Sunday, November 06, 2005

NATHALIE GRANGER (A+++++)

รู้สึกว่ากษัตริย์ลุดวิกจะเป็นเกย์ด้วย มีหนังเกี่ยวกับเขาสร้างออกมาหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง

1.LUDWIG II (1972, LUCHINO VISCONTI)
http://www.imdb.com/title/tt0068883/

http://images-eu.amazon.com/images/P/B00004ZEF9.03.LZZZZZZZ.jpg

LUCHINO VISCONTI ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ก็เป็นเกย์ด้วยเหมือนกัน

2.LUDWIG - REQUIEM FOR A VIRGIN KING (1972, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+)
หนังเรื่องนี้นำเสนอชีวิตของกษัตริย์ลุดวิกในแบบเซอร์เรียล โดยแบ่งออกเป็นตอนย่อยๆ 20 กว่าตอน

3.THEODOR HIRNEIS OR HOW TO BECOME A FORMER COURT'S COOK (1973, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+)
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของกษัตริย์ลุดวิกผ่านทางอดีตพ่อครัวในราชสำนัก โดยให้อดีตพ่อครัวเดินไปเดินมารอบปราสาทพร้อมกับเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง

ตอบน้อง zm

ชอบที่น้องเขียนถึง BRYAN GREENBERG มากเลยค่ะ อ่านไปแล้วก็อมยิ้มไป

หนังของคนผิวดำที่ดูแล้วชอบมากๆก็รวมถึง
1.BAADASSSSS! (2003, MARIO VAN PEEBLES, A)
http://www.imdb.com/title/tt0367790/

2.TO SLEEP WITH ANGER (1990, CHARLES BURNETT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0100791/

http://images.amazon.com/images/P/6302024099.01.LZZZZZZZ.jpg

เอ๊ะ นึกไม่ค่อยออกเหมือนกันแฮะ หนังของสไปค์ ลี กับจอห์น ซิงเกิลตันก็ชอบในระดับปานกลาง ไม่ได้ชอบอย่างรุนแรง
ดีใจมากที่เมื่อราวเกือบ 10 ปีก่อน วิดีโอลิขสิทธิ์ของไทยออกหนังแนว blaxploitation ที่นำแสดงโดยแพม เกรียร์ออกมาเยอะมาก อยากดูอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน แต่ไปๆมาๆก็ยังไม่ได้ดูเสียที

หนังแนว blaxploitation ที่อยากดูรวมถึง

1.COFFY (1973, JACK HILL)
http://images.amazon.com/images/P/B000053VB8.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

2.FOXY BROWN (1974, JACK HILL)
http://images.amazon.com/images/P/B000053VBA.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

3.CLEOPATRA JONES (1973, JACK STARRETT)
http://images.amazon.com/images/P/6305308799.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

4.BLACK MAMA, WHITE MAMA (1972, EDDIE ROMERO) อันนี้อาจจะไม่ใช่ blaxploitation
http://images.amazon.com/images/P/B000053VB7.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

5.SHEBA, BABY (1975, WILLIAM GIRDLER)
http://images.amazon.com/images/P/B000053VBD.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


ตอบคุณโอลิเวอร์

ชอบ JEFFREY (1995, CHRISTOPHER ASHLEY, A) มากๆเลยค่ะ คิดว่าฉากที่สะท้อนภาพคนดูฉากนั้นเป็นฉากที่คลาสสิคและฝังใจมากๆ JEFFREY ถือเป็นหนังเกย์เรื่องแรกๆที่ตัวเองได้ดูแบบวิดีโอลิขสิทธิ์ในไทย

MICHAEL T. WEISS ที่รับบทเป็นคนรักของเจฟฟรีย์

http://www.afan.dk/add/addpic56/dd-weiss.jpg

ขอบคุณมากๆค่ะที่เอาบทความเกี่ยวกับ "พรางชมพู" มาลง เป็นบทความที่ดีมากๆเลยค่ะ

ได้ข่าวว่าหนังหรือละครเรื่อง THE LINE OF BEAUTY ที่ดัดแปลงมาจากนิยายเกย์ชื่อดังของ ALAN HOLLINGHURST ก็กำลังประสบปัญหากับผู้ดัดแปลงบทที่ไม่ได้ใส่ฉากเซ็กส์ระหว่างชายกับชายลงไปในบทหนัง เพราะผู้ชายที่เป็นคนดัดแปลงบทหนังเรื่องนี้บอกว่าเขารู้สึกไม่ค่อยสะดวกใจที่จะใส่ฉากอย่างนั้นลงไป และบอกว่าผู้ชมเห็นแค่ suggestion of sex ไม่ต้องเห็นเซ็กส์อย่างโจ่งแจ้งก็ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าแปลก เพราะก่อนหน้านั้นผู้ดัดแปลงบทคนนี้เคยใส่ฉากรักระหว่างเลสเบียนที่ร้อนแรงลงไปในบทหนังเรื่องก่อนหน้านี้ของเขา

นิยาย THE LINE OF BEAUTY
http://www.amazon.com/gp/product/1582345082/102-3621023-9156906?v=glance&n=283155&v=glance

ตอบน้อง MERVEILLESXX

เคยดูหนังเรื่อง HOLE IN THE SKY (A) ของ KAZUYOSHI KUMAKIRI ชอบมากๆเลยค่ะ แต่เป็นหนังที่นิ่งมาก

บทสัมภาษณ์คาสุโยชิ คุมาคิริ

http://www.midnighteye.com/interviews/kazuyoshi_kumakiri.shtml

เห็นบทความนึงในเว็บไซท์ senses of cinema แล้วก็นึกถึงหนังเรื่อง "4" ขึ้นมาทันที เพราะบทความนี้พูดถึงกลุ่มหนังยุโรปตะวันออกที่ถ่ายทอดสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย โดยเขาเรียกหนังกลุ่มนี้ว่า CINEMA OF D-A-M-N-ATION ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะกับหนังเรื่อง "4" เป็นอย่างมาก
รู้สึกจะทำลิงค์ตรงๆไปที่บทความนี้ไม่ได้ เพราะไม่แน่ใจว่าเว็บบอร์ดนี้เซ็นเซอร์คำว่า d-a-m-n หรือเปล่า และมีคำๆนั้นอยู่ในลิงค์ไปยังบทความนี้ด้วย
http://www.sensesofcinema.com/



ตอบคุณอ้วน

เห็นคุณอ้วนชอบประโยค "เพศหญิงทำลายภาษาของเพศชาย" และชอบหนังเรื่อง INDIA SONG ของ MARGUERITE DURAS ก็เลยขอขยายความเกี่ยวกับ nathalie granger หน่อยนะคะ

คำวิจารณ์เรื่อง NATHALIE GRANGER (MARGUERITE DURAS, A++++++++++) ที่ว่ามีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับ "การที่เพศหญิงทำลายภาษาของเพศชาย" มาจากหนังสือเล่มหนึ่งในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ ดิฉันเคยถ่ายเอกสารบางบทความจากหนังสือเล่มนี้เก็บเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน แต่ไม่ได้จดชื่อหนังสือเอาไว้ด้วย ก็เลยจำไม่ได้ว่าบทความที่ตัวเองมีอยู่นี้มาจากหนังสืออะไรของใครกันแน่
บทความนี้ชื่อว่า SIGNS OF THE TIMES: FICTIONS OF MAY 1968 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ได้รับผลกระทบหรือแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ก่อจลาจลในกรุงปารีสในเดือนพ.ค.ปี 1968 (แล้วจะมีภาพยนตร์เรื่องไหนบ้างนะที่จะได้รับแรงบันดาลใจจากการจลาจลปารีสในวันนี้) โดยเน้นไปที่การเปรียบเทียบระหว่างภาพยนตร์เรื่อง TOUT VA BIEN (1972, JEAN-LUC GODARD + JEAN-PIERRE GORIN) กับ NATHALIE GRANGER
http://images.amazon.com/images/P/B0006Z2NAO.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

เนื้อหาบางส่วนจากบทความนี้

TOUT VA BIEN มีเนื้อหาเกี่ยวกับฤดูหนึ่งในชีวิตของสามีภรรยาคู่หนึ่งในกรุงปารีสหลังเหตุจลาจลปี 1968 โดยอีฟส์ มองตองด์รับบทเป็นฌาคส์ อดีตผู้กำกับภาพยนตร์กลุ่มนิวเวฟที่เสื่อมศรัทธาในสิ่งที่ตนเองเคยยึดถือ โดยปัจจุบันนี้เขาหันมาผลิตโฆษณาฉายทางโทรทัศน์แทน ภรรยาของเขาคือซูซาน เดอวิทท์ (เจน ฟอนดา) ซึ่งเป็นนักข่าวชาวอเมริกันที่ถูกส่งมาทำข่าวการสไตรค์ แต่เธอเกรงว่าในความเป็นจริงแล้วเธออาจกลายเป็นเครื่องมือในการปกปิดเหตุการณ์นี้ ในเวลาต่อมาซูซานเริ่มต้นเขียนบทความใหม่ซึ่งจะสำรวจหาความหมายทางการเมืองของปรากฏการณ์ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งถือเป็นสิ่งใหม่ในยุคสมัยนั้น
http://images.amazon.com/images/P/B00005S8FN.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

พล็อตเรื่องของ TOUT VA BIEN แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน ซึ่งได้แก่ส่วนที่เกี่ยวกับการที่คู่รักคู่นี้รู้สึกแปลกแยกจากงานของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ, ส่วนที่เกี่ยวกับการที่คู่รักคู่นี้ไม่พึงพอใจในชีวิตเซ็กส์ของตัวเอง โดยทั้งคู่บอกว่าเซ็กส์ของพวกเขาเป็นเพียงแค่วงจรที่น่าเบื่อระหว่าง "ภาพยนตร์, อาหาร และการเอากัน" และส่วนที่สามเกี่ยวกับวันที่พวกเขากับประธานโรงงานไส้กรอกติดอยู่ในออฟฟิศของประธานโรงงานในช่วงที่มีการสไตรค์ และในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ก็มีการบ่งชี้ว่าประสบการณ์ของคู่รักคู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างในประเทศฝรั่งเศส

รูปของ JANE FONDA จากดีวีดีหนังเรื่อง LA RONDE (1964, ROGER VADIM)
http://images.amazon.com/images/P/B000BO0LIG.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

NATHALIE GRANGER เล่าเรื่องของช่วงเวลา 1 วันของครอบครัวชนชั้นกลางในย่านชานเมืองครอบครัวหนึ่ง โดยเริ่มเรื่องด้วยการที่นาตาลี กรองเฌร์ กับลอเรนซ์ ซึ่งเป็นเด็กหญิงสองคนเดินทางออกจากบ้านไปโรงเรียน และผู้ชายคนหนึ่งออกไปทำงาน มีหญิงวัยกลางคนสองคนอยู่ในบ้านหลังนั้น ซึ่งได้แก่อิซาเบล กรองเฌร์ (LUCIA BOSE) และเพื่อนของเธอ (JEANNE MOREAU) ทั้งสองใช้เวลาไปกับการทำงานบ้าน และเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังเรื่องนี้ก็ประกอบไปด้วยเหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่มีอะไรสลักสำคัญ

JEANNE MOREAU ใน BAY OF ANGELS (1963, JACQUES DEMY)
http://images.amazon.com/images/P/B0000CDL9F.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

นาตาลี กรองเฌร์ถูกทางโรงเรียนไล่ออกในเวลาต่อมาเพราะเธอไม่ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนและเพราะเธอระเบิดอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี นาตาลีก็จะไม่ถูกส่งไปเข้าโรงเรียนประจำแต่อย่างใด นอกจากนี้ หนังยังแสดงให้เห็นว่า มีคนมาส่งหนังสือพิมพ์กับจดหมายที่บ้านหลังนี้ แต่สองสาวก็ไม่ยอมอ่านหนังสือพิมพ์กับจดหมาย พวกเธอเลือกที่จะฉีกหนังสือพิมพ์กับจดหมายทิ้งเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยหรือไม่ก็นำไปเผาไฟ มีเซลส์แมนหนุ่ม (GERARD DEPARDIEU) แวะมาเสนอขายเครื่องซักผ้าให้แก่สองสาว แต่สองสาวก็ใช้ "ความเงียบสงบเข้าสยบความเคลื่อนไหว" และทำให้เซลส์แมนผละหนีออกจากบ้านหลังนั้นไปในอาการที่คล้ายกับคนเพิ่งเห็นผี ต่อมานาตาลีกับลอเรนซ์ก็กลับมาจากโรงเรียนเพื่อมาเรียนเปียโนต่อที่บ้าน และตลอดช่วงเวลานี้ผู้ชมก็จะได้ยินเสียงการรายงานข่าวทางวิทยุที่ระบุว่ามีฆาตกรสองคนซึ่งเป็นวัยรุ่น แอบซ่อนอยู่ในป่าใกล้ๆบ้านหลังนั้น

JEANNE MOREAU ใน EVA (1964, JOSEPH LOSEY)
http://images.amazon.com/images/P/B00004WMMY.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

นอกจาก NATHALIE GRANGER และ TOUT VA BIEN จะออกฉายปี 1972 เหมือนกันแล้ว หนังทั้งสองเรื่องนี้ยังบอกเป็นนัยๆเกี่ยวกับการปฏิวัติที่ล้มเหลวหรือการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์เหมือนกันด้วย นอกจากนี้ หนังทั้งสองเรื่องนี้ยังพยายามโค่นล้มรูปแบบวัฒนธรรมกระแสหลักแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบวัฒนธรรมกระแสหลักในขณะเดียวกัน

NATHALIE GRANGER เป็นหนังที่ "บอกเป็นนัยๆ" แทนที่จะบอกตรงๆเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม หนังเรื่องนี้นำเสนอรูปแบบพฤติกรรม, รูปแบบภาษา และรูปแบบด้านภาพของเหตุการณ์ปี 1968 แต่ไม่ได้เล่าเหตุการณ์นี้หรือพูดถึงเหตุการณ์นี้เลย หนังเรื่องนี้และ TOUT VA BIEN ทำให้ตัวเองเป็น "กระบวนการทางวัฒนธรรม" แทนที่จะทำให้ตัวเองเป็น "ผลิตภัณฑ์" สำหรับการบริโภค และหนังทั้งสองเรื่องนี้ยังวิพากษ์วิจารณ์บริโภคนิยมอีกด้วย หนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของกระแสนักทำหนังในยุคนั้นที่พยายามแสวงหา"รูปแบบภาพยนตร์" ที่สอดคล้องกับแนวคิดทางการเมืองที่ผู้สร้างภาพยนตร์คนนั้นสนับสนุน

JEANNE MOREAU ในหนังเรื่อง HOTHOUSE หรือ LES PARENTS TERRIBLES (2003, JOSEE DAYAN) ที่สร้างจากบทละครเวทีของ JEAN COCTEAU
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0000AVV5K.08.LZZZZZZZ.jpg

NATHALIE GRANGER เหมือนกับ TOUT VA BIEN ในแง่ที่ว่า หนังเรื่องนี้พูดถึงเงื่อนไขทางสังคมและเงื่อนไขทางวัตถุที่รองรับวาทกรรม เพียงแต่ NATHALIE GRANGER ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาเท่า TOUT VA BIEN ทั้งนี้ ถึงแม้ภาพที่ผู้ชมเห็นใน NATHALIE GRANGER จะถูกจำกัดขอบเขตอยู่ในบ้านหลังนั้น โดยมีกำแพง, ป่า และถนนเป็นกรอบล้อมรอบขอบเขตบ้าน สิ่งที่ผู้ชมเห็นในครอบครัวนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถาบันที่ล้อมกรอบครอบครัวนี้อยู่ ซึ่งได้แก่ สถาบันการแต่งงาน, ครอบครัว, สื่อ (หนังสือพิมพ์และวิทยุ), สังคมบริโภคนิยม และความเป็นผู้ปกครองเด็ก มุมมองที่แตกต่างกันโดยเฉพาะมุมมองแบบเพศชายและเพศหญิง ได้รับการนำเสนอในรูปแบบของมุมมองที่ถูกหล่อหลอมจากกิจกรรมและการทำงานในหนังเรื่องนี้ หนังเรื่องนี้นำเสนอชีวิตของผู้หญิงในบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า "ตรงข้ามกับความน่าตื่นตาตื่นใจ" (antispectacular) เพราะหนังเรื่องนี้ต้องการต่อต้านการนำเสนอภาพหรือคำพูดที่ถูกทำให้กลายเป็นสินค้าไปแล้วในหนังเชิงพาณิชย์ ในความเป็นจริงนั้น NATHALIE GRANGER เป็นหนังที่วิจารณ์กิจกรรมทางปัญญาในขอบเขตที่กว้างมาก เพราะหนังเรื่องนี้วิจารณ์ทั้งภาษา, บทสนทนา และการสร้างภาพยนตร์ด้วย และการที่ NATHALIE GRANGER เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นหนังเงียบ ก็เป็นผลมาจากการที่ตัวละครหญิงในหนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับดนตรีและความเงียบ มากกว่าการพูด

อย่างไรก็ดี TOUT VA BIEN และ NATHALIE GRANGER ก็แตกต่างกันในหลายๆด้าน และความแตกต่างระหว่างหนังสองเรื่องนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นความแตกต่างระหว่าง "การแพร่พันธุ์" และ "การขจัดทิ้ง" เพราะในขณะที่หนังของโกดาร์ดกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขึ้นของวาทกรรม, การแสดงความคิดเห็น, การแสดงความคิดเห็นต่อต้าน, สีสัน, เสียง และความหมาย หนังของดูราส์กลับนำไปสู่การลดลง, การทำให้เหลือน้อยที่สุด และการขจัดความหมายทั้งหมดให้สิ้นไป

หนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็มีพลังในการต่อต้าน แต่ TOUT VA BIEN เป็นการต่อต้านแบบ ACTIVE STRUGGLE ในขณะที่ NATHALIE GRANGER เลือกใช้วิธีการต่อต้านแบบ PASSIVE RESISTANCE หนังทั้งสองเรื่องนี้สามารถสร้างความขุ่นเคืองใจให้กับผู้ชมที่ชอบสอดรู้สอดเห็นและผู้ชมที่ชอบ identify ตัวเองกับตัวละครได้เหมือนๆกัน เพียงแต่ว่า TOUT VA BIEN ใช้วิธีการพูดกับผู้ชมอย่างตรงไปตรงมา ในขณะที่ NATHALIE GRANGER ไม่สื่อสารกับผู้ชมเลย หนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็ต่อต้าน "ภาษาหลัก" เพียงแต่ว่า TOUT VA BIEN ใช้ "เสียงอื้ออึง" ในการต่อต้านภาษาหลัก ในขณะที่ NATHALIE GRANGER ใช้ "ความเงียบ"

หนังทั้งสองเรื่องนี้ทำให้ผู้ชมไม่สามารถมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครได้ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ภาพที่แทนมุมมองของตัวละคร และหลีกเลี่ยงการนำเสนอพื้นที่ที่สอดคล้องกันในการตัดต่อภาพแบบ shot-countershot อย่างไรก็ดี ในขณะที่ GODARD ทำสิ่งนี้ให้สำเร็จได้โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบ multiple points of view และ split points of view ดูราส์กลับทำสิ่งนี้ให้สำเร็จได้โดยใช้วิธีลบ points of view ทิ้งไปทั้งหมด และปล่อยให้กล้องเตร็ดเตร่ไปมาอยู่ในบ้านเหมือนกับเป็นผู้บุกรุกนิรนามคนหนึ่ง

โกดาร์ดทำลายธรรมเนียมของการเล่าเรื่องและธรรมเนียมของการใช้ภาพในภาพยนตร์จากภายใน โดยเขาใช้วิธีทำให้ผู้ชมเห็นชัดๆถึงกระบวนการในการเล่าเรื่องและกระบวนการในการสร้างภาพ แต่ดูราส์ใช้วิธีการที่ต่างออกไป เพราะเธอขจัดการเล่าเรื่องทิ้งไปเลย ผู้กำกับทั้งสองคนนี้ต่างก็ไม่ต้องการเอาอกเอาใจผู้ชมส่วนใหญ่ แต่ในขณะที่โกดาร์ดนำเสนอการปฏิวัติในรูปของการฆาตกรรม และท้าทายภาพยนตร์กระแสหลักด้วยการนำเสนอความเป็นจริงในการต่อสู้ทางชนชั้น ดูราส์กลับใช้วิธีการที่ไปไกลกว่านั้น เพราะเธอลบการเล่าเรื่อง, ลบมุมมอง และลบการใช้ภาษาทั้งหมดจนสูญพันธุ์ หรือถ้าหากจะกล่าวสั้นๆก็ได้ว่า ในขณะที่โกดาร์ดใช้วิธี "ระเบิดจากข้างนอก" ดูราส์ใช้วิธี "ระเบิดจากข้างใน" ความแตกต่างระหว่างโกดาร์ดกับดูราส์อาจจะเปรียบเทียบได้ว่าเหมือนกับความแตกต่างระหว่างลัทธิเหมาเจ๋อตุง (โกดาร์ด) กับลัทธิเซ็น (ดูราส์)

หนึ่งในความแตกต่างที่สำคัญมากระหว่างโกดาร์ดและดูราส์ก็คือวิธีการที่ทั้งสองนำเสนอประเด็นปัญหาระหว่างเพศชายกับเพศหญิง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพื้นที่
ของเพศชายและเพศหญิงกับภาษาของเพศชายและเพศหญิง TOUT VA BIEN นำเสนอโลกที่ผู้ชายสามารถแยกสถานที่ทำงานออกจากพื้นที่ส่วนตัว และโลกที่ผู้ชายกับผู้หญิงพูดกันคนละภาษา ในขณะที่ดูราส์นำเสนอโลกที่ภาษาเป็นของผู้ชาย หนังของดูราส์สอดคล้องกับความคิดของกลุ่มสิทธิสตรีฝรั่งเศสในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โดยแนวคิดนั้นระบุว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้หญิงคนหนึ่งพูด เธอก็กลายเป็นหุ่นเชิดไปในทันที เพราะเธอกำลังพูดภาษาที่ไม่เป็นของเธอเอง และกำลังพูดภาษาที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงของตัวเธอเอง หนังเรื่อง NATHALIE GRANGER นำเสนอ "การที่เพศหญิงเป็นชายขอบของภาษา" ทั้งในทางภาพและทางเสียงของหนังเรื่องนี้ โดยให้ผู้หญิงในเรื่องปิดปากเงียบ และโดยการให้ผู้หญิงครอบครองพื้นที่ในบ้าน

ดูราส์ไม่ต้องการนำเสนอเรื่องราวการจลาจลในปี 1968 ในรูปของภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ และเธอต้องการนำเสนอการปฏิวัติในแง่มุมเรื่องเพศด้วย ดังนั้นสิ่งที่เธอมุ่งความสนใจในหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่เรื่องของการกินและการบริโภคสินค้า แต่อยู่ที่การเก็บกวาดทำความสะอาด ดูราส์กำหนดฉากหลังให้หนังเรื่องนี้เป็นบ้านที่เต็มไปด้วยผู้หญิงที่ทำงานบ้านแบบผู้หญิงในขณะที่แทบไม่มีผู้ชายอยู่เลย และการที่ดูราส์ทำเช่นนี้ ส่งผลให้หนังเรื่องนี้ไม่เพียงแต่เป็นการวิจารณ์ระบบทุนนิยมบริโภคนิยมเท่านั้น แต่เป็นการนำเสนอความซับซ้อนที่ว่า วัตถุต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน ต่างก็มีความหมายในแง่ทางเพศด้วย และวัตถุเหล่านี้จะต้องถูกทำลาย, ถูกปฏิเสธ, ถูกขจัด, ถูกกวาดทิ้งไป หนังเรื่องนี้ตอกย้ำอยู่ตลอดเวลาว่า ความเงียบเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าการพูด และตอกย้ำถึงความปรารถนาในการกวาดล้างสิ่งต่างๆ ทั้งการกวาดล้างในแง่ของการกระทำจริงๆและในแง่สัญลักษณ์ และสิ่งที่น่าสนใจมากใน NATHALIE GRANGER ก็คือการใช้ภาษาในการปฏิวัติการใช้ภาษา และการใช้ภาพในการต่อต้านภาพที่ได้รับการยอมรับทางวัฒนธรรม


หนังสือพิมพ์

ในขณะที่ TOUT VA BIEN นำเสนอความแตกต่างระหว่างการใช้ภาษาแบบเปิดเสรี กับการใช้ภาษาแบบกดขี่ NATHALIE GRANGER กลับแสดงให้เห็นว่าภาษาทั้งหมดคือสิ่งที่นำมาซึ่งความสับสน, ความผิดพลาด และการกดขี่ ฉากที่แสดงจุดนี้อย่างเด่นชัดที่สุดคือฉากที่อิซาเบล กรองเฌร์เก็บหนังสือพิมพ์และบรรจงฉีกหนังสือพิมพ์ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยด้วยเสียงที่บาดหูเป็นอย่างมาก และก่อนหน้านั้นเธอก็เพิ่งเผาจดหมายกับใบไม้ในสนาม การกระทำของอิซาเบล กรองเฌร์เป็นเหมือนภาพสะท้อนการกระทำของนาตาลี กรองเฌร์ที่ถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะเธอขัดขวางชั้นเรียนการเขียน (การที่นาตาลีถูกไล่ออกจากโรงเรียน ส่งผลให้เธอเหมือนกับเป็น "วีรสตรี" ในมุมมองของจลาจลปี 1968 ด้วย) การกระทำของตัวละครในเรื่องนี้มีแรงจูงใจใกล้เคียงกับซูซาน เดอวิทท์ใน TOUT VA BIEN เมื่อเธอต้องการให้ทิ้งรายงานข่าวของเธอไป เพราะตัวละครหญิงในทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็แสดงให้เห็นว่า ภาษาเขียนเป็นสิ่งที่ไร้ค่าและกลวงโบ๋ เพราะมันเป็นผลิตผลที่แปลกแยกจากพวกเธอ มันเป็นสิ่งที่ถูกครอบงำโดย "ตลาด" และไม่ได้เกิดจาก "แนวคิด" หรือ "อุดมคติ" ที่งานเขียนชิ้นนั้นพยายามจะนำเสนอ ในหนังเรื่องนี้ "การทำลาย" คือ "สิ่งที่สร้างสรรค์ที่สุด" และแนวคิดที่ดูเหมือนจะขัดกับหลักเหตุผลนี้ก็สอดคล้องกับสโลแกนของดูราส์ในเหตุการณ์ปี 1968 ด้วย ซึ่งก็คือคำขวัญที่ว่า "BENEATH THE PAVING STONES, THE BEACH" (ใต้แผ่นหินปูทางเดิน คือชายหาด)


รถเข็นเด็ก

หลังจากนาตาลีกลับจากโรงเรียนมาที่บ้าน เธอก็เอาแมวใส่รถเข็นเด็กเพื่อพาไปเล่นด้วยกัน แต่แมวพยายามกระโดดหนีออกจากรถเข็นเด็กทุกครั้ง นาตาลีรู้สึกหัวเสีย และในที่สุดเธอก็เขวี้ยงรถเข็นเด็กเปล่าๆเข้าใส่ต้นไม้และทิ้งรถเข็นไว้อย่างนั้น

ก่อนหน้านี้ครูเคยกล่าวหานาตาลีว่าเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรง แต่คนดูไม่ได้เห็นพฤติกรรมดังกล่าวกับตาตัวเอง คนดูได้เห็นเพียงการกระทำนี้เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่เล็กน้อยมาก อย่างไรก็ดี ฉากนี้ก็ช็อคความรู้สึกคนดูอยู่ดี เพราะก่อนหน้านั้นนาตาลีเพิ่งแสดงอาการเหมือนเด็กน่ารักที่น่าจะทะนุถนอมสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ ฉากนี้ยังเป็นการพาดพิงถึงฉากรถเข็นเด็กในหนังเรื่อง BATTLESHIP POTEMKIN (SERGEI EISENSTEIN, A+) ด้วย และการที่เนื้อหาใน BATTLESHIP POTEMKIN พูดถึงการปฏิวัติที่ประสบความล้มเหลวที่เมืองโอเดสซาในปี 1905 ก็ยิ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับความเป็นขบถของนาตาลีได้เป็นอย่างดี


โต๊ะกินข้าว

หนึ่งในฉากที่ได้รับคำชมมากที่สุดใน NATHALIE GRANGER คือฉากที่อิซาเบลล์กับเพื่อนทำความสะอาดโต๊ะหลังทานอาหารเสร็จ ในฉากนี้คนดูจะได้เห็นผู้หญิงสองคนนี้ในภาพแบบมีเดียมช็อททำงานง่วนอยู่ในครัว และได้เห็นภาพโคลสอัพใบหน้าของทั้งสอง และช็อตที่ติดตาติดใจมากที่สุดก็คือการโคลสอัพมือของทั้งสองอย่างใกล้ชิดมาก ขณะที่มือของทั้งสองค่อยๆกวาดเศษอาหารบนโต๊ะ ฉากนี้เชื่องช้า, เงียบ และสะกดจิตผู้ชม ในขณะที่ภาพดูงดงามและสร้างความหมายที่กำกวม สิ่งที่เด่นมากในฉากนี้คือจังหวะที่ให้อารมณ์ผ่อนคลาย, การทำสิ่งเดิมซ้ำๆกัน และการทำงานบ้านโดยไม่ต้องใช้ความคิด และสิ่งเหล่านี้ล้วนตรงข้ามกับการทำงานเปลี่ยนแปลงสังคม ความเคลื่อนไหวของพวกเธอไม่ใช่ความเคลื่อนไหวทางสังคม อย่างไรก็ดี ฉากนี้เต็มไปด้วยความรู้สึกที่สงบสุข การกระทำของพวกเธอเป็นงานที่คนทำกันเป็นประจำทุกวัน แต่แทบไม่เคยปรากฏในงานศิลปะมาก่อน (แถมยังแสดงโดยนักแสดงหญิงชื่อดังอีกด้วย) ฉากนี้เป็นฉากที่ไม่มีพล็อต และเป็นฉากที่ต่อต้านการเล่าเรื่องและเป็นสิ่งที่สวนทางกับภาพที่ผู้ชมคาดหวังไว้

ทั้งรถเข็นเด็กและโต๊ะกินข้าวเป็นสิ่งของที่มักเกี่ยวพันกับเพศหญิง และดูเหมือนดูราส์ต้องการจะบอกว่าประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์แบบมาร์กซิสต์หรือ situationist มักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานสร้างโต๊ะ ในขณะที่การทำงานทำความสะอาดโต๊ะเป็นสิ่งที่แทบไม่เคยได้รับการนำเสนอ แม้แต่จากศิลปินนักปฏิวัติเองก็ตาม

ความเงียบในฉากนี้เป็นการแสดงความเป็นเพศหญิงตามแบบของดูราส์ในปี 1972 ความเงียบใน NATHALIE GRANGER เป็นพลังที่แข็งแกร่งมาก และไม่ได้เป็นเพียงการปราศจากเสียงพูดหรือเสียงต่างๆเท่านั้น

ดูราส์เคยพูดว่า "MEN PREVENT THE SILENCE FROM BEING HEARD" (ผู้ชายพยายามทำให้คนไม่ได้ยินความเงียบ) และผลงานการประพันธ์ของดูราส์หลังปี 1968 โดยเฉพาะงานเขียนเรื่อง "DESTROY, SHE SAID" (1969) สะท้อนให้เห็นถึงความโกรธเคืองและทัศนคติที่ว่า ภาษาทั้งหมดเป็นสิ่งที่เสื่อมทราม บางทีอาจจะเป็นแนวคิดนี้กระมังที่เป็นแรงบันดาลใจให้ดูราส์หันมาทำงานกำกับภาพยนตร์ และเป็นภาพยนตร์ที่เน้นการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดด้วย (เสียงเปียโนของนาตาลีในเรื่องนี้จะหลอกหลอนตัวละครทีละคนในเรื่อง) ดูราส์ใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการทำลายภาษา

ภาษาเป็นสิ่งที่อยู่นอกบ้านหลังนี้ ในขณะที่ความเงียบครอบงำบ้านหลังนี้ และหนังเรื่องนี้ตอกย้ำเส้นแบ่งกั้นระหว่างภายนอกกับภายในอาณาบริเวณบ้านหลายครั้ง ในฉากแรกๆ เมื่อผู้ชาย (ซึ่งไม่มีชื่อ และผู้ชมแทบไม่ได้เห็นหน้า) ออกจากบ้านไปทำงาน ผู้ชมจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองได้ยินเสียงบ้านถอนหายใจด้วยความโล่งอก และในช่วงเวลาระหว่างวัน ผู้หญิงก็จะตัดขาดตัวเองจากโลกภายนอกและจากการดำเนินไปของเวลา ผู้หญิงในเรื่องนี้มองว่าสิ่งรบกวนต่างๆ (เสียงโทรศัพท์,เซลส์แมนที่พยายามขายของ, การส่งหนังสือพิมพ์, เสียงวิทยุ) เป็นการแทรกแซงก้าวก่ายอย่างรุนแรง หรือไม่ก็เป็นสิ่งที่ไม่สลักสำคัญแต่อย่างใด
สำหรับดูราส์นั้น พรมแดนเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์และอันตราย ตัวละครเด่นในหนังเรื่องอื่นๆของเธอ อย่างเช่น LOL V. STEIN, กลุ่มผู้พักอาศัยในโรงแรมในหนังเรื่อง "DESTROY, SHE SAID" และหญิงขอทานใน INDIA SONG ต่างก็อาศัยอยู่ที่ขอบพรมแดนของป่าหรือเมืองใหญ่ และต่างก็เป็นคนที่อยู่ตรงขอบของความรุนแรงและความบ้าคลั่งเสียสติ

หญิงสองคนใน NATHALIE GRANGER ปรากฏกายในรูปลักษณ์ที่คล้ายกับแม่มด ทั้งสองใส่เสื้อคลุมดำยาว พวกเธอกวาดใบไม้และเผาใบไม้ พวกเธอใช้ไม้ยาวๆกวนใบไม้ในสระน้ำ พวกเธอทำกิริยาเหล่านี้ในจังหวะสโลว์โมชั่นราวกับว่ามันเป็นพิธีกรรมหรือพวกเธอถูกสะกดจิต มีแมวดำเดินผ่านจอเป็นระยะๆ และดูราส์เองก็เรียกบ้านหลังนี้ว่าเป็นถ้ำด้วย นอกจากนี้ ในฉากหนึ่งในเรื่องนี้ ผู้ชมจะเห็นหมาตัวหนึ่งแสดงอาการตื่นกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้บ้านหลังนี้ อาณาเขตของเพศหญิงในบ้านหลังนี้เต็มไปด้วยความเงียบและการต่อต้าน "การเล่าเรื่อง"

อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า discursive modes (ดิฉันไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไร) ซึ่งรวมถึงความเงียบ ไม่ได้เป็นเรื่องของเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นเรื่องของตำแหน่งแห่งที่ของคนๆนั้นและความสัมพันธ์ของคนๆนั้นกับสถาบัน และแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า วิธีการต่อต้านการเล่าเรื่องหรือต่อต้านโลกวัตถุแบบนี้เป็นสิ่งที่คนอื่นๆสามารถเรียนรู้หรือสามารถทำตรงข้ามได้ ตัวอย่างเช่น ตัวละครครูใหญ่ซึ่งเป็นผู้หญิงในเรื่องนี้ พูดโดยใช้ภาษาที่แสดงถึงอำนาจ และแสดงถึงความเป็น "คนนอก" ของบ้านหลังนี้ ในขณะที่เซลส์แมนในเรื่องนี้ หลังจากที่เขาเผชิญกับความเงียบและรัศมีที่แผ่ออกมาจากตัวผู้หญิงสองคนนี้แล้ว เขาก็สามารถก้าวเข้าสู่อาณาบริเวณของเพศหญิงได้ทีละน้อย และพบกับเสรีภาพและการต่อต้านแบบพิเศษในอาณาบริเวณนี้


เครื่องซักผ้า

เครื่องซักผ้าและบทสนทนาของเซลส์แมนในเรื่องนี้เป็นการตอกย้ำธีมเรื่อง "การล้าง" และ "การลบขจัด" เช่นกัน และสะท้อนถึงแนวคิดที่ว่าเมื่อเราทำการชำระล้างอย่างรุนแรง เมื่อเราปอกเปลือกภายนอกออกจนหมดแล้ว เมื่อเราขจัดสิ่งที่หุ้มห่อออกจนเหลือเพียงแกนกลางที่สำคัญแล้ว เมื่อนั้นแหละเราถึงจะได้ยินเสียงของจิตไร้สำนึกและเสียงของความเงียบได้

เมื่อเซลส์แมนเริ่มพูดขายของ ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าการพูดมากของเขานั้นไม่ใช่นิสัยแท้ๆของเขา เขาไม่ได้มีความสุขกับการพูดมาก เขาพูดมากเพราะมันเป็นหน้าที่เท่านั้นเอง และเขาก็เริ่มรู้สึกถูกดึงดูดเข้าสู่จังหวะของบ้านหลังนี้ และบางทีนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้หญิงสองคนนี้ไม่ได้ขัดขวางการมีอยู่ของเขาในพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดูราส์เรียกว่า พื้นที่ของผู้หญิงที่ปิดกั้นไม่ให้พลังแห่งการกดขี่ใดๆล่วงล้ำเข้ามาได้
ในเวลาต่อมา เซลส์แมนก็พบว่าคำพูดขายของของเขาเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และเขาก็ค่อยๆเงียบเสียงลงต่อหน้าผู้หญิงสองคนนี้ที่ไม่ได้แสดงอาการตอบรับใดๆต่อคำพูดของเขา เขาพบว่าบ้านหลังนี้มีเครื่องซักผ้าแบบที่เขากำลังเสนอขายอยู่แล้ว

เซลส์แมนคนนี้เริ่มต้นพูดด้วยประโยคที่ว่า "ผมเป็นตัวแทนของยี่ห้อ VEDETTA TAMBOUR" และคำพูดนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความแปลกแยกของเซลส์แมน เพราะคำพูดนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องซักผ้ากำลังจะเข้ามาแทนที่ตัวเขา และเครื่องซักผ้ายังกลายเป็นตัวแทนของเขาด้วย คำพูดที่หลุดออกมาจากปากของเขาไม่ใช่คำพูดที่ออกมาจากตัวเขาเองจริงๆ แต่เป็นคำพูดที่ออกมาจากความปรารถนาของบริษัทเครื่องซักผ้า

ในที่สุดเซลส์แมนก็ประกาศด้วยความสิ้นหวังว่า "ผมยอมแพ้" และประโยคนี้สะท้อนอะไรหลายอย่างๆ ซึ่งรวมถึง

1.การยอมละทิ้งบทบาทความสัมพันธ์ของเขาที่มีต่อตลาดเครื่องซักผ้า

2.การยอมละทิ้งการใช้ภาษา

3.การยอมละทิ้ง a manner of cultural production

ทั้ง TOUT VA BIEN และ NATHALIE GRANGER แสดงให้เห็นถึงแง่มุมทางการเมืองที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคน และแสดงให้เห็นถึงประเด็นทางเพศที่ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ทางชนชั้น, การปฏิวัติ และการเล่าเรื่อง ซูซาน เดอวิทท์ใน TOUT VA BIEN ตั้งทฤษฎีสำหรับความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง และวิธีการใหม่ในการนำมุมมองทางเพศมาใช้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางชนชั้น ทางด้านดูราส์เองนั้นก็สำรวจพื้นที่ของเพศหญิงและรูปแบบของปฏิสัมพันธ์เช่นกัน พร้อมทั้งสำรวจทางเลือกใหม่ในการเล่าเรื่องและการนำเสนอประเด็นด้วย หนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็
แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราตระหนักถึงลักษณะทางเพศที่อยู่ในวาทกรรมแล้ว เมื่อนั้น counterdiscourse ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

(ถ้าหากอ่านข้อความข้างบนไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ต้องประหลาดใจค่ะ เพราะดิฉันซึ่งเป็นคนแปลก็อ่านไม่รู้เรื่องเหมือนกัน แค่พยายามแปลตามตัวอักษรเท่านั้นเอง ส่วนคำไหนดิฉันแปลไม่ได้ ดิฉันก็เดามั่วค่ะ โฮะๆๆๆๆ)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NATHALIE GRANGER ได้ในหนังสือ "บุ๊คไวรัส 1" ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า

No comments: