Saturday, August 20, 2005

QUARTET (MULLIKA TANGSANGOB, A+)

อยากดู DARWIN’S NIGHTMARE มากๆเลยค่ะ หนังเรื่องนี้กำกับโดย HUBERT SAUPER
http://www.imdb.com/name/nm0767012/

BARBARA ALBERT กับ MARTIN GSCHLACHT ร่วมอำนวยการสร้าง DARWIN’S NIGHTMARE ด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0424024/fullcredits

BARBARA ALBERT เป็นผู้กำกับหญิงชาวออสเตรีย เธอเคยกำกับหนังเรื่อง FREE RADICALS (2003, A+) และเคยเขียนบทหนังเรื่อง SO I SLEEPWALK IN BROAD DAYLIGHT (1994) ซึ่งผู้กำกับหนังชื่อยาวๆเรื่องนี้ก็คือ HUBERT SAUPER นั่นเอง

ส่วน MARTIN GSCHLACHT นั้น นอกจากจะอำนวยการสร้างหนังหลายเรื่องแล้ว เขายังเป็นตากล้องที่เคยถ่ายหนังออสเตรียดีๆมาแล้วหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง
http://www.imdb.com/name/nm0345116/

1.ANTARES (2004, GOTZ SPIELMANN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0419449/

2.HOTEL (2004, JESSICA HAUSNER, A+)

3.FREE RADICALS

4.LOVELY RITA (2001, JESSICA HAUSNER, A+)


ทวีปแอฟริกาเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าเศร้ามาก นอกจาก DARWIN’S NIGHTMARE แล้ว หนังเกี่ยวกับแอฟริกาที่อยากดูมากในระยะนี้ก็รวมถึงหนังหลายเรื่องที่ฉายในเทศกาลเฟสปาโกในปีนี้ อย่างเช่นเรื่อง

1.THE HERO (ZEZE GAMBOA, ANGOLA) รู้สึก bioscope เคยพูดถึงหนังเรื่องนี้ไปแล้ว หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารผ่านศึกที่พยายามตั้งต้นชีวิตใหม่
http://www.imdb.com/title/tt0424142/



2.THE GOVERNOR’S NEW CLOTHES (MWEZE NGANGURA, CONGO)

หนังเพลง/เบาสมอง (!) ของคองโกเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนิทานของ HANS CHRISTIAN ANDERSEN (!) ซึ่งเป็นชาวเดนมาร์ก แต่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้พาดพิงไปถึงสงครามบอสเนีย (!)
http://www.international.ucla.edu/showevent.asp?eventid=3079


3.THE COLONIAL MISUNDERSTANDING (JEAN-MARIE TENO, CAMEROON)
http://www.e.bell.ca/filmfest/cinematheque/programmes_description.asp?progID=17&subProgID=226&progTitle=&subFlag=1

หนังสารคดีเรื่องนี้สำรวจประวัติศาสตร์ของมิชชันนารีเยอรมันในแอฟริกา และการที่เยอรมนีเคยทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศนามิเบีย


4.LA NUIT DE LA VERITE (FANTA REGINA NACRO, BURKINA FASO)
http://www.bbc.co.uk/worldservice/africa/fespaco2005/about_films/west_africa/verite.shtml


ตอบคุณ grappa

ชอบ THE ORDINARY ROMANCE ตรงความเรียบง่ายของมันค่ะ ส่วนตัวดิฉันแล้วจะชอบช่วงครึ่งแรกของเรื่องค่ะ เพราะได้เห็นหน้าคุณเปลวชัดดี ดิฉันรู้สึกว่าแกเล่นได้ดีพอสมควร และแววตาของแกในช่วงฉากแรกก็ดูเจ้าชู้ดีด้วย แต่ก็รู้สึกอยู่เหมือนกันว่าการตัดต่อระหว่างภาพนางเอกพูดกับภาพพระเอกพูดดูเหมือนอารมณ์ไม่สอดรับกันเท่าไหร่ พอผู้กำกับมาเฉลยทีหลังว่าตัดต่อมาจากคนละเทคกันก็เลยเข้าใจ

สำหรับช่วงครึ่งหลังของเรื่อง หนังเริ่มถอยกล้องออกห่างจากตัวละคร ดิฉันก็เลยเริ่มรู้สึกห่างๆจากตัวละครไปด้วย และก็เริ่มรำคาญนางเอกยังไงไม่รู้ จริงๆแล้วนางเอกเธอก็เป็นคนธรรมดาคนนึงนั่นแหละ เพียงแต่ไม่ใช่คนแบบที่ดิฉันสนใจมากนัก

อย่างไรก็ดี ยิ่งดิฉันรู้สึกรำคาญนางเอกมากเท่าไหร่ ดิฉันก็ยิ่งชอบพระเอกมากขึ้นเท่านั้น เพราะรู้สึกว่าเขาช่างมีความอดทนสูงเสียจริงๆที่ยินดีใช้เวลาอยู่กับผู้หญิงคนนี้ได้

หลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ให้อารมณ์นิ่งเรียบเจือโรแมนติกในแบบที่ดิฉันรู้สึกว่าไม่ค่อยได้พบในหนังไทยสักเท่าไหร่ ดิฉันชอบโทนอารมณ์ของหนังเรื่องนี้ที่รักษาความไม่ฉูดฉาดโฉ่งฉ่างไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังไม่ค่อยเน้นบรรยากาศหรือการถ่ายภาพด้วย ในขณะที่หนังนิ่งๆหลายเรื่องมักจะเน้น “บรรยากาศ” หรือ “การถ่ายภาพ” มากกว่าหนังเรื่องนี้

มีฉากเดียวในเรื่องนี้ที่ดิฉันรู้สึกว่าให้อารมณ์ที่คุ้นเคย นั่นก็คือฉากนางเอกไปหาหมอดู ส่วนฉากอื่นๆให้อารมณ์ที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ชอบความไม่คุ้นเคยนี่แหละค่ะ

THE ORDINARY ROMANCE เป็นหนังรักที่ให้อารมณ์เย็นๆลอยๆ แทบไม่มีความเร่าร้อนอยู่ในหนังเลย แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน การที่ผู้ชายจะรักผู้หญิงสักคน สิ่งสำคัญคงไม่ได้อยู่เพียงแค่ว่าเขาพึงพอใจกับความสวย, ความน่ารัก, รูปร่างหน้าตา หรือต้องการมีเซ็กส์กับผู้หญิงคนนั้นเท่านั้น แต่เขาจะต้องเป็นคนที่ยอมอดทนฟังผู้หญิงคนนั้นพูดๆๆ บ่นๆๆๆ, ยอมอดทนใช้เวลาอยู่กับผู้หญิงคนนั้นนานๆโดยไม่มีการทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ ซึ่งก็ดูเหมือนพระเอกของเรื่องจะสอบผ่านในข้อนี้

นึกไม่ออกด้วยว่าจะเอา THE ORDINARY ROMANCE ไปเทียบกับหนังเรื่องไหนดีที่มีความใกล้เคียง เพราะถึงแม้ THE ORDINARY ROMANCE จะเล่าเรื่องผ่านทางชีวิตธรรมดาของชายหนุ่มหญิงสาวที่มาพูดคุยกัน แต่หนังเรื่องนี้ก็ให้อารมณ์นิ่งๆ เนือยๆ และค่อนข้างเหินห่างจากตัวละครมากกว่าหนังของ ERIC ROHMER


--ยังไม่ได้ดู THE FACE OF JIZO เลยค่ะ หนังญี่ปุ่นเกี่ยวกับบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง เท่าที่เคยดูก็มีเรื่อง

1.GRAVE OF THE FIREFLIES (1988, ISAO TAKAHATA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0095327/

2.RHAPSODY IN AUGUST (1990, AKIRA KUROSAWA, B)


--เห็นพูดถึงฮิโรชิม่า ก็เลยนึกถึงข่าวเกี่ยวกับเคนโซ ทังเกะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตเมื่อต้นปีนี้ค่ะ ที่นึกถึงเขาก็เพราะว่าเขาเป็นคนที่ช่วยบูรณะฮิโรชิม่าช่วงหลังสงคราม

เว็บไซท์ของ KENZO TANGE อยู่ที่นี่ค่ะ
http://www.ktaweb.com/en_index2.html

มีภาพอาคารที่เขาออกแบบให้ดูมากมายเลย
http://www.ktaweb.com/works/en_index.html

ส่วนรายชื่อและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ชนะรางวัล PRITZKER PRIZE คนอื่นๆนั้น สามารถดูได้จากเว็บไซท์นี้ค่ะ
http://www.pritzkerprize.com/main.htm


--พูดถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เลยนึกถึงหนังสือเล่มนึงที่อยากอ่านมากๆค่ะ นั่นก็คือ A PLAGUE UPON HUMANITY: THE SECRET GENOCIDE OF AXIS JAPAN’S GERM WARFARE OPERATION ที่เขียนโดย DANIEL BARENBLATT

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0060186259/qid=1124479493/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=books

ชินจิ อาโอยามาเคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง It's Not in the Textbook, Helpless, Two Punks, Wild Life, An Obsession และ Shady Grove

--AN OBSESSION (1997) มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำรวจคนหนึ่งที่สูญเสียปืน, ปอด, ภรรยา และการควบคุมตัวเองไปในอุบัติเหตุทางการยิงปืน โดยนักวิจารณ์บอกว่าจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อยู่ที่ layers และ textures ของหนัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ “เสียง”

--นักวิจารณ์บางคนวิจารณ์ DESERT MOON ของ SHINJI AOYAMA ว่าเป็นหนัง “เมโลดรามายุคหลังจากฟาสบินเดอร์” (POST-FASSBINDER MELODRAMA)

--นักวิจารณ์บางคนบอกว่า A FOREST WITH NO NAME ของ SHINJI AOYAMA มีบางจุดทำให้นึกถึง CHARISMA (1999, KIYOSHI KUROSAWA, A+) และจัดเป็นหนังของ AOYAMA ที่เข้าใกล้หนังของ KIYOSHI KUROSAWA มากที่สุด
http://www.midnighteye.com/reviews/fornonam.shtml

--LAKESIDE MURDER CASE ของ SHINJI AOYAMA ได้รับคำวิจารณ์ว่าเป็นหนังที่ COMMERCIAL ที่สุดของเขา

โทษทีค่ะ ข้างบนใส่ลิงค์ของ LAKESIDE MURDER CASE ผิดไป
http://www.twitchfilm.net/archives/000802.html

ดาวน์โหลดหนังตัวอย่าง LAKESIDE MURDER CASE ได้ที่
http://www.lakeside-mc.com/index.html

--ยังไม่ได้ดูหนังใหม่เข้าโรงในสัปดาห์นี้เลย เมื่อวันพฤหัสบดีไปดู CRIMSON GOLD (2004, JAFAR PANAHI, A+) ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนวันศุกร์ไปดูละครเวทีเรื่อง QUARTET (มัลลิกา ตั้งสงบ, A+) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแสงอรุณ ซอยสาทร 10

QUARTET จะเปิดแสดงรอบ 14.30 น. และ 19.30 น. ในวันเสาร์ที่ 20 ส.ค. และวันอาทิตย์ที่ 21 ส.ค.นี้ค่ะ ดูละครเวทีเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังดรามาจัดๆของ INGMAR BERGMAN ที่ให้ตัวละครที่มีบาดแผลทางใจมาปะทะกัน เพื่อให้ตัวละครเหล่านี้กะเทาะเปลือกลอกเอาความเจ็บช้ำน้ำใจ ปมทางจิตในอดีตออกมาตีแผ่เชือดเฉือนกัน ละครเวทีเรื่องนี้มีฉากการเผชิญหน้า, การสารภาพผิด, บรรยากาศของความตาย, ความเจ็บปวดรวดร้าวใจ, ความละอายใจ, ความรู้สึกผิด และความนิ่งงันเหมือนกับหนังของ INGMAR BERGMAN คนที่ชอบหนังอย่าง AFTER THE REHEARSAL (1984, A-) หรือ AUTUMN SONATA (1978, A+) ของ BERGMAN ก็อาจจะชอบละครเวทีเรื่อง QUARTET นี้เหมือนกันค่ะ (คำวิจารณ์ QUARTER ข้างต้น ดิฉันไม่ได้คิดเองค่ะ แต่พอดีไปอ่านคำวิจารณ์หนังเรื่อง AUTUMN SONATA ของ BERGMAN ในหนังสือ TIME OUT FILM GUIDE แล้วพบว่าคำวิจารณ์หนังของ BERGMAN สามารถนำมาใช้กับละครเรื่อง QUARTET ได้เลย)

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ QUARTET แตกต่างไปจากหนังของ INGMAR BERGMAN อย่างเห็นได้ชัด ก็คือประเด็นทางการเมืองที่อยู่ใน QUARTET ค่ะ

--ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้ดูละครเวทีไป 3 เรื่อง อีก 2 เรื่องก็คือ “เส้นด้ายในความมืด” และ “กุหลาบสีเลือด” ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้ชอบในระดับ A+ เหมือนกัน แต่ชอบในแบบที่แตกต่างกันไป “เส้นด้ายในความมืด” เป็นละครที่ให้แรงบันดาลใจอย่างมาก เป็นละครที่ให้กำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรค ทำให้รู้สึกฮึดสู้กับชีวิตโดยไม่ย่อท้อ ส่วน “กุหลาบสีเลือด” ให้ความสนุกสนานตื่นเต้นเพลิดเพลิน ในขณะที่ QUARTET ทำให้รู้สึกซาบซึ้งไปกับ “ชีวิตมนุษย์” ดู QUARTET แล้วให้ความรู้สึกเศร้าแต่ร้องไห้ไม่ออก ซึ่งเป็นความรู้สึกคล้ายๆกับตอนที่ดูหนังเรื่อง WAITING FOR THE CLOUDS

จริงๆแล้วรู้สึกว่าถ้าหากผู้สร้าง QUARTET และ WAITING FOR THE CLOUDS บิดเบือนเรื่องไปจากเดิมเล็กน้อยเพื่อบีบคั้นอารมณ์ผู้ชมอย่างเต็มที่ เขาก็อาจจะทำได้ง่ายมากๆ เขาสามารถทำให้ผู้ชมร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่าได้ แต่เขาคงเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้นเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่บางทีมันก็ทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับมีน้ำท่วมขังอยู่ในปอด มันเป็นความรู้สึกเศร้าที่ท่วมขังอยู่ข้างใน แต่ไม่สามารถระบายมันออกไปจากตัวได้ด้วยการร้องไห้ให้เสร็จๆไป

ทั้ง QUARTET และ WAITING FOR THE CLOUDS ต่างก็มีตัวละครที่ใช้ชีวิตอยู่กับ REGRET พวกเขามีอดีตที่หม่นหมอง เจ็บช้ำ และพวกเขาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรในอดีตได้อีก พวกเขาจำเป็นต้องใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ REGRET นั้น หรือแผลเป็นที่ฝังอยู่ในใจนั้น คงจะไม่มีวันลบเลือนได้จนตลอดชีวิต


FASSBINDER’S LIST

ลิสท์รายการของสิ่งต่างๆที่ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ชอบมากที่สุดในชีวิต (จากหนังสือ THE ANARCHY OF THE IMAGINATION)

1.BEST FILMS
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19753

2.BEST ACTRESSES
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19837

3.BEST ACTORS
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=20489

4.หนังสือโปรดที่สุดของฟาสบินเดอร์

4.1 ANTONIN ARTAUD—VAN GOGH: SUICIDE THROUGH SOCIETY
http://www.antoninartaud.org/home.html

4.2 ARTHUR SCHOPENHAUER—THE WORLD AS WILL AND REPRESENTATION
http://www.latrobe.edu.au/screeningthepast/firstrelease/fr0301/kmfr12a.htm

4.3 LOUIS-FERDINAND CELINE—JOURNEY TO THE END OF NIGHT
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0811208478/102-8838989-8796126

4.4 SIGMUND FREUD—MOSES THE MAN

4.5 ALFRED DOBLIN—BERLIN ALEXANDERPLATZ

4.6 JORIS-K. HUYSMANS—LA-BAS
http://www.elx.com.au/item/0140447679

4.7 JEAN PAUL—SIEBENKAS
http://www.german.leeds.ac.uk/RWI/2002-03project2/Jean%20Paul%20Richter.htm

4.8 JOHANN WOLFGANG VON GOETHE—THE ELECTIVE AFFINITIES

4.9 BUURHUS FREDERIC SKINNER—WALDEN II
http://www.ship.edu/~cgboeree/skinner.html

4.10 DJUNA BARNES—UNDER MILKWOOD

ดิฉันหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ไม่เจอ เจอแต่ NIGHTWOOD ของ DJUNA BARNES ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียน
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0811200051/qid=1124486994/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=books

และเจอแต่ UNDER MILK WOOD, A PLAY FOR VOICES ของ DYLAN THOMAS
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0811202097/qid=1124487119/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=books



5.บทละครเวทีที่ฟาสบินเดอร์ชอบมากที่สุด

5.1 HEINRICH VON KLEIST—KATHCHEN OF HEILBRONN
http://www.litencyc.com/php/speople.php?rec=true&UID=5477

5.2 WILLIAM SHAKESPEARE—RICHARD III

5.3 HANS HENNY JAHNN—STREETCORNER
http://www.atlaspress.co.uk/index.cgi?action=view_printed_head&number=9&series=3


5.4 FRANK WEDEKIND—LULU
http://www.nthuleen.com/papers/711FilmLuluprint.html

5.5 MARIELUISE FLEISSER—PIONEERS IN INGOLSTADT

5.6 ERNST TOLLER—HINKEMANN
http://www.spartacus.schoolnet.co.uk/FWWtoller.htm

5.7 GEORG BUCHNER—WOYZECK

5.8 FERDINAND BRUCKNER—THE CRIMINALS
http://www.villagevoice.com/theater/0225,sightlines,35774,11.html

5.9 ARTHUR SCHNITZLER—LA RONDE
http://www.williams.edu/theatre/productions/laronde/laronde.jpg

5.10 GERHART HAUPTMANN—THE RATS
http://www.kirjasto.sci.fi/hauptman.htm


6.โอเปราที่ฟาสบินเดอร์ชื่นชอบที่สุด

6.1 GUISEPPE VERDI—LA TRAVIATA

6.2 GAETANO DONIZETTI—ROBERTO DEVEREUX
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/6305871116/102-8838989-8796126?v=glance
http://images.amazon.com/images/P/6305871116.01.LZZZZZZZ.jpg

6.3 RICHARD WAGNER—TRISTAN AND ISOLDE

6.4 LUDWIG VAN BEETHOVEN--FIDELIO
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00004VVZB/qid=1124488756/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=music&n=507846

6.5 VINCENZO BELLINI—NORMA
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00068CVDA/qid=1124488814/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=dvd&n=507846

6.6 GIOACCHINO ROSSINI

6.7 FRANZ LEHAR—GUIDITTA
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0009TPBF6/qid=1124488916/sr=8-2/ref=sr_8_xs_ap_i1_xgl74/102-8838989-8796126?v=glance&s=dvd&n=507846


6.8 ALBAN BERG—LULU
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00004R7X8/qid=1124488971/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=music&n=507846


6.9 ARNOLD SCHOENBERG—MOSES AND ARON

6.10 CLAUDIO MONTEVERDI—IL RITORNO D’ULISSE
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00018D3AK/qid=1124489023/sr=8-7/ref=pd_bbs_7/102-8838989-8796126?v=glance&s=dvd&n=507846
http://images.amazon.com/images/P/B00018D3AK.01.LZZZZZZZ.jpg


ตอบคุณอิศวร์

โฮะ โฮะ โฮะ ดิฉันได้ไปซื้อ IMAGE มาแล้วค่ะ EWAN STRYDOM สามีคนใหม่ของคุณอิศวร์น่ารักมากค่ะ แต่เวลาเปิด IMAGE เล่มนี้จะรู้สึกแปลกๆ เพราะเวลาจะพลิกไปดูภาพเซ็กซี่บางภาพของสามีคุณอิศวร์ ก็อาจจะเปิดผ่านภาพนักบวชผู้ทรงศีลท่านนึงที่มาให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารฉบับนี้ด้วย รู้สึกเหมือนกับดูหนังสือโป๊ที่มีภาพพระมาคั่นกลาง แต่ก็ดีเหมือนกัน ราคะจะได้ไม่ครอบงำจิตใจมากนัก (จริงเหรอ)

ได้ซื้อ POP ฉบับใหม่ สามีคุณอิศวร์ก็ถ่ายแบบลงเล่มนี้เหมือนกันค่ะ แต่แทบไม่เห็นอะไรเลยเมื่อเทียบกับที่ถ่ายลง IMAGE

อย่างไรก็ดี การได้ถ่ายแบบติดๆกันเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสามีคุณอิศวร์กำลังมาแรงจริงๆค่ะ


ตอบคุณ paaae

เสียดายจังเลยค่ะ ไม่ได้ดูเรื่อง “บางเหตุการณ์”

ผลรางวัลหนังสั้นในครั้งนี้ก็มีทั้งที่ตรงใจและไม่ตรงใจค่ะ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่แต่ละคนจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป แต่โดยรวมๆแล้ว ก็รู้สึกดีใจและพอใจมากกับผลรางวัลครั้งนี้ค่ะ เพราะ “สามผู้กำกับภาพยนตร์คนโปรด” ของดิฉัน ซึ่งได้แก่ คุณทศพล บุญสินสุข, คุณอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ และคุณศาสตร์ ตันเจริญต่างก็ได้รับรางวัลในงานนี้กันทั้งสามคนเลย

ผู้กำกับอีกคนหนึ่งในตอนนี้ที่ดิฉันชอบสุดๆ ก็คือคุณทศพร มงคลค่ะ เพราะหลังจากได้ดูหนังของเขาสองเรื่อง (BUS-STOP กับ PUSSY) แล้วก็รู้สึกว่า เขาสุดยอดมากๆ



ตอบคุณ OLIVER

ถ้าจะเริ่มดูหนังของฟาสบินเดอร์ ดิฉันก็คิดว่าเรื่อง ALI: FEAR EATS THE SOUL อาจจะเหมาะดูเป็นเรื่องแรกค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้ดูเข้าใจง่าย, เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง, มีความเป็นเมโลดรามาสูง และให้อารมณ์ซาบซึ้งในขณะเดียวกัน หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของคุณป้าวัยดึกชาวเยอรมันที่ตกหลุมรักชายหนุ่มผิวดำที่มีอายุน้อยกว่าเธอมาก และความรักของเธอก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านและความไม่เข้าใจของคนรอบข้าง ซึ่งรวมถึงจากลูกๆของเธอเอง

ทั้ง ALI: FEAR EATS THE SOUL และ FAR FROM HEAVEN (TODD HAYNES, A+) ต่างก็ดัดแปลงมาจากหนังเรื่อง ALL THAT HEAVEN ALLOWS (DOUGLAS SIRK, A+) เหมือนกันค่ะ

อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่อง ALI: FEAR EATS THE SOUL ของคุณเจ้าชายน้อยได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=19154

นอกจาก ALI: FEAR EATS THE SOUL แล้ว หนังของฟาสบินเดอร์อีก 3 เรื่องที่ดิฉันคิดว่าสามารถติดตามเรื่องได้โดยง่าย ก็คือ FOX AND HIS FRIENDS (หนังเกย์), THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN และ VERONIKA VOSS ค่ะ

http://www.thaishortfilm.com/

สวนจตุจักร โครงการ 27 หลังกองอำนวยการติดร้านลอดช่อง

http://www.thaishortfilm.com/shop.html
http://www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000100116


TOP GAY BOOKS IN 1999
http://myweb.lsbu.ac.uk/~stafflag/topgaybooks99.html
1. Death in Venice by Thomas Mann
2. Giovanni's Room by James Baldwin
3. Our Lady of the Flowers by Jean Genet
4. Rememberance of Things Past by Marcel Proust
5. The Immoralist by André Gide
6. Orlando by Virginia Woolf
7. The Well of Loneliness by Radclyffe Hall
8. Kiss of the Spider Women by Manuel Puig
9. The Memoirs of Hadrian by Marguerite Yourcenar
10. Zami by Audre Lorde
11. The Picture of Dorian Gray by Oscar Wilde
12. Nightwood by Djuna Barnes
13. Billy Budd by Herman Melville
14. A Boy's Own Story by Edmund White
15. Dancer From the Dance by Andrew Holleran
16. Maurice by E. M. Forster
17. The City and the Pillar by Gore Vidal
18. Rubyfruit Jungle by Rita Mae Brown
19. Brideshead Revisited by Evelyn Waugh
20. Confessions of a Mask by Yukio Mishima
21. The Member Of The Wedding by Carson McCullers
22. City of Night by John Rechy
23. Myra Breckinridge by Gore Vidal
24. Patience and Sarah by Isabel Miller
25. The Autobiography of Alice B Toklas by Gertrude Stein
26. Other Voices, Other Rooms by Truman Capote
27. The Bostonians by Henry James
28. Two Serious Ladies by Jane Bowles
29. Bastard Out Of Caroline by Dorothy Allison
30. The Heart Is A Lonely Hunter by Carson McCullers

No comments: