Saturday, November 05, 2005

FASSBINDER

แนะนำผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นเกย์—ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์

พอดี BLOG ของคุณเจ้าชายน้อย มีการแปลบทความเกี่ยวกับไรเนอร์ ฟาสบินเดอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นไบเซ็กชวลค่ะ ก็เลยก็อปปี้ข้อมูลบางส่วนมาลงใน T BOARD ด้วย สามารถอ่านได้ที่
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=9013

BLOG ของคุณเจ้าชายน้อย http://filmsick.exteen.com/20051021/reiner-werner-fassbinder

ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ (1945-1982) เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่ดังที่สุดในเยอรมันตะวันตก ถึงแม้เขาจะอายุสั้น เขาก็กำกับหนังเอาไว้มากมายหลายสิบเรื่องด้วยกันก่อนตาย และหนังหลายสิบเรื่องของเขาก็สามารถหาดูได้ในรูปแบบดีวีดีในกรุงเทพ

ฟาสบินเดอร์เชี่ยวชาญทั้งในเรื่องการกำกับภาพยนตร์และละครเวที เขาเป็นไบเซ็กชวลที่โน้มเอียงไปในทางชอบผู้ชาย เขาเคยมีคนรักหลายคนเป็นดาราชายที่เล่นหนังให้กับเขา แต่เขาก็แต่งงานกับผู้หญิงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในงานสมรสครั้งหนึ่งของเขา เจ้าสาวของเขาก็ตกใจมากเมื่อเธอพบว่าเธอเข้าประตูห้องนอนไม่ได้ เพราะฟาสบินเดอร์กับเพื่อนเจ้าบ่าวกำลังร่วมรักกันอยู่ในห้องวิวาห์นั้น

อย่างไรก็ดี หลังจากคืนนั้น ฟาสบินเดอร์, เจ้าสาว และเพื่อนเจ้าบ่าวก็ไปเที่ยวฮันนีมูนด้วยกัน 3 คนอย่างมีความสุขดี

ฟาสบินเดอร์เป็นหนึ่งในผู้กำกับกลุ่ม NEW GERMAN CINEMA ซึ่งเป็นกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์ในเยอรมันตะวันตกที่เริ่มโด่งดังขึ้นมาในทศวรรษ 1970 พวกเขาเน้นสร้างภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางศิลปะมากกว่าจะเอาใจตลาด ผู้กำกับภาพยนตร์ในกลุ่มนี้รวมถึง WERNER HERZOG, WIM WENDERS, VOLKER SCHLONDORFF, HANS-JURGEN SYBERBERG, MARGARETHE VON TROTTA, ULRIKE OTTINGER, JEAN-MARIE STRAUB, DANIELE HUILLET, HERBERT ACHTERNBUSCH และ WERNER SCHROETER

รูปนี้เป็นปกดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง CHRONICLE OF ANNA MAGDALENA BACH (1968, JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET, A)
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=1096

http://images.amazon.com/images/P/B0009WIE8O.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ผลงานภาพยนตร์ส่วนใหญ่ของฟาสบินเดอร์ไม่ใช่หนัง FEEL-GOOD แต่เป็นการนำแนวทางหนังน้ำเน่าของฮอลลีวู้ดมาดัดแปลงใหม่เพื่อใช้สะท้อนนิสัยใจคอของมนุษย์ในสังคม ฟาสบินเดอร์เคยสร้างหนังเกี่ยวกับเกย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง WHITY, FOX AND HIS FRIENDS (A), IN A YEAR WITH 13 MOONS (A) และ QUERELLE (A) และเคยสร้างหนังเกี่ยวกับเลสเบียนเรื่อง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (A)
http://images.amazon.com/images/P/B00005Y8UH.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


บทละครเวทีเรื่อง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT ของฟาสบินเดอร์ เพิ่งได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวทีในกรุงเทพเมื่อไม่กี่ปีก่อน ส่วนบทละครเรื่อง BREMEN FREEDOM (A+++++) ของเขา ก็เคยได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวทีโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อราว 20 ปีก่อน นอกจากนี้ บทละครเวทีเรื่อง WATER DROPS ON BURNING ROCKS (A+) ของเขา ก็ได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์เกย์ฝรั่งเศสด้วยฝีมือการกำกับของ FRANCOIS OZON ด้วย
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1880
http://images.amazon.com/images/P/B00005KCAW.01._SCLZZZZZZZ_.jpg



งานเยี่ยมสองชิ้นจากยุคแรกๆของฟาสบินเดอร์คือภาพยนตร์เรื่อง BEWARE OF A HOLY WHORE และ THE AMERICAN SOLDIER (ทั้งสองเรื่องออกฉายในปี 1970) โดย BEWARE OF A HOLY WHORE มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากในการถ่ายทำภาพยนตร์และความสับสนงุ่นง่านใจทางเพศ ส่วน THE AMERICAN SOLDIER อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังแนวแก๊งมาเฟียที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขา BEWARE OF A HOLY WHORE ดัดแปลงมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของฟาสบินเดอร์เหมือนกับหนังอีกหลายๆเรื่องของเขา โดยในกรณีของเรื่องนี้นั้น เขาดัดแปลงมาจากประสบการณ์ขณะถ่ายทำหนังเรื่อง Whity (1970) และเล่าเรื่องของกองถ่ายภาพยนตร์กองหนึ่งที่เจอกับปัญหามากมายในการถ่ายทำ พวกเขากำลังรอคอยให้ผู้กำกับหนังกับดารานำมาที่กองถ่าย และในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็ค่อยๆทำลายสมาชิกในกองถ่ายกันเอง หนังเรื่องนี้นำเสนอประเด็นหลายประเด็นที่มักพบบ่อยในหนังของฟาสบินเดอร์ ซึ่งรวมถึงประเด็นเรื่องการแสดงความเป็นตัวเอง (และการไม่แสดง), ความเป็นมาโซคิสท์, ความโหดร้าย, ความรักที่ไม่ได้รับการตอบสนอง และความรักแบบลุ่มหลง และหนังเรื่องนี้ก็จบลงด้วย irony ที่โหดร้ายตามสไตล์ของฟาสบินเดอร์ (ซึ่งชอบนำเสนอสิ่งที่รุนแรงอยู่แล้ว) โดยฉากจบของเรื่องนี้ก็คือฉากที่คนในกองถ่ายภาพยนตร์ (ซึ่งกำลังสร้างหนังเกี่ยวกับความรุนแรงที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล) ร่วมกันยำผู้กำกับ
http://images.amazon.com/images/P/B00008L3WK.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

The American Soldier (1970) เป็นเหมือนกับการนำหนังเรื่อง GODS OF THE PLAGUE (1969) ของฟาสบินเดอร์เองมารีเมคใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ GODS OF THE PLAGUE สร้างไม่สำเร็จสมตามความตั้งใจของฟาสบินเดอร์ในบางส่วน โดย THE AMERICAN SOLDIER เป็นหนังที่มีพล็อตเรื่องน้อยมากและไม่เน้นความสมจริงแต่อย่างใด และแทบไม่มีการเล่นสไตล์เก๋ไก๋ในหนัง แต่ปัจจัยเหล่านี้กลับยิ่งช่วยส่งเสริมให้หนังสามารถถ่ายทอดบรรยากาศอันน่าหดหู่ของชีวิตผู้คนในเมืองใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยมือสังหารที่มีสมญานามว่า “The American Soldier” เหมือนชื่อหนังเรื่องนี้ (มือสังหารคนนี้เป็นชาวเยอรมัน และรับบทโดย KARL SCHEYDT) พยายามกวาดล้างอาชญากรครึ่งหนึ่งในนครมิวนิคให้กับตำรวจที่ฉ้อฉล หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวแก๊งสเตอร์ที่เน้นอารมณ์ของตัวละครมากกว่าพล็อตเรื่อง และแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเองของผู้กำกับ นอกจากนั้น หนังเรื่องนี้ยังบันทึกอารมณ์ที่เก็บกดของตัวละครได้อย่างดีมาก (จุดนี้ทำให้หนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นต้นแบบให้กับหนังของ AKI KAURISMAKI) หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยตัวละครที่ยอดเยี่ยมและบทสนทนาที่กระเทียมดองเหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆของฟาสบินเดอร์ และมีตอนจบที่สุดยอดมากๆอีกด้วย

http://images.amazon.com/images/P/B00008V2UC.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

http://images.amazon.com/images/P/B00006LPCY.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ในปี 1971 ฟาสบินเดอร์ช่วยจัดงานฉายภาพยนตร์เก่าๆของดักลาส เซิร์ค และได้มีโอกาสพบกับผู้กำกับภาพยนตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ที่เดินทางกลับมาเยอรมนีอีกครั้ง เหตุการณ์นี้คงจะเป็นการจุดประกายให้กับฟาสบินเดอร์ในการสร้างภาพยนตร์ยุคที่สองของเขา ซึ่งก็คือการสร้างภาพยนตร์ “ฮอลลีวู้ดแบบเยอรมนี”

ปกดีวีดี A SCANDAL IN PARIS (1946) ที่กำกับโดยดักลาส เซิร์ค
http://images.amazon.com/images/P/B00009YXE7.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, A+) ที่กำกับโดยดักลาส เซิร์คได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2100

หลังจากฟาสบินเดอร์สร้าง “The Merchant of Four Seasons” (1971, A-) เขาก็กำกับ “The Bitter Tears of Petra Von Kant” (1972) ซึ่งดัดแปลงมาจากบทละครเวทีของฟาสบินเดอร์เหมือนกับหนังเรื่อง “Katzelmacher” (A+)

http://images.amazon.com/images/P/B000065AZB.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

อ่านบทวิจารณ์ KATZELMACHER ของคุณเจ้าชายน้อยได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=21656

http://images.amazon.com/images/P/B00006FD9X.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


หนังเรื่อง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT นี้เป็นหนังเมโลดรามาเกี่ยวกับตัวละครที่ปะทะกันในสถานที่แคบๆ โดยใช้ฉากหลังเป็นอพาร์ทเมนท์ของเปตรา ฟอน แคนท์ ซึ่งเป็นนักออกแบบเสื้อผ้า หนังเรื่องนี้เป็นทั้งการแสดงความเห็นเชิงยั่วยุต่อวิธีการนำเสนอ “ความรัก” ในหนังเศร้าเคล้าน้ำตาของฮอลลีวู้ดที่สร้างขึ้นเพื่อเน้นจับตลาดคนดูกลุ่มผู้หญิง (หนังแนวนี้มีออกมามากในทศวรรษ 1940-1950 โดยมีดักลาส เซิร์ค เป็นผู้กำกับคนหนึ่งที่ถนัดสร้างหนังแนวนี้ อย่างเช่นเรื่อง IMITATION OF LIFE และ ALL THAT HEAVEN ALLOWS) และเป็นทั้งการคารวะต่อหนังแนวเศร้าเคล้าน้ำตาที่จงใจบีบคั้นอารมณ์คนดูอย่างซึ่งๆหน้า
http://images.amazon.com/images/P/B00006IUHE.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ในยุคนั้น THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT คงต้องเป็นหนังที่ประกาศให้โลกได้รับรู้ว่าศิลปินคนสำคัญคนใหม่—ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์--ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในโลกภาพยนตร์ ในหนังเรื่องนี้ เปตรา (Margit Carstensen) จ่อมจมอยู่ในความโศกเศร้าเพราะเธอไม่สมหวังในความรักที่มีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งที่แต่งงานแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน เปตราก็ปฏิบัติต่อมาร์ลีน (IRM HERMANN) อย่างเลวร้าย ทั้งๆที่มาร์ลีนเป็นผู้ช่วยที่จงรักภักดีและยอมทำตามที่เปตราสั่งราวกับทาส

http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReview/Petra/3.jpg


THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT เป็นหนังที่ดีมากในส่วนของการตีแผ่ “การหลอกลวง”ที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์หลายประเภท ทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง “พ่อแม่กับลูก”, “นายกับบ่าว”, “คนรักกับคนรัก” และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการโกหกหลอกลวงที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ในอุดมคติแบบที่เรามักพบในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นแบบที่เรามักหลงนึกไปว่ามันคล้ายกับความจริง นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังบอกเราหลายอย่างเกี่ยวกับวิธีการที่เราปล่อยให้ตัวเราเองถูกคนอื่นๆเอารัดเอาเปรียบเพียงเพราะเราหวังว่าจะได้รับความรักเป็นผลตอบแทน หรือเพราะเรากลัวที่จะอยู่ตามลำพัง อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้มีข้อเสียอยู่เล็กน้อย นั่นก็คือตอนจบของเรื่องที่ “ชัดเจน” เกินไป (มาร์ลีนเดินจากเปตราไปเมื่อเปตราให้สัญญากับมาร์ลีนว่าจะปฏิบัติต่อมาร์ลีนอย่างดีขึ้น) และข้อเสียอีกอย่างคือการเคลื่อนกล้องที่ไม่ค่อยแม่นยำในบางครั้งของ MICHAEL BALLHAUS (ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าฟาสบินเดอร์ต้องการจะถ่ายหนังเรื่องนี้ในเวลา 10 วัน ซึ่งเป็นเวลาการถ่ายหนังตามปกติของฟาสบินเดอร์) (ดิฉันซึ่งเป็นคนแปลไม่ค่อยเห็นด้วยกับผู้เขียนบทความนี้ค่ะ เพราะดิฉันชอบตอนจบของ THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT อย่างมากๆ)

http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReview/Petra/5.jpg

หลังจากฟาสบินเดอร์กำกับหนังเรื่อง MARTHA (1973) ซึ่งเป็นหนังสไตล์ดักลาส เซิร์คที่เน้นสะท้อนความโหดร้ายของชีวิตสมรสชนชั้นกลาง และหลังจากเขากำกับหนังเรื่อง FEAR EATS THE SOUL (1973, A) ซึ่งเป็นหนังดราม่าอันโด่งดังเกี่ยวกับผู้อพยพ (โดยเนื้อหาในหนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นส่วนขยายของเรื่องย่อยเรื่องหนึ่งในหนังเรื่อง THE AMERICAN SOLDIER) ฟาสบินเดอร์ก็ได้กำกับหนังเรื่อง FOX AND HIS FRIENDS (1974) ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่เขาได้กำกับตัวเองในฐานะพระเอก

http://images.amazon.com/images/P/B0001A79DA.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B000093NQY.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

โดยในเรื่องนี้เขารับบทเป็นฟ็อกซ์ อดีตคนงานในสวนสนุกที่ตอนนี้กลายเป็นคนตกงาน หนังเรื่องนี้วางตัวเองอยู่ในกรอบของหนังน้ำเน่าฮอลลีวู้ด (ถึงแม้ว่าเนื้อหาส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากชีวิตอันทุกข์ยากของ ARMIN MEIER ซึ่งเป็นคนรักของฟาสบินเดอร์ในตอนนั้น และหนังเรื่องนี้ก็อุทิศให้กับ ARMIN MEIER ด้วย) และให้ฟ็อกซ์เผชิญกับเหตุการณ์ที่ยากจะเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง นั่นก็คือการให้เขาถูกล็อตเตอรี่ แต่เหตุการณ์นั้นกลับนำมาซึ่งความตกต่ำของชีวิตของเขา เพราะการถูกล็อตเตอรี่ทำให้เขาได้รับการยอมรับเข้าสู่สังคมของโฮโมเซ็กชวลชนชั้นกลาง โดยสมาชิกบางคนในสังคมนั้นที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี และก็หลอกใช้เขาอย่างต่อเนื่อง
http://images.amazon.com/images/P/B000065AZ9.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

FOX AND HIS FRIENDS นำเสนอความสัมพันธ์ของเกย์ในแบบที่ไม่แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ของชายหญิง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สร้างความคิดเห็นขัดแย้งในยุคนั้น แต่ก็ช่วยเปิดเผยความเป็นจริงหากดูหนังเรื่องนี้ในยุคสมัยนี้ นอกจากนี้ ฟาสบินเดอร์ยังแสดงเป็นฟ็อกซ์ ชายหนุ่มดวงซวยได้อย่างน่าเชื่อถือมากๆอีกด้วย อย่างไรก็ดี ฟาสบินเดอร์เองรู้ดีว่าเขากำลังทำงานย่ำอยู่กับที่ และ FOX AND HIS FRIENDS เป็นหนึ่งในหนังที่ชัดเจนที่สุดในบรรดากลุ่มหนังเกี่ยวกับ “เหยื่อ” ของเขา ดังนั้นหลังจากนั้นฟาสบินเดอร์ก็เลยแทบไม่แตะต้องประเด็นเรื่องผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่ออีก และไม่เคยนำเสนอประเด็นนี้อย่างเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติเช่นนี้อีก

ฟาสบินเดอร์พูดมานานหลายปีแล้วว่าเขาจะพยายามเลิกแทรกแซงชีวิตของคนอื่น และบางทีนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่มนักแสดงประจำของฟาสบินเดอร์สลายตัวไปคนละทิศคนละทางในช่วงที่เขากำกับหนังเรื่อง SATAN’S BREW และ CHINESE ROULETTE (1976) โดยหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็สำรวจพฤติกรรมของกลุ่มคนและวิพากษ์วิจารณ์ตัวละครอย่างรุนแรงสุดๆ โดย SATAN’S BREW เป็นหนังเมโลดราม่าเพี้ยนๆที่ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของฟาสบินเดอร์เอง และเป็นการนำสูตรหนังเกี่ยวกับเหยื่อมาพลิกตลบใหม่ เพราะในหนังเรื่องนี้นั้น พระเอกของเรื่อง (KURT RAAB) ซึ่งเป็นคนที่หมกมุ่นกับตัวเองและเป็นนักลอกเลียนงานเขียนของคนอื่น มีความสุขกับการที่ตัวเองถูกทรมาน ส่วน CHINESE ROULETTE เป็นหนังแนวเสียดสีที่จงใจทำให้ดูไม่สมจริง โดยหนังเรื่องนี้ชำแหละชีวิตสมรสออกมาอย่างเจ็บปวด อย่างไรก็ดี มีเพียงช่วงท้ายของเรื่อง ซึ่งเป็นช่วงที่ตัวละครเล่นเกมคาดเดาที่เรียกกันว่าเกม “Chinese roulette” เท่านั้น ที่หนังเรื่องนี้สามารถนำเสนอความโหดร้าย, irony และความสัตย์จริงของชีวิตออกมาได้อย่างเหมาะสม

http://images.amazon.com/images/P/B00008L3WU.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B00008V2UH.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรกล่าวถึงก็คือว่า ในช่วงนั้นฟาสบินเดอร์เริ่มใช้ยาเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลให้เขาดื่มเหล้า, กินยานอนหลับ และสูดโคเคนในปริมาณที่สูงมากในแต่ละวัน อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีเพียงแค่การใช้ยาเสพติดเท่านั้นที่ส่งผลให้หนังในยุคหลังๆของเขาไม่ค่อยลงตัว เพราะปัจจัยที่ส่งผลต่อหนังยุคหลังของเขายังรวมถึงนิสัยของเขาเองที่ขาดความอดทนและชอบทะเลาะเบาะแว้งด้วย (หนังยุคแรกๆของเขาก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยนี้ด้วยเช่นกัน โดย HANNA SCHYGULLA นางเอกคู่บุญของฟาสบินเดอร์บอกว่าในยุคแรกๆนั้นฟาสบินเดอร์รู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ยาเสพติด)

หลังจากฟาสบินเดอร์กำกับหนังเรื่อง NORA HELMER (A) ให้สถานีโทรทัศน์ในปี 1973 เขาก็กลับมากำกับหนังให้สถานีโทรทัศน์อีกครั้งด้วยเรื่อง I ONLY WANT YOU TO LOVE ME (1976, A) ซึ่งถือเป็นหนังที่สำคัญในแง่ที่ว่าเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวข้องกับวัยเด็กอันเปล่าเปลี่ยวของฟาสบินเดอร์เอง (ในวัยเด็กนั้น ฟาสบินเดอร์โหยหาความรักจากแม่ของเขาเป็นอย่างมาก เขามีเพื่อนน้อย และการขาดคนที่จะมาทำหน้าที่พ่อให้กับเขาก็ส่งผลกระทบต่อเขาตลอดทั้งชีวิต) เพเทอร์ (VITUS ZEPLICHAL) ซึ่งเป็นพระเอกของ I ONLY WANT YOU TO LOVE ME ต้องการซื้อความรัก แต่การทำเช่นนั้นส่งผลให้เขาตกเป็นจำเลยในข้อหาลักขโมยและทำให้แม่ของเขาประณามเขาว่าเนรคุณ นอกจากนี้ แม่ยังกล่าวหาเพเทอร์ว่าเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทรมานในชีวิตของเธอ เพเทอร์กลายเป็นฆาตกรในเวลาต่อมา (ซึ่งส่งผลให้หนังเรื่องนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับ L’ARGENT (1983, A++++++++++) ที่กำกับโดย ROBERT BRESSON) แต่ในฉากอันน่าเจ็บปวดที่เพเทอร์พยายามแสวงหาความรักจากคนอื่นๆโดยใช้เงินนั้น ดูเหมือนว่าฉากดังกล่าวจะดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของฟาสบินเดอร์เอง

http://images.amazon.com/images/P/B000929UQY.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ฟาสบินเดอร์ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อปรนเปรอเพื่อนๆและครอบครัวของเขาซึ่งมีสมาชิกเพียงไม่กี่คน (GUNTER KAUFMAN ซึ่งเป็นคนรักของฟาสบินเดอร์ เคยขับรถ LAMBORGHINI ไปชนจนพังยับถึง 4 คันใน 1 ปี) และสิ่งนี้มักปรากฏเป็นธีมในหนังของเขาอยู่เสมอๆ จนกระทั่งได้รับการนำเสนอในแบบที่น่าเศร้าที่สุดในหนังเรื่อง IN A YEAR WITH 13 MOONS หนังเรื่องนี้สามารถผสมผสาน irony เข้ากับอารมณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเอลวิรา (VOLKER SPENGLER) เกย์ที่แต่งตัวเป็นผู้หญิงที่ตัดสินใจยอมทำตามอารมณ์ชั่ววูบของคนรักด้วยการไปผ่าตัดแปลงเพศที่คาซาบลังกา อย่างไรก็ดี เมื่อคนรักของเธอทอดทิ้งเธอไปในเวลาต่อมา เธอก็ยอมรับว่าเธอเองนั่นแหละคือคนที่ทำลายชีวิตของตัวเอง เอลวิรายอมไปผ่าตัดแปลงเพศเพราะเธอหวังว่าเธอจะได้รับความรักจาก AARON SEILTZ (GOTTFRIED JOHN) ซึ่งเป็น “ทุนนิยมผู้กระหายเลือด” และเป็นเศรษฐีใหม่ อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งแรกของเรื่องนี้ ตัวละครแอรอนไม่ปรากฏโฉมในหนังเลย ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้การปรากฏกายของตัวละครตัวนี้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เมื่อตัวละครตัวนี้ปรากฏตัวครั้งแรกโดยใส่กางเกงเทนนิสขาสั้นและใส่เสื้อเชิ้ตเหมือน JERRY LEWIS ขณะออกรายการโทรทัศน์

http://images.amazon.com/images/P/B0001A79DK.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

JERRY LEWIS
http://www.imdb.com/name/nm0001471/

http://images.amazon.com/images/P/B0000A02VJ.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

การจัดแสงแบบแปลกประหลาดและการจัดองค์ประกอบภาพแบบแบ่งออกเป็นหลายส่วนท่ามกลางความมืด ส่งผลให้ IN A YEAR WITH 13 MOONS จัดเป็นหนึ่งในหนังที่มีความเป็นหนังทดลองมากที่สุดของฟาสบินเดอร์ และหนังเรื่องนี้ยังถือเป็นหนึ่งในหนังที่สำรวจชีวิตชนกลุ่มน้อยในเมืองใหญ่ได้อย่างเจ็บปวดและจริงใจที่สุดด้วย หนังเรื่องนี้มีความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก เพราะหนังเรื่องนี้คือปฏิกิริยาที่ฟาสบินเดอร์มีต่อการฆ่าตัวตายของ ARMIN MEIER โดยฟาสบินเดอร์เขียนบท, กำกับ, ถ่ายภาพ, ออกแบบฉาก และตัดต่อหนังเรื่องนี้ด้วยตัวเอง

IN A YEAR WITH 13 MOONS เหมือนกับหนังยุคก่อนหน้านั้นของเขาในแง่ที่ว่า หนังยุคก่อนๆหน้านั้นของเขามักมีฉากที่ให้ตัวละครพูดคนเดียวและให้ตัวละคร (ซึ่งรวมถึงตัวละครประกอบๆเล็กๆน้อยๆ) เล่าเรื่องราวอันยืดยาว โดยในหนังเรื่องนี้นั้น ฉากท้ายๆของเรื่องเป็นฉากที่เอลวิราให้สัมภาษณ์บันทึกเทปอย่างซื่อตรงจนน่าเจ็บปวด และเสียงให้สัมภาษณ์กับภาพที่ผู้ชมได้เห็นในฉากนี้ส่งผลให้ฉากนี้เป็นหนึ่งในฉากที่น่าสะเทือนใจที่สุดในหนึ่งในหนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาเรื่องนี้

ก่อนที่ฟาสบินเดอร์จะกำกับ IN A YEAR WITH 13 MOONS เขาเพิ่งกำกับหนังภาคแรกในหนังไตรภาคชุด “ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของเยอรมันตะวันตก” (ซึ่งชื่อนี้เหมาะจะใช้เรียกผลงานทั้งหมดของฟาสบินเดอร์ด้วยเช่นกัน) และหนังเรื่องดังกล่าวก็คือ THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1978, A+) ซึ่งเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศมากที่สุดของเขา บางทีอาจจะเป็นการดีที่สุดถ้าหากพิจารณาหนังเรื่องนี้ร่วมกับอีกสองภาคที่เหลือ ซึ่งก็คือ LOLA (1981) และ VERONIKA VOSS (1982, A) เนื่องจากหนังทั้งสามเรื่องนี้ต่างก็เล่าเรื่องของผู้หญิงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงหลังจากนั้น โดย THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN เล่าเรื่องของผู้หญิงที่พยายามตามหาสามีที่หายสาบสูญ, LOLA เล่าเรื่องของนักแสดงคาบาเร่ต์ที่ต้องเลือกระหว่างชายผู้ทรงอำนาจสองคน, VERONIKA VOSS เล่าเรื่องของดาราภาพยนตร์ที่เคยโด่งดังในยุคนาซีแต่ปัจจุบันนี้รู้สึกเหนื่อยล้ากับชีวิต หนังไตรภาคชุดนี้วิเคราะห์องค์ประกอบของสังคมในยุคนั้นอย่างแหลมคม โดยนำเสนอมุมมองที่ค้านแย้งกับทางการ และสะท้อนให้เห็นว่าเยอรมนีมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เปลี่ยนแปลงไปในแง่ใดบ้าง บางทีความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฟาสบินเดอร์อาจจะเป็นความสามารถของเขาในการนำชีวิตประจำวันของมนุษย์มาถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิล์มได้ในรูปแบบของเรื่องเล่าเชิงเปรียบเทียบที่สั้นๆและได้ใจความ ส่วนในแง่ของสไตล์นั้น หนังไตรภาคชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าหนังยุคก่อนๆ (โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะหนังไตรภาคชุดนี้ใช้ทุนสร้างสูงขึ้น) โดยเห็นได้ชัดจากฝีมือการถ่ายภาพระดับบรมครูของ XAVER SCHWARZENBERGER และการออกแบบงานสร้างของ ROLF ZEHETBAUER ในหนังเรื่อง VERONIKA VOSS

http://images-eu.amazon.com/images/P/B0007U5V5M.03.LZZZZZZZ.jpg

http://images-eu.amazon.com/images/P/B0001IOZUC.03.LZZZZZZZ.jpg

http://images-eu.amazon.com/images/P/B00023PCHQ.03.LZZZZZZZ.jpg

ความคิดเห็นทางการเมืองแบบเลือดร้อนของฟาสบินเดอร์เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆในหนังทุกเรื่องของเขา และเขาก็ชิงชังการยอมประนีประนอมของฝ่ายเสรีนิยมด้วย ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เขาคล้ายคลึงกับ LUIS BUNUEL แต่ทำให้เขาแตกต่างจากผู้กำกับภาพยนตร์การเมืองคนอื่นๆอีกหลายคน หนังเรื่อง MOTHER KUSTERS’ TRIP TO HEAVEN (1975, A) ของเขาเป็นการโจมตีฝ่ายซ้ายในเรื่องการหลอกใช้ประโยชน์จากคนอื่น

อ่านบทวิจารณ์ MOTHER KUSTERS GOES TO HEAVEN ของคุณเจ้าชายน้อยได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=22734
http://images.amazon.com/images/P/B00008L3WC.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ในขณะที่หนังเรื่อง THE THIRD GENERATION (A+) เป็นปฏิกิริยาของเขาที่มีต่อการเสียชีวิตของผู้นำกลุ่มบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ (กลุ่มก่อการร้ายชื่อดังในเยอรมนีในทศวรรษ 1970) โดยหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพในด้านลบของทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา และพูดถึงแนวคิดที่ว่า รัฐบาลอาจเป็นฝ่ายที่วางแผนลับในการสร้างผู้ก่อการร้ายฝ่ายซ้ายขึ้นมาเอง เพื่อจะได้ปกปิดความเป็นเผด็จการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆของทางรัฐบาล นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังมีการถ่ายภาพที่แปลกประหลาดพิสดารเหมือนกับเรื่อง SATAN’S BREW ทั้งนี้ บทภาพยนตร์ที่กระตุ้นความคิดของผู้ชมได้อย่างชาญฉลาด, รูปแบบการนำเสนอที่อัดแน่น (เหมือนกับ IN A YEAR WITH 13 MOONS) และการแสดงที่ยอดเยี่ยมส่งผลให้ THE THIRD GENERATION เป็นผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง

http://images-eu.amazon.com/images/P/B0002XGXBA.03.LZZZZZZZ.jpg

หนึ่งในการแสดงความคิดเห็นที่ส่วนตัวที่สุดของฟาสบินเดอร์ก็คือภาพยนตร์สั้นที่ทำเขาทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุด GERMANY IN AUTUMN (1978) โดยภาพยนตร์ชุดนี้เป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์ในกลุ่ม NEW GERMAN CINEMA และมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านการก่อการร้ายในเยอรมนี โดยในภาพยนตร์สั้นของฟาสบินเดอร์นั้น เขาแสดงเป็นผู้ชายที่ทะเลาะกับแม่ของเขาเอง และเขาก็พูดชี้นำให้แม่ของเขากล่าวถ้อยคำที่แสดงความเป็นคนหัวเก่าออกมา นอกจากนี้ เขายังปฏิบัติต่อ ARMIN อย่างเลวร้ายในเรื่องนี้ด้วย ก่อนที่ ARMIN จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานหลังการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งนี้ ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่มีความเป็นส่วนตัวที่สุดและเปิดเผยชีวิตจริงของตนเองมากที่สุดของฟาสบินเดอร์ และด้วยเหตุนี้ ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้จึงถือเป็นหนึ่งในคำสารภาพที่ตีแผ่ความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเองมากที่สุดเท่าที่ผู้กำกับภาพยนตร์คนใดในโลกนี้เคยทำมา

http://images.amazon.com/images/P/1566870941.01.LZZZZZZZ.jpg

ถึงแม้หนังเรื่อง DESPAIR (1977, A-) และ LILI MARLEEN (1980, A-) ของเขาเป็นหนังที่โฉ่งฉ่างและฉูดฉาดมากกว่าแต่ก่อน ฟาสบินเดอร์ก็ยังคงผลิตผลงานระดับมาสเตอร์พีซออกมาในช่วงนั้น ซึ่งก็คือมินิซีรีส์เรื่อง BERLIN ALEXANDERPLATZ ที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ ALFRED DOBLIN ได้อย่างเป็นธรรมชาติ นักแสดงทุกคนในเรื่องนี้แสดงได้อย่างยอดเยี่ยม ในณะที่การถ่ายภาพและการกำกับก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน โดยมินิซีรีส์เรื่องนี้เล่าเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่ไม่สามารถแสวงหาความสุขให้กับตัวเองได้อย่างเพียงพอ เพราะเขาเป็นคนที่มีข้อบกพร่องในตัวเอง และเพราะเขาใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมที่ปราศจากความเมตตา ผู้ชมบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะนำเสนอประเด็นอย่างนี้ แต่ถ้าหากพิจารณาจากความยาวของเรื่อง (931 นาที ) และจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่ผู้กำกับมีต่อธีมเรื่องแล้ว (นิยายเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับฟาสบินเดอร์ตลอดทั้งชีวิตของเขา และส่วนท้ายของมินิซีรีส์นี้เป็นการให้ฟาสบินเดอร์แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับความรู้สึกของเขาที่มีต่อตัวละครเอกในเรื่อง) มินิซีรีส์เรื่องนี้ก็คงเป็นอย่างที่โทนี่ เรย์นส์ว่าเอาไว้ว่า “เป็นผลงานของปรมาจารย์ที่แท้จริงที่ไม่กลัวที่จะสูญเสียสิ่งใดและไม่คิดที่จะปกปิดสิ่งใดเอาไว้อีกต่อไป”

http://images.amazon.com/images/P/6303250599.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00007MCGW.03.LZZZZZZZ.jpg

หนังเรื่องสุดท้ายที่ฟาสบินเดอร์กำกับเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากผลงานวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในขณะที่หนังเรื่องก่อนๆหน้านี้ของเขาดัดแปลงมาจากนิยาย/บทละครเวทีของนักเขียนที่เขียนงานในแบบคลาสสิคและเล่าเรื่องในแบบเข้าใจง่าย (ตัวอย่างเช่น NORA HELMER ที่ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ HENRIK IBSEN, BOLWIESER หรือ THE STATIONMASTER’S WIFE ที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ OSKAR MARIA GRAF และ DESPAIR ที่ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ VLADIMIR NABOKOV) หนังเรื่องสุดท้ายของเขา ซึ่งก็คือเรื่อง QUERELLE กลับดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง QUERELLE DE BREST ของ JEAN GENET ซึ่งมักแต่งนิยายที่อ่านยากและมีเนื้อหาไม่ปะติดปะต่อกัน

http://images-eu.amazon.com/images/P/B00004RRDB.03.LZZZZZZZ.jpg

ถึงแม้ว่า DIETER SCHIDOR มาติดต่อฟาสบินเดอร์ให้สร้าง QUERELLE เขาก็ขัดเกลาบทหนังเรื่องนี้ใหม่กับ BURKHARD DRIEST (ซึ่งแสดงเป็นมาริโอในหนังด้วย) และก็ให้ ROLF ZEHETBAUER ซึ่งเป็นคนที่ร่วมงานกับเขาเป็นประจำให้มาออกแบบโปรดักชันในเรื่อง ทั้งนี้ ผลงานการออกแบบของ ZEHETBAUER ใน QUERELLE เป็นสิ่งที่น่าทึ่งตะลึงลานมาก โดยเฉพาะฉากในสตูดิโอที่เป็นท่าเรือเมือง BREST ที่ถูกอาบไล้ด้วยแสงสีส้มผ่องราวกับว่าเมืองทั้งเมืองกำลังร้อนเร่าไปด้วยไฟตัณหา (แถมยังมีสถาปัตยกรรมที่มีรูปร่างเหมือนอวัยวะเพศชาย, กลาสีเรือกักขฬะ และบาร์กับซ่องวิตถารอยู่ในเมืองด้วย) ทั้งนี้ ถึงแม้ฟาสบินเดอร์ไม่สามารถนำเสนอปรัชญานอกรีตที่อยู่ในนิยายของ GENET ออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ฟาสบินเดอร์ก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่อยู่ในงานเขียนของ GENET ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมโดยผ่านทางสไตล์แจ๋นแจ๋ในหนังของเขา

ถึงแม้ฉากที่เยี่ยมยอดหลายฉากในนิยายถูกตัดออกไปจากตัวภาพยนตร์อย่างมีเหตุผลสมควร หนังเรื่อง QUERELLE ก็ยังมีสิ่งดีๆอยู่หลายอย่าง ซึ่งรวมถึงสำเนียงอเมริกันของผู้บรรยายเรื่องที่สามารถถ่ายทอดถึงอารมณ์ที่เก็บกดและความต้องการทางเพศที่เก็บกดของตัวละคร ในขณะที่วิธีการ “ทำให้ภาพบนจอเลือนหายไปเป็นสีขาว” ในหนังเรื่องนี้ก็สามารถนำเสนออารมณ์กึ่งฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ QUERELLE อาจจะไม่ใช่หนึ่งในหนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดของฟาสบินเดอร์ก็จริง แต่ถ้าหากนักวิจารณ์คนใดบอกว่าหนังเรื่องนี้น่าหัวเราะเยาะและน่าเบื่อแล้วล่ะก็ นักวิจารณ์คนนั้นก็ควรจะอ่านงานเขียนของ GENET เสียก่อน เพราะว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดโลกเพี้ยนที่เต็มไปด้วยหลักศีลธรรมที่น่าเคลือบแคลงของ GENET ออกมาได้อย่างทรงพลัง

EDMUND WHITE ซึ่งเป็นนักประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องและเป็นผู้เขียนหนังสือชีวประวัติ GENET เคยเขียนเอาไว้ว่า ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มักประสบความยากลำบากอยู่เสมอในการถ่ายทอดงานเขียนของนักประพันธ์อย่างเช่น GENET “นอกเสียจากว่าผู้กำกับภาพยนตร์คนนั้นจะแสดงออกตั้งแต่
ช็อตแรกในหนังเลยว่า ทุกอย่างในหนังเรื่องนั้น ตั้งแต่การจัดแสงไปจนถึงฉากและการแสดง จะถูกนำเสนอผ่านสไตล์ที่ปรุงแต่งมาแล้ว และนั่นก็คือสิ่งที่ฟาสบินเดอร์ได้ทำในการดัดแปลงนิยายออกมาเป็นหนังเรื่อง QUERELLE ได้อย่างสง่างาม”

หลังจากเขาสร้าง QUERELLE เสร็จ ก็มีผู้พบฟาสบินเดอร์สิ้นใจอยู่ในอพาร์ทเมนท์ของเขาในมิวนิค เขาไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่การใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ความตายของเขาทำให้เขาตายในที่สุด โคเคนและเหล้าทำให้หัวใจของเขาล้มเหลวขณะที่เขาอายุเพียง 37 ปี อย่างไรก็ดี เขาแตกต่างจาก JEAN VIGO (ผู้กำกับหนังชื่อดังชาวฝรั่งเศส ที่กำกับ L’ATALANTE และ ZERO FOR CONDUCT) ในแง่ที่ว่า เป็นเรื่องยากที่จะเรียกการเสียชีวิตของฟาสบินเดอร์ในวัยหนุ่มว่าเป็นโศกนาฏกรรม เพราะว่าฟาสบินเดอร์ได้กำกับภาพยนตร์ขนาดยาวไว้แล้วกว่า 30 เรื่องก่อนตาย อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตั้งข้อสงสัยว่า ฟาสบินเดอร์จะทำอย่างไรบ้างในทศวรรษ 1980 และ 1990 เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าเขาจะยอมไปกำกับหนังกระแสหลักหรือกำกับหนังอาร์ทยุโรปแบบคลาสสิค โดยก่อนที่เขาจะตายนั้น เขาวางแผนไว้ว่าเขาจะกำกับหนังเรื่อง I’M THE HAPPINESS OF THIS EARTH เป็นโครงการถัดไป โดยหนังเรื่องนี้เป็นหนังดรามาเกี่ยวกับนักสืบที่ล้มเหลวสามคน โดยใช้ฉากหลังเป็นดิสโกเธค และก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเช่นกันที่จะตั้งคำถามว่า สไตล์อันแปลกประหลาดที่ฟาสบินเดอร์ใช้กับ QUERELLE จะได้รับการขยายต่อเนื่องออกไปในหนังเรื่องหลังๆหรือไม่เพื่อถ่ายทอดบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับโลกร่วมสมัยที่ศีลธรรมเสื่อมทราม

ฟาสบินเดอร์สร้างหนังเอาไว้เยอะมากแต่หนังบางเรื่องของเขาก็หามาดูได้ยากมากเช่นกัน โดยตัวผู้เขียนบทความชิ้นนี้เองนั้นรู้สึกอยากดูหนังเรื่อง EIGHT HOURS ARE NOT A DAY (1972) และ WORLD ON A WIRE (1973) ของฟาสบินเดอร์มากๆแต่ก็ยังหามาดูไม่ได้ นอกจากนี้ ผู้เขียนก็ยังไม่ได้กล่าวถึงหนังเรื่องอื่นๆของฟาสบินเดอร์อย่าง EFFI BRIEST (1974) หรือ BOLWIESER (1977, A-) ในเรียงความชิ้นนี้ด้วย

http://images-eu.amazon.com/images/P/B00080SK4U.03.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/3423123109.03.LZZZZZZZ.jpg

ถึงแม้ว่าในที่สุดแล้วฟาสบินเดอร์อาจจะไม่ใช่ผู้กำกับที่มีคนรักมากที่สุด เขาก็ยังคงเป็นผู้กำกับที่โดดเด่นอยู่ดีในแง่ที่เขามุ่งมั่นอย่างไม่ลดละที่จะสร้างภาพยนตร์สะท้อนสังคม และความสามารถอันหาได้ยากของเขาในการนำรูปลักษณ์ภายนอก, รูปแบบ และเนื้อหาในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ที่นำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองและศิลปะได้อย่างทรงพลัง ไม่มีผู้กำกับคนอื่นอีกแล้วที่ผลงานของเขาสามารถถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของประเทศๆหนึ่ง (ซึ่งในกรณีของฟาสบินเดอร์ก็คือประเทศเยอรมันตะวันตกที่ได้ล่มสลายไปแล้ว และกลายมาเป็นเยอรมนีในปัจจุบัน) ผ่านทางชีวิตประจำวันของตัวละครได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นนี้ ฟาสบินเดอร์นำเสนอธีมเรื่องเสรีภาพ (และการขาดเสรีภาพ), อิสรภาพ และความเป็นตัวของตัวเองหลายครั้งในแบบต่างๆกัน และเขาก็สามารถใช้ธีมนี้ในการสำรวจความน่าผิดหวังและความโหดร้ายของชีวิตในเมืองใหญ่ ผลงานของเขาแสดงให้เห็นว่า ชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัวจริงๆนั้นดูเหมือนเครื่องจักรและว่างเปล่าจนน่าสะพรึงกลัวมากขนาดไหนถ้าหากสังคมปล่อยให้วัตถุนิยมเข้ามามีความสำคัญเหนือมนุษย์ หนังของเขาให้บทเรียนแก่พวกเราทุกคน และไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังสะท้อนเยอรมนีในทศวรรษ 1970 เท่านั้น ฟาสบินเดอร์คือสิ่งที่หาได้ยากในโลกนี้ เขาคือผู้กำกับภาพยนตร์อันตรายตัวจริง


นิยายกำลังภายในไม่ค่อยได้อ่านค่ะ ส่วนใหญ่ได้ดูแต่ละคร

ตัวละครที่ชอบมากในละคร+หนังจีนกำลังภายใน

1.ฮึงลี้ หรือ “แมงมุม” ในดาบมังกรหยก

2.เหมยเชาฟง ใน มังกรหยก

3.นางเอกที่เป็นลูกสาวประมุขพรรคสุริยันจันทรา ใน “กระบี่เย้ยยุทธจักร”

4.”ยัยเซ่อ” ในมังกรหยก

5.ไผฟง ใน “14 นางสิงห์เจ้ายุทธจักร”

6.นางแส้แดง ใน “ศึกลำน้ำเลือด”

7.น้องสาวประมุขวังบุปฝา ใน “เดชเซียวฮื่อยี้”

8.บทของหยางพ่านพ่าน ใน “8 เทพอสูรมังกรฟ้า”

9.แมงป่องครามใน “ฤทธิ์มีดสั้น”

10.มารชมพู ใน “ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า”

11.เจ้าหญิงอนัตตาใน “กระบี่ไร้เทียมทาน”