสงครามกลางเมือง เพราะหนังสองเรื่องนี้พูดถึงตากล้องที่ทำงานเสี่ยงภัยเหมือนกัน http://us.imdb.com/title/tt0228460/

3.BEFORE THE RAIN (1994, MILCHO MANCHEVSKI, A+) ในขณะที่ WAR PHOTOGRAPHER นำเสนอการทำงานของตากล้องและนักข่าวท่ามกลางความโหดร้ายของสงครามในโคโซโว หนังเรื่อง BEFORE THE RAIN ก็นำเสนอเรื่องราวของตากล้อง (RADE SERBEDZIJA) ที่กลับไปเยี่ยมบ้านในมาเซโดเนีย และได้พบกับความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ

สิ่งที่อาจอ่านเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดู WAR PHOTOGRAPHER

1.ความขัดแย้งเรื่อง AMBON ใน INDONESIA http://www.geocities.com/CapitolHill/Senate/9388/ambon/ambon.htm

2.หนังสือ REGARDING THE PAIN OF OTHERS ของ SUSAN SONTAG ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพถ่ายสงคราม http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0374248583/qid=1120929888/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-6539791-1153729

--ชอบดนตรีประกอบใน WAR PHOTOGRAPHER มาก

--ชอบหลายๆช่วงของ WAR PHOTOGRAPHER ที่ไม่มีคำพูด แต่ให้ผู้ชมดูภาพไปเรื่อยๆ

--ท่าทาง JAMES NACHTWEY ตอนหนุ่มๆจะหล่อมากขนาดเพียร์ซ บรอสแนน

--เพิ่งสังเกตว่าคำว่า CEASE! FIRE! กับ CEASEFIRE อาจจะมีความหมายตรงข้ามกัน

--ฉากที่ประทับใจมากๆใน CEASE! FIRE! รวมถึง
1.ฉากที่เข้าไปถ่ายศพอย่างใกล้ชิด
2.ฉากที่ชาวกะเหรี่ยงบางคนเล่าถึงความโหดร้ายทารุณที่ตัวเองประสบ
3.ฉากถอนสะเก็ดระเบิดจากขาคน

แต่ในขณะที่ CEASE! FIRE! นำเสนอความโหดร้ายทางภาพและทางคำบอกเล่าในบางฉาก ดิฉันก็ประทับใจกับความเห็นของผอ.สถาบันเกอเธ่มากที่ว่า บางทีฉากที่กระทบความรู้สึกอย่างรุนแรงที่สุดในหนังเรื่องนี้ กลับเป็นฉากที่ถ่ายภาพคนบางคน “หัวเราะ” เพราะฉากนั้นคือฉากที่โบ เมี๊ยะ ผู้นำกะเหรี่ยงพูดกับนายพล ขิ่น ยุ้นต์ ตอนที่ยังเป็นผู้นำพม่าว่า “พอเราสร้างบ้านทีไร พวกทหารก็มาเผาบ้านขับไล่เราออกไปเสมอ” และนายพลขิ่น ยุ้นต์กับพรรคพวกก็หัวเราะกันสุดเสียงเมื่อได้ยินคำพูดนี้ และบางที นี่อาจจะเป็นฉากที่น่ากลัวที่สุดในหนังเรื่องนี้จริงๆ (ถึงแม้ขิ่น ยุ้นต์จะพ้นจากอำนาจไปแล้วก็ตาม) โดยผอ.เกอเธ่ยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า การที่นายทหารระดับสูงสามารถหัวเราะ “กลบเกลื่อน” ความผิดของตัวเองเช่นนี้ ทำให้เขานึกถึงเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ประชาชนเยอรมันหลายคน “ไม่รู้” หรือ “ไม่อยากจะรับรู้” ว่าชาวยิวที่เคยเป็นเพื่อนบ้านของตนกำลังถูกขับไล่ออกจากบ้าน หรือไม่ก็กำลังถูกฆ่าอยู่ห่างจากบ้านของพวกเขาไปเพียงไม่กี่สิบเมตร หรือถึงแม้ประชาชนเยอรมันได้รู้เรื่องนี้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาก็ทำเพียงแค่ “ยอมรับผิด” แต่ไม่ได้ “สำนึกผิด” แต่อย่างใด กว่าพวกเขาจะ “สำนึกผิด” อย่างแท้จริง ก็ต้องรอจนเมื่อเข้าทศวรรษ 1970 ไปแล้ว

ปัญหาเรื่องชนชาติที่ได้รับการนำเสนอใน CEASE! FIRE! ทำให้นึกถึงปัญหาเรื่องชนชาติในประเทศจีนในขณะนี้ด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะชนชาติ UIGHUR ในมณฑลซินเกียงของจีน เพราะเพิ่งได้อ่านข่าวว่ามีนักประพันธ์ชาว UIGHUR คนหนึ่งที่แต่งนิทานเกี่ยวกับนกพิราบเรื่อง WILD PIGEONS แต่ทางการจีนไม่พอใจนิทานเรื่องนี้ ก็เลยจับนักประพันธ์คนนี้ไปขังคุก 10 ปี

อ่านข่าวเกี่ยวกับการขังคุกผู้แต่ง WILD PIGEONS ได้ที่ http://in.news.yahoo.com/050701/137/5z5ys.html

อ่านนิทานเรื่อง WILD PIGEONS ได้ที่ http://www.rfa.org/english/uyghur/2005/06/27/wild_pigeon/

--อีกชนชาติหนึ่งที่มีปัญหาในจีน ก็คือชาวทิเบต หนังที่เคยดูที่พูดถึงปัญหานี้บ้างเล็กน้อยก็คือหนังสารคดีเรื่อง WHEEL OF TIME (2003, WERNER HERZOG, A-/B+)

--CEASE! FIRE! เป็นหนังไม่กี่เรื่องที่ดิฉันเคยดูที่มีชื่อผู้กำกับเป็น “กลุ่ม” ไม่ใช่ชื่อคน

--พูดถึงความเห็นเกี่ยวกับฉากที่ “น่ากลัว” ที่สุดใน CEASE! FIRE! ก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง BETRAYED (1988, COSTA-GAVRAS, A+) ด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าจำไม่ผิด ใน BETRAYED จะมีฉากการจับมนุษย์มาใช้ในเกมล่าสังหารที่โหดร้ายทารุณมากๆ แต่ผู้กำกับกลับบอกว่านั่นไม่ใช่ฉากที่เขารู้สึกว่าน่ากลัวที่สุด เขารู้สึกว่าฉากที่น่ากลัวที่สุดในเรื่องนี้คือฉากที่เด็กๆได้รับการปลูกฝังจากพ่อแม่ผู้ปกครองหรือจากสังคมให้กลายเป็นคนเหยียดผิว


--เมื่อพูดถึงหนังเกี่ยวกับปัญหาเชื้อชาติและการเหยียดผิวแล้ว ก็มีหนังเรื่องนึงในแนวนี้ที่อยากดูมากๆ คือเรื่อง SUD (1999, CHANTAL AKERMAN, ยาว 70 นาที) โดยหนังเรื่องนี้อาจจะเน้น “บรรยากาศ” มากกว่าหนังเกี่ยวกับการเหยียดผิวเรื่องอื่นๆ

ในช่วง 15 นาทีแรกในหนังสารคดีเรื่อง SUD ผู้ชมจะได้ชมชีวิตประจำวันของคนในภาคใต้ของสหรัฐ ได้เห็นบางคนออกมาตัดหญ้าหน้าโบสถ์ และเห็นคนหลายๆคนทำงานต่างๆของตัวเอง โดยไม่มีบทบรรยายใดๆทั้งสิ้น หลังจากนั้นหนังก็จะค่อยๆนำเสนอเรื่องราวของการสังหาร JAMES BYRD ซึ่งเป็นชายผิวดำในปี 1998 โดยกลุ่ม WHITE SUPREMACISTS โดยที่คนกลุ่มนี้จับเจมส์ เบิร์ดมามัดไว้กับท้ายรถบรรทุก และขับรถลากเขาถูลู่ถูกังไปกับพื้นถนนเรื่อยๆจนเขาถึงแก่ความตาย โดยที่อวัยวะต่างๆจากตัวเขาหล่นอยู่กระจัดกระจายตามท้องถนนตลอดระยะทาง 3 ไมล์ที่เขาถูกลากตัวไป

และเมื่อผู้ชมได้รับรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนี้ ความรู้สึกของผู้ชมที่มีต่อ “ภาพชีวิตประจำวัน” ของผู้คนในเมืองแจสเปอร์ รัฐเท็กซัส ที่ได้เห็นในช่วงต้นเรื่อง ก็จะเปลี่ยนไปในทันที ภาพชีวิตประจำวันที่ดูน่าเบื่อหน่าย ได้กลายเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสยดสยองพองขนไปแล้ว

ในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ กล้องของชองตาล แอคเคอร์มานจะพาผู้ชมไปสำรวจดูท้องถนนตลอดระยะทาง 3 ไมล์ที่ร่างกายของชายผิวดำคนนี้เคยถูกลากไป โดยผู้ชมจะรู้สึกเหมือนตัวเองได้สัมผัสกับทุกตารางนิ้วบนถนนมรณะสายนั้น

ภาพท้องถนนที่ว่างเปล่าและยาวนาน คงเป็นภาพที่น่าเบื่ออย่างสุดๆ แต่ในหนังเรื่องนี้นั้น ทุกๆวินาทีที่กล้องลากเราไปบนถนนสายนี้ คือเสียงกรีดร้องของความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

(แปลจากบทวิจารณ์หนังเรื่อง SUD ใน TIME OUT FILM GUIDE) http://www.filmfestivals.com/cannes99/html/quinzaine8.htm

ภาพจากหนังเรื่อง SUD http://www.centreimage.ch/00docs/images/1999/bim/sud_B_akerman.jpg

No comments: