Sunday, November 20, 2005

ROBOCON (A+)

MOVIES WHICH MADE ME CRY

1.DIVINE INTERVENTION (2002, ELIA SULEIMAN)
2.THE MISSION (1986, ROLAND JOFFE)
3.THE GREEN RAY (1986, ERIC ROHMER)
4.BUNNY (2000, MIA TRACHINGER)
5.DEJA VU (1997, HENRY JAGLOM) http://www.imdb.com/title/tt0119033/
6.AFTERNOON TIMES (2004, ทศพล บุญสินสุข)
7.BEFORE THE STORM (2000, REZA PARSA)
8.AFTERSHOCKS (2002, RAKESH SHARMA) http://www.rakeshfilm.com/aftershocks.htm 9.PRIEST (1994, ANTONIA BIRD)
10.THE FLOWER OF EVIL (2003, CLAUDE CHABROL) http://www.imdb.com/title/tt0322289/

ชอบละครเรื่อง THE SUN SHINES FOREVER มากเหมือนกันค่ะ แต่ชอบด้วยสาเหตุที่แตกต่างจากคุณเจ้าชายน้อย+คุณเอกเช้า โฮะๆๆๆๆๆ ดูละครเรื่องนี้แล้วทำให้กลัวโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น และทำให้สนใจข่าวคนไข้ฟ้องหมอหรือโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ดูละครเรื่องนี้ จะลุ้นให้ TAKKY รักกับทนายความ แต่น่าเสียดายที่มันไม่เป็นไปตามที่ลุ้น ไม่งั้นอาจจะชอบละครเรื่องนี้มากกว่านี้ (แต่แค่นี้ก็ชอบมากอยู่แล้ว)

อ้อ มินิซีรีส์ที่ทำให้ร้องไห้มากที่สุดในชีวิต คงจะรวมถึงเรื่อง THE MURDER OF MARY PHAGAN (1988, WILLIAM HALE, A+++++) ที่มาฉายทางช่อง 3 เมื่อราว 16 ปีก่อน
http://www.imdb.com/title/tt0095678/

(จำรายละเอียดเกี่ยวกับมินิซีรีส์นี้ไม่ค่อยได้แล้ว สิ่งที่เล่านี้อาจจะผิดเพี้ยนไปจากมินิซีรีส์จริงอยู่บ้าง เพราะเวลามันผ่านมานาน 16 ปีแล้ว ถ้าผิดพลาดอะไรก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ)

มินิซีรีส์นี้สร้างจากเรื่องจริง เกี่ยวกับเด็กหญิง MARY PHAGAN ที่ถูกฆาตกรรมอย่างเหี้ยมโหดในสหรัฐเมื่อราว 100 ปีก่อน ชาวบ้านสงสัยว่าหนุ่มยิวที่เป็นเจ้านายของ MARY เป็นคนฆ่าเธอ ทางการก็เลยจับหนุ่มยิวไปขังคุก

คดีนี้โด่งดังมาก และก็มีนักการเมืองหลายคนเข้ามายุ่งในคดีนี้ด้วย เพราะพวกเขาเห็นว่าการทำเช่นนี้จะทำให้พวกเขาได้รับคะแนนนิยมจากเหล่าประชาชนมากขึ้น นักการเมืองบางคนก็คอยปลุกระดมชาวบ้าน

แต่ก็มีนักการเมืองคนนึง (JACK LEMMON) ที่เป็นคนดี เขาสำรวจหลักฐานต่างๆแล้วก็พบว่าหนุ่มยิวคนนี้ไม่มีทางฆ่า MARY PHAGAN ได้แน่นอน เขาก็เลยพยายามจะช่วยเหลือหนุ่มยิวคนนี้ แต่ผลปรากฏว่าชาวบ้านกลับโกรธเกลียดชิงชังเขามาก ชาวบ้านไม่ฟังเหตุผลเลย เอาแต่อารมณ์ของตัวเองเป็นหลัก

ถึงแม้หลักฐานจะปรากฏชัดว่าหนุ่มยิวคนนี้ไม่ได้เป็นฆาตกร และถึงแม้หนุ่มยิวคนนี้มีวี่แววว่าจะได้รับการตัดสินให้พ้นผิดและได้รับอิสรภาพ ชาวบ้านก็ไม่ได้เชื่อหลักฐานเหล่านี้ พวกเขารวมตัวกันและบุกเข้าไปในคุกและฆ่าหนุ่มยิวคนนี้ตายในคุก และชาวบ้านที่ทำตัวไม่ต่างจากสัตว์นรกเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการตัดสินว่ากระทำความผิดแต่อย่างใด ในขณะที่นักการเมืองกลุ่มที่คอยหนุนหลังปลุกปั่นชาวบ้านเหล่านี้ก็เจริญรุ่งเรือง ได้ตำแหน่งใหญ่โตไปตามๆกันในเวลาต่อมา

หลังจากเวลาผ่านไปนานประมาณ 60-80 ปี ชายชราคนนึงก็ยอมเปิดเผยความจริงออกมาในทศวรรษ 1980 ก่อนที่ตัวเองจะตาย เขาบอกว่าในช่วงที่เขายังเป็นเด็กชายในเมืองนั้น เขาเห็นเหตุการณ์ฆาตกรรม MARY PHAGAN และเขาก็รู้ว่าชายผิวดำคนนึงคือฆาตกรตัวจริงในคดีนี้ แต่เขากลัวมาก ก็เลยไม่กล้าเปิดเผยความจริงออกมา ส่วนหนุ่มยิวคนนั้นคือผู้บริสุทธิ์ตัวจริง เขาไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่ก็ถูกชาวบ้านรุมฆ่าตาย

ฉากที่ทำให้ร้องไห้อย่างรุนแรงใน THE MURDER OF MARY PHAGAN คือฉากที่ชาวบ้านมารุมประท้วงจะเผาบ้านนักการเมืองใจประเสริฐ (JACK LEMMON) เพราะไม่พอใจที่นักการเมืองคนนี้จะช่วยเหลือหนุ่มยิวซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ตอนนั้นนักการเมืองคนนี้อยู่กับผู้ช่วยหนุ่มที่คอยติดสอยห้อยตามเขามาโดยตลอด ผู้ช่วยคนนี้คอยติดตามนักการเมืองคนนี้เพื่อหวังว่าตัวเองจะได้เรียนรู้งานและอาจได้ประสบความก้าวหน้าในแวดวงการเมืองในเวลาต่อมา

นักการเมืองจิตใจประเสริฐพูดกับผู้ช่วยว่า

“จำไว้นะ ถ้าหากเธออยากประสบความก้าวหน้าในฐานะนักการเมือง เธออย่าทำแบบเดียวกับฉันเป็นอันขาด”

แต่ผู้ช่วยหนุ่มซึ่งเคยเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานกลับกล่าวตอบไปว่า

“ผมไม่คิดว่าผมสนใจการเมืองอีกต่อไปแล้วล่ะครับ”

แววตาและสีหน้าของผู้ช่วยในตอนนั้น บ่งบอกเป็นอย่างดีว่า เขาขอเลือกความยุติธรรมดีกว่าคะแนนเสียงทางการเมือง เขาเข้าใจเป็นอย่างดีว่านักการเมืองคนนี้ทำไปเพื่ออะไร สีหน้าและคำพูดของเขาบ่งบอกว่า การที่เขาได้ติดตามนักการเมืองคนนี้ ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า การช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ คือสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชนมากมายหลายเท่านัก

คิดถึงฉากนี้ทีไรก็ร้องไห้ทีนั้นค่ะ (แต่จำไม่ได้แล้วว่า ผู้ช่วยหนุ่มคนนั้นหน้าตาหล่อหรือเปล่า)

เข้าไปเลียผู้ชายใน BLOG ของคุณ thunska แล้วค่ะ อิ่มอร่อยมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่แนะนำให้รู้จัก ERIC MUN ปกติดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องหนุ่มๆเอเชียค่ะ คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างคุณ THUNSKA มาช่วยประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ในด้านนี้ให้

http://img.airspider.com/image/00/81/37/00813733_2.jpg
http://img.airspider.com/image/00/75/98/00759887_2.jpg
http://img.airspider.com/image/00/68/25/00682515_2.jpg
http://images7.fotki.com/v134/free/be82d/4/482475/1698748/eric351-vi.jpg


ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND

ชอบ TIFFANY มากกว่า DEBBIE GIBSON ค่ะ จริงๆแล้ว DEBBIE GIBSON อาจะแต่งเพลงเก่งกว่า TIFFANY แต่รู้สึกถูกโฉลกกับเพลงของ TIFFANY มากกว่า

เพลงของ TIFFANY ที่ชอบสุดๆก็คือ

1.IT’S THE LOVER (NOT THE LOVE) ใช้ปลอบใจคนอกหักได้ดีมากๆ

2.HEART NEVER LIES เป็นเพลงคู่ที่เพราะมากๆ

3.ALL THIS TIME ชอบทั้งเพลงและมิวสิควิดีโอของเพลงนี้ จริงๆแล้วมิวสิควิดีโอเพลงนี้ดูธรรมดา แต่ช่วงท้ายเพลง จะมีฉาก TIFFANY ส่องกระจกแล้วสะบัดหน้ากลับมา รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ได้อารมณ์มากๆ

ส่วนเพลงของ DEBBIE GIBSON ที่ชอบมากๆก็รวมถึง

1.SILENCE SPEAKS A THOUSAND WORDS รู้สึกว่าเพลงนี้มีทำนองคล้ายๆเพลงจีน

2.PLAY THE FIELD

3.เพลงของเธอเวลารีมิกซ์เป็นเพลงแดนซ์แล้ว รู้สึกว่าหลายๆเพลงของเธอไม่ค่อย “เต็มที่” แต่พอรีมิกซ์เป็นเพลงแดนซ์ที่ยาวๆ ยาวประมาณ 10-12 นาที แล้วจะรู้สึกว่ามัน “เต็มที่” มากๆ ไม่ว่าจะเป็น SHAKE YOUR LOVE, ONLY IN MY DREAMS และโดยเฉพาะ WE COULD BE TOGETHER ที่รีมิกซ์ได้เยี่ยมมากๆ

ส่วน MARTIKA ก็ชอบมากๆเหมือนกันค่ะ โดยเฉพาะเพลง MORE THAN YOU KNOW, WATER กับ SEE IF I CARE
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0000026KH/qid=1132422455/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-0334377-7175029?v=glance&s=music

รู้สึกว่า MARTIKA เป็นนักร้องที่ “สำเนียง” หนักมาก การออกเสียงคำแต่ละคำของเธอมัน “แจ๋น” มากๆ ความแจ๋นของเธอจะรู้สึกได้ชัดเวลานำเพลงที่เธอร้องไปเทียบกับเพลงเดียวกันที่ร้องโดยศิลปินคนอื่นๆ อย่างเช่น

1.นำเพลง CROSS MY HEART ของเธอไปเทียบกับ CROSS MY HEART ของ EIGHTH WONDER ที่มี PATSY KENSIT เป็นนักร้องนำ ปรากฏว่าดิฉันชอบเวอร์ชันของ EIGHTH WONDER มากกว่าค่ะ
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0001FAFL8/qid=1132422633/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-0334377-7175029?v=glance&s=music

2.นำเพลง I FEEL THE EARTH MOVE ของเธอไปเทียบกับ I FEEL THE EARTH MOVE ของ BIG FUN ซึ่งเป็นวงนักร้องหนุ่มหล่อ 3 คนในปี 1989 รู้สึกว่าเสียงของ BIG FUN มันแหลมและดู “ลอยๆ” กว่ามากๆ ทั้งๆที่เป็นผู้ชายร้อง ในขณะที่การออกเสียงของมาร์ติกาดู “หนักแน่น” กว่าอย่างเห็นได้ชัด


ชอบวง CRANES มากๆเหมือนกันค่ะ เคยฟังแค่อัลบัมชุด LOVED ยังแยกเพลงในอัลบัมนี้ไม่ค่อยออก ตอนนี้ชอบอัลบัมชุดนี้ในระดับประมาณ A-
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B000002VOK/qid=1132423098/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/103-0334377-7175029?v=glance&s=music&n=507846

http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000002VOK.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

เพลง SHINING ROAD ของวง CRANES ถูกใช้ประกอบหนังเรื่อง EYE FOR AN EYE (1996, JOHN SCHLESINGER, B) ด้วยค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0116260/soundtrack

ปกอัลบัม LOVED ของวง CRANES เป็นผลงานการวาดของ EDGAR DEGAS ในขณะที่เสียงกีตาร์ในอัลบัมชุดนี้ได้รับคำวิจารณ์ว่าเหมือนกับวง COCTEAU TWINS

คิดว่าคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND น่าจะชอบเพลงของวง SUNDAYS อัลบัมชุด BLIND (1992) ของวงนี้เคยมีขายเป็นเทปลิขสิทธิ์ในไทย แต่ดิฉันไม่ได้ซื้อเก็บไว้ รู้สึกเจ็บใจจนถึงทุกวันนี้ ไม่รู้จะหาซื้อที่ไหนได้อีก

นักร้องนำวงนี้ชื่อ HARRIET WHEELER ชอบเสียงของเธอมากๆค่ะ

ฟังตัวอย่างอัลบัมชุด BLIND (1992) ของ SUNDAYS ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000003TA7/qid%3D1132423764/sr%3D11-1/ref%3Dsr%5F11%5F1/103-0334377-7175029

http://images.amazon.com/images/P/B000003TA7.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ดีใจค่ะที่น้องได้ฟัง JANE SIBERRY เพราะชอบเธอมากๆเลยค่ะ

เพลงของ JANE SIBERRY ที่ชอบสุดๆอีกเพลงก็คือ IT CAN’T RAIN ALL THE TIME ที่ใช้ประกอบหนังเรื่อง THE CROW (B-)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B000002IWH/qid=1132442317/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-0334377-7175029?v=glance&s=music

เนื้อเพลง IT CAN’T RAIN ALL THE TIME
http://www.stlyrics.com/lyrics/thecrow/itcantrainallthetime.htm

พูดถึงเพลงเวอร์ชันเรียบๆกับเวอร์ชันอลังการแล้ว ก็นึกถึง I WILL ALWAYS LOVE YOU เวอร์ชัน DOLLY PARTON กับ WHITNEY HOUSTON ค่ะ รู้สึกว่าทั้งสองเวอร์ชันต่างก็ดีกันไปคนละแบบ

นักร้องอีกคนที่น่าสนใจมากก็คือ SARAH HARMER ค่ะ เพลงของเธอฟังสบายๆ เหมือนเพลงของ SUZANNE VEGA เสียงของเธอก็ใสๆดี
http://www.sarahharmer.com/

ฟังตัวอย่างอัลบัมชุด ALL OF OUR NAMES (2004) ของ SARAH HARMER ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0001GOHAC/qid=1132442535/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-0334377-7175029?v=glance&s=music
http://www.rounderstore.com/retail/images/catalog/0114310322_0.JPG


หนังที่ได้ดูในช่วงนี้

1.ROBOCON (2003, TOMOYUKI FURUMAYA, A+)
http://www.tohokingdom.com/toho_kingdom_stuff/multi/posters/robot_contest_02.jpg

ญี่ปุ่นถนัดในการทำหนังและละครเกี่ยวกับการแข่งขันเป็นอย่างมาก และนี่ก็เป็นหนังเกี่ยวกับการแข่งขันอีกเรื่องนึงที่ดิฉันชอบมากๆ หนังเรื่องนี้มีส่วนที่ดูเหมือนเป็นสูตรสำเร็จอยู่บ้าง อย่างเช่นการที่ตัวละครแต่ละตัวค่อยๆเรียนรู้เรื่องข้อเสียของตัวเองและหาทางปรับปรุงตัวเองไปเรื่อยๆ, สร้างความสามัคคีระหว่างกัน ก่อนที่ทีมจะชนะการแข่งขัน

ถึงแม้หนังจะมีความเป็นสูตรสำเร็จหลงเหลืออยู่ แต่ก็ดูแล้วรู้สึกไม่เบื่อเลยแม้แต่น้อย บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าหนังรักษาระยะห่างระหว่างผู้ชมกับตัวละครได้เป็นอย่างดี หนังไม่ได้เข้าใกล้ตัวละครมากเกินไป และไม่ได้ชี้นำอารมณ์อย่างชัดเจนเกินไป นอกจากนี้ หนังยังสร้างอารมณ์ขันได้ดีพอสมควรด้วย

นางเอกของเรื่องนี้เป็นนักเรียนหญิงที่ไม่เอาถ่าน เธอถูกบังคับให้เข้าร่วมชมรมประดิษฐ์หุ่นยนต์ และก็เข้าร่วมในการแข่งขันหุ่นยนต์อย่างไม่เต็มใจนัก แต่เธอก็ประหลาดใจมากที่พบว่าสมาชิกชมรมนี้ไม่มีความปรารถนาที่จะชนะการแข่งขันแต่อย่างใด เธอก็เลยเริ่มหันมาเอาจริงเอาจังกับการแข่งขัน และช่วยกระตุ้นสมาชิกคนอื่นๆให้ช่วยกันประดิษฐ์หุ่นยนต์หมาขึ้นมา และในที่สุดหุ่นยนต์หมาของเธอก็ได้ไปแข่งขันกับหุ่นยนต์งู, หุ่นยนต์แมงมุม, หุ่นยนต์มนุษย์เดินบนดวงจันทร์ และหุ่นยนต์อื่นๆในการแข่งขันหยิบกล่องมาวางบนแท่น

หนังเกี่ยวกับการแข่งขันของญี่ปุ่นอีกเรื่องนึงที่ดูแล้วชอบมากๆคือ GIVE IT ALL (1998, ITSUMICHI ISOMURA, A+) ที่เกี่ยวกับการแข่งเรือหญิง


2.CLIMATE CHANGE OR CLIMATE DISASTER (2005, HANNES KARNICK + WOLFGANG RICHTER, A+)
http://www.goethe.de/ins/th/prj/wif/prg/pth/dok/umw/en945604.htm

ดูหนังเรื่องนี้ที่ท้องฟ้าจำลองในเทศกาล SCIENCE FILM FESTIVAL ปรากฏว่าคนดูล้นทะลักจนไม่มีแม้แต่ที่จะยืนดู มีโรงเรียนพานักเรียนมาดูหนังในเทศกาลนี้จนล้นโรงหนัง รู้สึกดีใจแทนผู้จัดเทศกาลนี้มากๆที่เทศกาลประสบความสำเร็จเกินคาด ก่อนหน้านั้นยังนึกเป็นห่วงอยู่ว่า จะมีใครบ้างเนี่ยที่สนใจมาดูเทศกาลภาพยนตร์สารคดีวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่าคนกลับสนใจเทศกาลนี้มากกว่าที่คิดไว้หลายเท่านัก

เทศกาลภาพยนตร์นี้ส่งผลให้ตัวเองได้กลับไปเยือนท้องฟ้าจำลองเป็นครั้งแรกในรอบประมาณ 20 ปี จำไม่ได้ว่าตัวเองไปเยือนท้องฟ้าจำลองครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ มีสิทธิว่าไปเยือนครั้งสุดท้ายสมัยที่อยู่โรงเรียนประถม

รู้สึกว่าท้องฟ้าจำลองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก และสิ่งที่ประทับใจก็คือรู้สึกว่าวัยรุ่นแต่ละคนที่มาเที่ยวท้องฟ้าจำลองในวันเสาร์ดูเรียบร้อยมากๆ

สารคดีเรื่องนี้เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา และอาจจะไม่ได้มีความเป็นศิลปะอะไรมากนัก แต่รู้สึกว่าสารคดีเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อความคิดตัวเองมากกว่าหนังทั่วๆไปที่ได้ดู สิ่งที่ชอบมากในสารคดีเรื่องนี้รวมถึง

2.1 ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่าจุดไหนในโลกที่เป็นแหล่งทำลายสภาพบรรยากาศมากที่สุด ปรากฏว่าประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในทุกวันนี้ คือประเทศที่กำลังทำลายชั้นบรรยากาศของโลกอย่างร้ายแรงที่สุด

2.2 เรื่องราวของหมู่บ้านในสวิตเซอร์แลนด์ที่เคยเจอภัยพิบัติจากโคลนถล่ม

2.3 ภาพของแม่หมีกับลูกหมีขั้วโลกที่ลอยอยู่บนก้อนน้ำแข็ง เป็นภาพที่น่ารักมากๆ และก็เป็นภาพที่น่าสงสารมากๆในเวลาเดียวกัน เพราะดูสารคดีเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าถ้าหากมีการทำลายชั้นบรรยากาศต่อๆไป โลกก็จะร้อนขึ้นเรื่อยๆ และหมีขั้วโลกอาจจะสูญพันธุ์ได้ในไม่ช้า
http://channel.nationalgeographic.com/channel/photogallery/ngccore/images/popup/polarbear_800b.jpg

http://www.geocities.com/SoHo/Museum/7765/polarcubv.jpg


3.WHY DOES THE PENGUIN NOT CARE ABOUT HIS ICE-FLOE (2000, SUSANNE DECKER, A)
http://www.goethe.de/ins/th/prj/wif/prg/pth/bil/kin/en945658.htm

เป็นหนังสารคดีสั้นๆที่น่ารักมากๆ เป็นหนังที่อธิบายว่าเพราะเหตุใดนกเพนกวินถึงยืนบนน้ำแข็งได้นานๆโดยไม่หนาวเท้า และโดยที่ความอบอุ่นจากเท้าไม่ทำให้น้ำแข็งละลาย


4.HARRY POTTER AND THE GOBLET OF FIRE (2005, MIKE NEWELL, A-)

รู้สึกว่า HARRY POTTER ภาคนี้สนุกกว่าภาคก่อนๆ แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่สะใจเท่าที่อยากให้มันเป็น

หนังเรื่องนี้อุตส่าห์หาดาราหล่อๆมาเล่น แต่ก็รู้สึกว่าไม่สามารถดึง SEX APPEAL ออกมาได้มากเท่าไหร่ ซึ่งรวมถึง ROBERT PATTINSON และ STANISLAV IANEVSKI

ROBERT PATTINSON
http://www.pottermania.jp/Photos/CastsCrews/RP/RobertPattinson_HouseofWax2.jpg

STANISLAV IANEVSKI (เกิดปี 1985)
http://www.potter-mania.com/gallery/stanislav/pic1.jpg


5.WHEN THE LAST SWORD IS DRAWN (2003, YOJIRO TAKITA, B)

รู้สึกชอบช่วงแรกๆของหนังเรื่องนี้มาก แต่ไม่ชอบช่วง 30 นาทีสุดท้าย จากที่ชอบในระดับ A+ ก็เลยร่วงลงเรื่อยๆมาจนเหลือแค่ B ในที่สุด

ไม่ค่อยชอบหนังแนวซามูไรคุณธรรมสูงสักเท่าไหร่ และช่วงแรกๆของหนังเรื่องนี้ หนังก็ไม่ได้ออกมาในทิศทางนั้น ตัวละครหลักๆในหนังดูเหมือนจะเป็นซามูไรที่ไม่เคร่งครัดเรื่องคุณธรรมมากนัก แต่พอเข้าสู่ช่วงท้ายๆของเรื่อง หนังก็เริ่มฟูมฟายอย่างรุนแรง


MOST DESIRABLE ACTOR
1.ERIC CARAVACA—HIS BROTHER

อันนี้เป็นรูปของเขาจากหนังเรื่อง LOVERS OF THE NILE (2002, ERIC HEUMANN)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/00/02/38/14/69218808_af.jpg

2.EUGENE NOMURA—WHEN THE LAST SWORD IS DRAWN เขาเกิดปี 1972
http://www.imdb.com/name/nm0634581/


FAVORITE ACTRESS
1.MARIKO OKADA—WOMEN IN THE MIRROR

2.YOSHIKO TANAKA—WOMEIN IN THE MIRROR

YOSHIKO TANAKA เกิดปี 1956 และเคยเล่นหนังเรื่อง RING O: BIRTHDAY (2000, NORIO TSURUTA, B-) และ POPPOYA THE RAILROAD MAN (1999, YASUO FURUHATA, A-)

3.MIKA NAKASHIMA—NANA
4.JOAN ALLEN--YES


FAVORITE ACTOR
1.BRUNO TODESCHINI—HIS BROTHER

อันนี้เป็นรูปของเขาจากหนังเรื่อง A PERFECT COUPLE (2005, NOBUHIRO SUWA) ที่เขานำแสดงร่วมกับ VALERIA BRUNI TEDESCHI
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/03/17/18446898.jpg

2.ATSUSHI ITOH—ROBOCON
http://www.jdorama.com/artiste.1853.htm
http://www.imdb.com/name/nm0411682/

ATSUSHI ITOH หน้าตาคุ้นๆมาก พอลองเช็คดูถึงรู้ว่าเขาเคยเล่นหนังเรื่อง BOY’S CHOIR (2000, AKIRA OGATA, A) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเด็กหนุ่มสองคน และการที่เด็กหนุ่มคนหนึ่ง (SORA TOMA) ไม่พอใจอย่างรุนแรงที่เด็กหนุ่มอีกคน (ATSUSHI ITOH) หันไปสนใจผู้หญิง
http://www.imdb.com/title/tt0233595/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00008YLUN.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ตอนนี้ ATSUSHI ITOH นำแสดงในละครทีวีเรื่อง DENSHA OTOKO หรือ TRAIN MAN ที่สร้างจากหนังสือดัง อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ TRAIN MAN ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=14486

3.KIICHI NAKAI—WHEN THE LAST SWORD IS DRAWN

4.KOICHI SATO—WHEN THE LAST SWORD IS DRAWN
http://www.imdb.com/name/nm0766233/

เขาเกิดปี 1960 และเคยเล่นหนังเรื่อง

4.1 A PROMISE (1986, YOSHISHIGE YOSHIDA, A+)

4.2 FACE (2000, JUNJI SAKAMOTO, A-)

4.3 WAIT AND SEE (1998, SHINJI SOMAI, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0191766/

4.4 INFECTION (2004, MASAYUKI OCHIAI, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0418778/

4.5 SUPERGIRL REIKO (1991, TAKAO OKAWARA) นำแสดงโดย ARISA MIZUKI ในบทสาวพลังจิตเรโกะ ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้คือหนังที่เคยมาฉายทางช่อง 7 หรือเปล่า


FAVORITE SUPPORTING ACTOR
1.SYLVAIN JACQUES—HIS BROTHER
http://sylvainonthenet.free.fr/sonfrere/sonfrere02.jpg

ก่อนหน้านี้เขาเคยร่วมงานกับ PATRICE CHEREAU มาแล้วใน THOSE WHO LOVE ME CAN TAKE THE TRAIN (A+)
http://sylvainonthenet.free.fr/train/train03.jpg

2.TAKASHI TSUKAMOTO—ROBOCON
รู้สึกว่าเรื่องนี้เขาไม่ค่อยหล่อเท่าไหร่ แต่ใน ABOUT LOVE (2005, TEN SHIMOYAMA + YEE CHIN-YEN, A) กับ BATTLE ROYALE (2000, KINJI FUKASAKU, A+) เขาดูหล่อกว่ามาก

3.KAZUMA SUZUKI—ROBOCON
http://www.jdorama.com/artiste.613.htm

ดาราหนุ่มคนนี้เกิดปี 1968 และเคยเล่นละครทีวีเรื่อง IMAGINE ที่นำแสดงโดย KYOKO FUKADA รู้สึกว่าใน IMAGINE KAZUMA SUZUKI จะเล่นเป็นตากล้องที่ทำงานให้แม่นางเอก ดิฉันรู้สึกชอบเขามากกว่าพระเอกละครเรื่องนี้เสียอีก


FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
1.CATHERINE FERRAN (HEAD DOCTOR)—HIS BROTHER

ก่อนหน้านี้เธอเคยฝากผลงานการแสดงที่ยอดเยี่ยมสุดๆไว้แล้วใน COMING TO TERMS WITH THE DEAD (1994, PASCALE FERRAN, A+) และเธอยังร่วมแสดงในหนังหมาโรคจิตเรื่อง BAXTER (1989, JEROME BOIVIN, A-/B+) ที่เขียนบทโดย JACQUES AUDIARD ด้วย

2.NATHALIE BOUTEFEU—HIS BROTHER

3.SHIRLEY HENDERSON—YES

4.STEPHANIE LEONIDAS—YES
http://www.imdb.com/name/nm0503060/


FAVORITE OPENING

WOMEN IN THE MIRROR

ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้เป็นฉากที่หญิงสาวคนหนึ่งสะกดรอยตามผู้หญิงอีกคนหนึ่ง แต่ผู้ชมไม่ได้เห็นหน้าของผู้หญิงสองคนนี้เลย เพราะกล้องจะแทนสายตาของผู้สะกดรอย ในขณะที่ผู้ถูกสะกดรอยก็ใช้ร่มบังใบหน้าของตัวเองเอาไว้ตลอดเวลา

เพื่อนบอกว่าการที่ผู้หญิงใช้ร่มบังใบหน้าของตัวเองเช่นนี้ ทำให้นึกถึงฉากคลาสสิคในหนังเรื่อง THE DUMB DIE FAST, THE SMART DIE SLOW (1991, มานพ อุดมเดช, A) ที่มีฉากอังคณา ทิมดีเดินถือร่มกลางสายฝน


FAVORITE ENDING
1.WOMEN IN THE MIRROR
2.TREES
3.YES

FAVORITE MUSIC
1.KEIKO HARADA + MAYUMI MIYATA—WOMEN IN THE MIRROR
2.TREES
3.THE LAST DAYS OF ZEUGMA


FAVORITE SONG
1.เพลงเด่นๆใน NANA
2.LA VIE EN ROSE ร้องโดย GRACE JONES ใน LORD OF WAR
http://images.amazon.com/images/P/B000001FU6.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


FAVORITE CINEMATOGRAPHY

1.TREES

2.MASAO NAKABORI—WOMEN IN THE MIRROR
http://a69.g.akamai.net/7/69/7515/v1/img5.allocine.fr/img_cis/images/festivaldecannes/img/photo/002483.jpg

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบภาพ, มุมกล้อง และการจัดแสงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในฉากที่ผู้หญิงสามคนนั่งอยู่บนม้านั่งในฮิโรชิม่า และมีดวงโคมอะไรก็ไม่รู้หลายดวงลอยมาตามแม่น้ำ แสงจากโคมเหล่านั้นสาดไปที่ใบหน้าของผู้หญิงสามคนบนม้านั่ง ในขณะที่ MARIKO OKADA ก็ทำหน้าทำตารุนแรงมากในฉากนั้น อารมณ์ในฉากนี้หลอนสุดๆ

เพื่อนตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่าเนื้อหาและการจัดองค์ประกอบภาพใน WOMEN IN THE MIRROR บางฉากทำให้นึกถึง INTERIORS (1978, WOODY ALLEN, A)

WOMEN IN THE MIRROR
http://www.asianfilms.org/japan/images/womeninmirror.jpg

INTERIORS
http://ec1.images-amazon.com/images/P/0792846087.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


ความเห็นต่อหนังเรื่องอื่นๆที่ได้ดู

1.WOMEN IN THE MIRROR (2003, YOSHISHIGE YOSHIDA, A+)

รู้สึกชอบหนังเรื่องนี้มาก แต่ไม่ได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะก่อนหน้านี้เคยดู A PROMISE ของ YOSHISHIGE YOSHIDA แล้วรู้สึกว่าหนังสุดๆมาก ก็เลยคาดการณ์กับ WOMEN IN THE MIRROR ไว้มากพอสมควร

หนังเรื่องนี้มีส่วนที่ทำให้นึกถึง UNINVITED (2003, LEE SU-YEON, A+++++) ด้วยเล็กน้อย เพราะว่า

1.ตัวละครหลักในหนังสองเรื่องนี้มีอาการความจำเสื่อมเหมือนกัน และพยายามรื้อฟื้นความทรงจำที่หายไปเหมือนกัน

2.UNINVITED มีตัวละครหญิงสาวสองคนที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าฆ่าลูกของตัวเอง แต่ WOMEN IN THE MIRROR มีตัวละครหญิงที่น่าสนใจมากหลายคน ซึ่งรวมถึง

2.1 ผู้หญิงที่สงสัยว่าเธอเคยฆ่าลูกของตัวเอง

2.2 ผู้หญิงที่อยากฆ่าลูกของตัวเอง

2.3 ผู้หญิงที่ฆ่าลูกของตัวเองจริงๆ อย่างไรก็ดี ตัวละครตัวนี้ไม่ปรากฏตัวเลยตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง เธอหายสาบสูญไปหลังจากฆ่าลูกของตัวเอง และผู้ชมก็ได้ยินเรื่องราวของเธอจากปากคำของหญิงชายวัยชราคู่หนึ่ง แต่ผู้ชมไม่ได้เห็นตัวเธอเลยจนจบเรื่อง

ดู WOMEN IN THE MIRROR แล้วนึกถึงหนังเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่องเช่นกัน ซึ่งรวมถึง

A.หนังของ INGMAR BERGMAN เพราะว่าหนังของ YOSHISHIGE YOSHIDA ทั้งเรื่องนี้และ A PROMISE ต่างก็เป็นหนังดราม่าจัดๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว โดยที่หนังจะมีบรรยากาศหลอนๆ, เหนือจริง และมีการแผดอารมณ์อย่างรุนแรง นอกจากนี้ ทั้งหนังของ INGMAR BERGMAN และ YOSHISHIGE YOSHIDA ยังมีการใช้ดนตรีประกอบเร้าอารมณ์ลึกลับสะเทือนขวัญอย่างรุนแรงด้วย หนังของผู้กำกับทั้งสองคนนี้มีการใช้ดนตรีประกอบและบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับหนังผีมาก เพียงแต่เนื้อหาไม่ใช่หนังผี

ถ้าหาก WOMEN IN THE MIRROR กำกับโดย INGMAR BERGMAN ก็เดาได้ในทันทีเลยว่า บทของ MARIKO OKADA อาจจะแสดงโดย LIV ULLMANN ส่วนบทของ YOSHIKO TANAKA อาจจะแสดงโดย LENA ENDRE

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ WOMEN IN THE MIRROR แตกต่างจากหนังของ INGMAR BERGMAN ก็อาจจะเป็นตัวละครนักข่าวหญิงใน WOMEN IN THE MIRROR เพราะตัวละคร “นักข่าวหญิง” นี้มาทำเป็นสืบเสาะเรื่องราวของผู้หญิงคนอื่นๆที่อาจเก็บความลับบางอย่างในอดีตเอาไว้ ซึ่งถ้าเป็นในหนังของ BERGMAN เรื่องอาจจะเฉลยว่าที่จริงแล้วยัยนักข่าวหญิงนี่แหละที่มีอาการจิตแตก, วิปลาส หรือมีปมลึกลับในอดีตยิ่งกว่าตัวผู้หญิงคนอื่นๆที่ถูกเธอขุดคุ้ยเสียอีก อย่างไรก็ดี ในกรณีของ WOMEN IN THE MIRROR นั้น ตัวละครนักข่าวหญิงกลับเป็นเพียงตัวละครที่มาช่วยดำเนินเรื่องหรือมาช่วยเล่าเรื่องเท่านั้นเอง



B.หนังของ ALAIN RESNAIS ทั้งเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR (A+) และ MURIEL OR THE TIME OF RETURN (A+) เพราะหนังของเรเนส์สองเรื่องนี้พูดถึงตัวละครที่มีความทรงจำอันเลวร้ายเกี่ยวกับสงคราม และการที่ความทรงจำนั้นส่งผลกระทบต่อ “ตัวตน” และชีวิตของตัวละครในยุคปัจจุบัน

ในขณะที่ตัวละครใน WOMEN IN THE MIRROR ได้รับผลกระทบอันเลวร้ายจากสงครามโลกครั้งที่สอง, มีอาการความจำเสื่อม และพยายามรื้อฟื้นความทรงจำของตัวเอง JEAN CAYROL ซึ่งเป็นผู้เขียนบท MURIEL OR THE TIME OF RETURN ก็มีส่วนคล้ายกับตัวละครใน WOMEN IN THE MIRROR เพราะเขาได้รับผลกระทบอันเลวร้ายจากสงครามโลกครั้งที่สอง, มีอาการความจำเสื่อม และพยายามเขียนบทภาพยนตร์ที่พูดถึงการฟื้นความทรงจำ

JEAN CAYROL เคยให้สัมภาษณ์ว่า

I write and make films to 'return': it's always the problem of memory regained. In 1943, in the train, I lost my memory and struggled for hours. I suffer from an extraordinary amnesia: I have, so to speak, no childhood reminiscences, something which drives my mother to despair. I have worked a lot in time and on the theme of recollection.

ขณะที่ดู WOMEN IN THE MIRROR ก็นึกในใจเล่นๆว่า ถ้าหากต้องเปลี่ยนชื่อหนังเรื่องนี้ใหม่ หนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อเป็น MIWA OR THE TIME OF RETURN


C.RHAPSODY IN AUGUST (1990, AKIRA KUROSAWA, B)

ที่นึกถึงหนังเรื่องนี้เพราะว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็พูดถึงผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่กลับสร้างขึ้นในยุคปัจจุบัน และสร้างโดยผู้กำกับญี่ปุ่นที่อายุสูงมากจนใกล้จะลงโลงแล้ว รู้สึกเหมือนกับว่าผู้กำกับสองคนนี้ต้องการทิ้งคำเตือนไว้ให้ผู้ชมรุ่นหลังๆว่าอย่าลืมความเลวร้ายจากสงคราม ก่อนที่พวกเขาจะจากโลกนี้ไป


D.HOUSE หรือ “บ้านกินคน” (1977, NOBUHIKO OBAYASHI, A+++++)

ที่นึกถึงหนังเรื่องนี้เพราะหนังสองเรื่องนี้มีฉากที่เป็นบ้านญี่ปุ่นแบบโบราณที่มีประตูบานเลื่อนเหมือนกัน โดยให้อารมณ์หลอนๆเล็กน้อยเหมือนกันด้วย นอกจากนี้ HOUSE ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบจากสงครามโลกเช่นกัน แต่นำเสนอออกมาในแนวทางหนังผีตลก


E.THE FLOWER OF EVIL (2003, CLAUDE CHABROL, A+)

หนังสองเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรเหมือนกันเลย แต่มีการใช้มุมกล้องเพื่อสื่อความหมายแบบเชยๆเหมือนกัน รู้สึกว่าผู้กำกับหนังรุ่นใหม่ๆไม่ค่อยสื่อความหมายด้วยวิธีการเชยๆหรือจงใจอย่างชัดเจนแบบนี้อีกแล้ว มีแต่ผู้กำกับหนังรุ่นเก่าเท่านั้นที่ยังคงทำเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ในขณะที่การ “จงใจ” ในหลายๆครั้งเป็นสิ่งที่ไม่ดีในภาพยนตร์ แต่ในกรณีของ WOMEN IN THE MIRROR นั้น การจงใจสื่อความหมายหลายครั้งหลายหน กลับกลายเป็น “เสน่ห์” ของหนังไปโดยปริยาย มันทำให้นึกถึงเสน่ห์ของหนังยุคเก่าๆที่ไม่ค่อยพบในหนังยุคใหม่


2.TREES (2001, SOPHIE BRUNEAU + MARC ANTOINE ROUDIL, A++++++++++)
http://194.2.120.77/ImagesCinefil/AfficheGrandFormat/a34203.jpeg

หนังเรื่องนี้ทำให้ความเห็นของดืฉันที่มีต่อหนังสารคดีวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เพราะก่อนหน้านี้เคยมองว่าหนังสารคดีวิทยาศาสตร์คงจะน่าเบื่อๆ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็รู้สึกตะลึงลานมาก ถ้าหากมีใครบอกว่าหนังเรื่องนี้กำกับโดย ALAIN RESNAIS ดิฉันจะไม่ประหลาดใจเลยแม้แต่นิดเดียว

หนังเรื่องนี้พูดถึง “ต้นไม้” แต่ขณะที่กล้องเคลื่อนเข้าไปถ่ายต้นไม้ในป่า การเคลื่อนไหวของกล้องกลับทำให้นึกถึง “ทางเดิน” ใน LAST YEAR AT MARIENBAD (ALAIN RESNAIS, A+)

หนังเรื่องนี้มีการใช้เสียงบรรยายและมีบางฉากที่ถ่ายภาพต้นไม้ในป่าจากมุมสูงด้วย เหมือนกับถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์ แต่ “น้ำเสียง” ของผู้บรรยาย และภาพที่ปรากฏ กลับให้อารมณ์ราวกับว่าภาพที่เราเห็นไม่ใช่ภาพถ่ายป่าตามความเป็นจริงในหนังสารคดี แต่กลับเป็นภาพที่หลุดออกมาจากความทรงจำที่ฝังลึกในตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นประเด็นที่อยู่ในหนังของ ALAIN RESNAIS)

การใช้ดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้ก็สุดยอดมาก ดูหนังสารคดีวิทยาศาสตร์เหล่านี้แล้ว ทำให้รู้สึกเลยว่า การที่หนังเหล่านี้จะน่าเบื่อหรือสนุก สิ่งที่มีความสำคัญมากๆก็คือ

1.ดนตรีประกอบ เพราะในขณะที่หนัง FICTION ทั่วๆไป สามารถเร้าอารมณ์ผู้ชมได้ง่ายๆด้วย “เนื้อเรื่อง” และ “ตัวละคร” หนังสารคดีวิทยาศาสตร์กลับมี “เนื้อเรื่อง” ที่น่าเบื่อ และไม่มี “ตัวละคร” เพราะฉะนั้นการจะกระตุ้นอารมณ์ผู้ชมในหนังประเภทนี้ จึงต้องพึ่งพาดนตรีประกอบอย่างมากๆ ถ้าหากผู้สร้างหนังสารคดีวิทยาศาสตร์คนใดใช้ดนตรีประกอบเป็น (ซี่งส่วนใหญ่จะใช้ดนตรีที่ออกมาในแนวคลาสสิคๆ) หนังก็จะดูสนุกเร้าอารมณ์ขึ้นมาก

ถ้าจำไม่ผิด มีฉากนึงใน TREES ที่ดิฉันรู้สึกทึ่งมาก รู้สึกว่าฉากนั้นจะพูดถึง
“ต้นไม้บ้า” หรืออะไรทำนองนี้ แต่ดิฉันก็งงว่าต้นไม้ที่ดิฉันได้เห็นในฉากนี้ มันบ้ายังไงหรือ มันก็ดูเป็นต้นไม้สวยๆธรรมดา ไม่ได้พิเศษพิสดารแต่อย่างใด แต่ “ดนตรีประกอบ” และ “การเคลื่อนกล้อง” ในฉากนี้ กลับทำให้รู้สึกว่าภาพที่ได้เห็นมันติดตาน่าทึ่งตะลึงลานมากๆ สรุปว่าดูฉากนี้แล้วไม่แน่ใจว่าต้นไม้มันบ้าหรือมันพิเศษยังไง แต่รู้สึกว่าดนตรีประกอบหนังมัน “บ้า”, ตากล้องถ่ายหนัง “บ้า” และคนตัดต่อหนัง “บ้า” ในแบบที่น่าพึงพอใจมากๆ


2.การตัดต่อ เรียงลำดับเนื้อเรื่อง เพราะหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ มักจะมีเนื้อเรื่องที่อาจน่าเบื่อๆมากๆถ้าหากเอามาเล่าเป็นลำดับเส้นตรง แต่ถ้าหากผู้สร้างหนังสารคดีประเภทนี้รู้จักเรียงลำดับเนื้อเรื่องใหม่ให้ออกมาเหมาะสม หนังก็จะดูสนุกขึ้นมากๆได้ อันนี้รู้สึกได้ชัดกับหนังเรื่อง MONT BLANC – THE THREAT IN THE GLACIER เพราะเนื้อหาในหนังเรื่องนี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เกี่ยวกับภัยธารน้ำแข็งในอดีตที่เคยทำให้คนตายไปมากมาย กับภัยธารน้ำแข็งที่อาจเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้สามารถเล่าเหตุการณ์ในอดีตให้จบก่อน แล้วค่อยเล่าเหตุการณ์ในปัจจุบัน แต่การเล่าเรื่องแบบเรียงตามลำดับเวลาเช่นนี้อาจจะน่าเบื่อ หนังก็เลยเล่าเรื่องเหตุการณ์ในปัจจุบัน และมีการสอดแทรกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตเข้ามาเป็นระยะๆ ซึ่งทำให้หนังดูสนุกขึ้นมาก เหมือนกับว่าพอหนังเริ่มจะน่าเบื่อ หนังก็จะรีบกระโดดกลับไปพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตทันที เพื่อทำให้คนดูสนุกขึ้นมา ก่อนจะกลับมาที่เหตุการณ์ในปัจจุบันอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เสียดายมากๆก็คือว่าดิฉันพลาดดู TREES ช่วงครึ่งแรกค่ะ ไปทันได้ดูแค่ช่วงครึ่งหลังเท่านั้น แต่ก็รู้สึกตะลึงลานกับสิ่งที่ได้เห็นอย่างมากๆ


3.HIS BROTHER (2003, PATRICE CHEREAU, A++++++)

ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้ชอบ PATRICE CHEREAU เพิ่มขึ้นมาก ปกติก็ชอบหนังของเขาอยู่แล้ว แต่หนังของเขาเรื่องอื่นๆมันมีองค์ประกอบที่ดีอยู่แล้ว มีเนื้อเรื่องที่เข้าทางดิฉันอยู่แล้ว ก็เลยทำให้ไม่แน่ใจว่าถ้าหากหนังเรื่องนั้นกำกับโดยผู้กำกับคนอื่นๆ ตัวเองก็อาจจะยังคงชอบหนังเรื่องนั้นอยู่ดีหรือเปล่า

แต่กับ HIS BROTHER นี้ รู้สึกเลยว่าแนวทางของหนังไม่เข้าทางดิฉันมากๆ เพราะดิฉันไม่ค่อยชอบหนังแนวคนป่วยใกล้ตายสักเท่าไหร่ มีหลายเรื่องที่ดูแล้วไม่มีอารมณ์ร่วมเลย แต่ปรากฏว่าถึงแม้เนื้อเรื่องของ HIS BROTHER ไม่เข้าทางดิฉัน ดิฉันกลับชอบหนังเรื่องนี้มากๆ รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอความสัมพันธ์ของตัวละครในแบบที่ตัวเองสามารถมีอารมณ์ร่วมด้วยได้ และไม่พยายามบีบคั้นอารมณ์ในแบบที่ไม่ต้องการเลยแม้แต่นิดเดียว

มีหนังแนวคนป่วยใกล้ตายอีกเรื่องนึงที่ดูแล้วชอบสุดๆเหมือน HIS BROTHER นั่นก็คือ DYING AT A HOSPITAL (1993, JUN ICHIKAWA, A+++++) สงสัยเหมือนกันว่าทำไมตัวเองถึงชอบหนังสองเรื่องนี้สุดๆ แต่ไม่ชอบหนังเรื่องอื่นๆ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าในหนังสองเรื่องนี้ ตัวละครที่ป่วยก็ป่วยหนักไปเรื่อยๆ แต่ตัวละครที่ไม่ใช่ผู้ป่วยกลับแทบไม่ได้แสดงความเสียใจร้องไห้เลยที่คนที่ตัวเองรักกำลังจะตายจากไป ตัวละคร LUC (ERIC CARAVACA) ใน HIS BROTHER อาจจะเสียใจที่ THOMAS (BRUNO TODESCHINI) กำลังจะตายจากไป แต่ LUC ก็แทบไม่ได้ร้องไห้ฟูมฟาย เขาเพียงแค่เฝ้ามองนางพยาบาลมาโกนขนตามร่างกายของ THOMAS เขาเสียใจกับ THOMAS แต่เขาไม่ได้แสดงความเสียใจในแบบที่ดิฉันไม่ชอบดู

DYING AT A HOSPITAL ก็เต็มไปด้วยตัวละครใกล้ตาย แต่ก็แทบจำฉากที่ตัวละครร้องไห้ฟูมฟายไม่ได้เลย พวกเขาอาจเสียใจอย่างรุนแรง แต่กล้องก็มักอยู่ห่างจากใบหน้าของพวกเขาเป็นอย่างมาก และสิ่งที่ดูเหมือนจะฝังในความทรงจำมากที่สุดจากการดูหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่ฉากร้องไห้ของผู้ใกล้ตายและคนที่รักผู้ใกล้ตาย แต่เป็น “แสงอาทิตย์” ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามโมงยามของวันทั้งในและนอกโรงพยาบาลแห่งนี้

ในขณะที่ TREES ทำให้ดิฉันหายกลัวหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ DYING AT A HOSPITAL กับ HIS BROTHER ก็ทำให้ดิฉันหายกลัวหนังแนวผู้ป่วยใกล้ตาย และทำให้รู้ว่ายังมีหนังแนวนี้ที่ตัวเองสามารถชอบอย่างสุดขีดได้เหมือนกัน

อย่าจำหนัง HIS BROTHER สลับกับหนังเรื่อง HER BROTHER (1960, KON ICHIKAWA, B+) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่สาวที่พยายามช่วยเหลือน้องชายที่ป่วยใกล้ตาย จริงๆแล้วดิฉันไม่ค่อยชอบ HER BROTHER เท่าไหร่ แต่ที่ให้ถึง B+ เป็นเพราะว่าน้องชายหล่อถูกใจค่ะ ถ้าหากน้องชายในหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้ไม่หล่อ ดิฉันอาจชอบ HER BROTHER แค่ในระดับ B-

ดูการป่วยตายของตัวละครโดยไม่มีคนรอบข้างมาคร่ำครวญเสียใจในอ DYING AT A HOSPITAL และ HIS BROTHER แล้ว ก็เลยนึกถึงกลอนท่อนหนึ่งที่ชอบที่สุดในชีวิตค่ะ มันเป็นกลอนของ ALEXANDER POPE (1688-1744) ที่มีชื่อว่า SOLITUDE
http://www.poetryconnection.net/poets/Alexander_Pope/4418

ชอบท่อนสุดท้ายของกลอนนี้มากๆ เพราะท่อนสุดท้ายของกลอนนี้แสดงความปรารถนาของคนๆหนึ่ง ซึ่งเป็นความปรารถนาในแบบที่ใกล้เคียงกับของดิฉันมากๆค่ะ

Thus let me live, unseen, unknown;Thus unlamented let me die;Steal from the world, and not a stoneTell where I lie.

(ได้โปรดให้ฉันได้มีชีวิตอยู่ โดยไม่มีใครเลยที่จะได้พบเห็นฉัน ไม่มีใครเลยที่จะได้รู้จักฉัน

ได้โปรดให้ฉันได้ตายไป โดยไม่มีใครเลยแม้แต่คนเดียวที่เศร้าโศกเสียใจกับการตายของฉัน

ได้โปรดให้ฉันค่อยๆจากโลกนี้ไป โดยไม่มีหินแม้แต่เพียงก้อนเดียว

ปักลงบนหลุมฝังศพของฉัน)


4. THE LAST DAYS OF ZEUGMA (2000, THIERRY RAGOBERT, A+)

หนังสารคดีวิทยาศาสตร์อีกเรื่องที่ใช้ดนตรีประกอบได้สุดยอดมากคือ THE LAST DAYS OF ZEUGMA เพราะดนตรีประกอบสามารถทำให้หนังเกี่ยวกับการขุดค้นทางโบราณคดีเรื่องนี้กลายเป็นหนังที่ให้อารมณ์ซาบซึ้งจนอยากร้องไห้ออกมา

ในหนังเรื่องนี้ มีฉากที่นักโบราณคดีค้นพบภาพปริศนานางพาซิฟาอีที่ร่วมรักกับวัวหนุ่มฝังอยู่ในพื้นดิน ซึ่งจริงๆแล้วฉากนี้อาจเป็นฉากที่ไม่ให้อารมณ์ใดๆทั้งสิ้นกับผู้ชม แต่ดนตรีประกอบกลับทำให้ฉากนี้ทรงพลังสุดขีดราวกับฉากไคลแมกซ์ในหนังทั่วไป

อ่านตำนานของนางพาซิฟาอีได้ที่
http://www.loggia.com/myth/pasiphae.html

ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงนิตยสารต่วยตูนพิเศษ

อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือในขณะที่หนังเรื่องนี้พยายามเจาะลึกเข้าสู่ความรุ่งเรืองของอารยธรรมในอดีต และผู้ชมจะค่อยๆเห็นภาพจำลองของอาคารโบราณปรากฏขึ้นมา หนังเรื่องนี้ก็นำเสนอสถานการณ์ในปัจจุบันที่กำลังเคลื่อนตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามด้วย เพราะในบริเวณที่กำลังมีการขุดค้นทางโบราณคดีอยู่นั้น กำลังจะมีการสร้างเขื่อน และชาวบ้านละแวกนั้นก็ถูกไล่ที่ทำกินและถูกบังคับให้ทิ้งถิ่นฐานของตัวเอง พวกเขาค่อยๆทำลายอาคารบ้านเรือนของตัวเองเพื่อเอาเศษสิ่งก่อสร้างติดตัวไปยังภูมิลำเนาใหม่ เพราะฉะนั้นในขณะที่ผู้ชมค่อยๆเห็นภาพอาคารเมื่อหลายพันปีก่อนปรากฏชัดขึ้นมาต่อสายตา ผู้ชมก็จะค่อยๆเห็นภาพอาคารบ้านเรือนยุคปัจจุบันถูกทุบทิ้งพังทำลายลงด้วยเช่นกัน มันเป็นภาพที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง และมันเป็นภาพที่ให้อารมณ์เศร้าในแบบที่แปลกมาก


5.,MONT BLANC – THE THREAT IN THE GLACIER (2004, LIESL CLARK, A+)

หนังเรื่องนี้เป็นหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ที่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา แต่ดูแล้วดิฉันกลับรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สนุกน่าติดตามเสียยิ่งกว่าหนังปีนเขาผจญภัยหลายเรื่องเสียอีก ซึ่งรวมถึงสนุกกว่าหนังอย่าง TOUCHING THE VOID (2003, KEVIN MACDONALD, B+), CLIFFHANGER (1993, RENNY HARLIN) และ INTO THIN AIR: DEATH ON EVEREST (1997, ROBERT MARKOWITZ) ด้วย

หนังเรื่องนี้เล่าถึงโศกนาฏกรรมที่เคยคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมากแถบเทือกเขาแอลพ์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าสลดใจมาก ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้เปลี่ยนความคิดฝันที่เคยมีในตอนเด็กไปอย่างสิ้นเชิง ตอนเด็กๆเวลาดูหนังอย่าง THE SOUND OF MUSIC และ “จงรัก” (1988, ม.จ.ทิพยฉัตร ฉัตรชัย) ก็มักจะทำให้ใฝ่ฝันอยากไปใช้ชีวิตอยู่ใกล้ภูเขาสวยๆแบบในหนังบ้าง จะได้ทำวิ่งเริงร่ากลางทุ่งดอกไม้สวยๆแบบมาช่าใน “จงรัก” หรือไม่ก็ฝันอยากไปใช้ชีวิตอยู่ใกล้ทะเล

แต่พอโตขึ้น ได้พบกับเหตุการณ์สึนามิ และได้เห็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากภูเขาแบบในหนังสารคดีเรื่องนี้แล้ว ก็ทำให้รู้สึกว่าการอยู่ใกล้ทะเลสวยๆหรือภูเขาสวยๆย่อมมีความซวยเป็นของแถมมาด้วยเหมือนกัน

หนังสารคดีเรื่องนี้พาผู้ชมไปดูซากโบสถ์ที่หลงเหลือมาจากเหตุการณ์ธารน้ำแข็งถล่มเมื่อกว่า 100 ปีก่อน เห็นภาพโบสถ์ร้างในหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกสลดและเศร้าใจมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้นึกไปถึงโบสถ์ร้างอาถรรพ์ในหนังเยอรมันเรื่อง THE CURSE (DER FLUCH) (1988, RALF HUETTNER, A) ด้วยเช่นกัน THE CURSE ก็เป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ไม่อยากไปอยู่ใกล้ภูเขาสวยๆ เพราะภูเขานั้นอาจจะเต็มไปด้วยอาถรรพ์ลี้ลับชั่วร้าย

เนื้อหาอีกส่วนใน MONT BLANC พูดถึงความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันในการศึกษาภัยพิบัติที่อาจเกิดจากธารน้ำแข็ง ดูแล้วก็ทึ่งทีมงานถ่ายทำหนังสารคดีเรื่องนี้มาก ไม่รู้ไปถ่ายทำในสถานที่ยากๆหลายๆสถานที่ได้ยังไง โดยเฉพาะในฉากโพรงน้ำที่ซ่อนอยู่ในภูเขาหิมะ รู้สึกว่าทีมงานหนังสารคดีเรื่องนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมากพอๆกับนักวิทยาศาสตร์ และต้องมีความกล้าตายเป็นอย่างมากในการติดตามบันทึกภาพเหล่านี้มาให้ผู้ชมได้ชมกัน

ฉากหนึ่งที่สวยมากๆในเรื่องนี้คือฉากธารน้ำบนภูเขา เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้ใส่สีลงไปในธารน้ำเพื่อจะได้ศึกษาการไหลของน้ำบนภูเขา เพราะฉะนั้นธารน้ำนี้ก็เลยกลายเป็นธารน้ำที่มีสีสันบาดทรวงมากๆ

ขณะไปดูหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ในเทศกาลนี้ ก็จะเจอกับแบบสอบถามที่มีคำถามอย่างเช่น “การดูภาพยนตร์ในเทศกาลนี้ทำให้คุณรู้สึกอยากสร้างภาพยนตร์วิทยาศาสตร์บ้างหรือไม่” เพราะจุดประสงค์หนึ่งในเทศกาลนี้ก็คือการกระตุ้นให้ชาวไทยหันมาสร้างภาพยนตร์สารคดีวิทยาศาสตร์กันเยอะๆ แต่เนื่องจากดิฉันไม่ใช่ทั้งนักสร้างภาพยนตร์และนักวิทยาศาสตร์ การดูภาพยนตร์ในเทศกาลนี้จึงไม่ได้ให้แรงบันดาลใจดังกล่าวแก่ดิฉันเลย แต่กลับให้แรงบันดาลใจในการหาสามีเป็นนักวิทยาศาสตร์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์ที่มาไต่เขาใน MONT BLANC (โฮะๆๆๆๆๆ)


6. RADIATION FOR LIFE (1991, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, B+)

ได้มีโอกาสดูหนังสารคดีไทยเพียงแค่เรื่องเดียวในเทศกาลนี้ ซึ่งเป็นหนังสารคดีที่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา และอาจจะไม่มีอะไรน่าสนใจในแง่ศิลปะ แต่ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ดูเพลินดี และไม่น่าเบื่อมากนัก

สิ่งที่ชอบใน RADIATION FOR LIFE

6.1 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้สร้างหนังคงไม่ได้ตั้งใจ แต่หนังเรื่องนี้ได้บันทึกภาพแฟชั่นหญิงไทยในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เอาไว้โดยบังเอิญ ดูแล้วก็นึกถึงอดีตมากๆ รู้สึกว่าสาวออฟฟิศยุคนั้นจะชอบใส่เสื้อเสริมไหล่ แต่ภาพเครื่องแต่งตัวแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้เห็นมานานหลายปีมากๆแล้ว จนกระทั่งได้มาเห็นอีกทีในหนังสารคดีเรื่องนี้

6.2 ดูหนังเรื่องนี้แบบไม่ได้ตั้งใจดูมากนัก ไม่ค่อยแน่ใจว่าจุดประสงค์ในการสร้างหนังเรื่องนี้คืออะไร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับรังสี หรือว่าเพื่อให้คนไทยเลิกกลัวรังสี บางทีหนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อได้ใหม่ว่า HOW I LEARN TO STOP WORRYING AND LOVE THE RADIATION แล้วก็เลยจินตนาการเล่นๆต่อไปว่า บางทีในอนาคตอาจจะมีคนคิดสร้างหนังแนวโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้คนไทยเลิกกลัวกัมมันตภาพรังสีก็ได้ จะได้มีการตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในไทยได้ในอนาคต โดยไม่มีคนต่อต้านมากนัก

No comments: