Sunday, December 18, 2005

IF TOMORROW COMES (1986, A+)

ตอบคุณเจ้าชายน้อย

---โฮะ โฮะ โฮะ ชอบ SHATTERED IMAGE (A+) มากๆเลยค่ะ แต่จำฉาก AQUARIUM ไม่ได้แล้ว จำได้แต่ฉากที่มีปูเกาะเต็มฝาผนัง

--ใน SHADOWS รู้สึกชอบน้องชายของนางเอกมาก แต่จำไม่ได้ว่าตัวละครตัวนี้ชื่อว่าอะไร ก็เลยไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่านักแสดงที่เล่นเป็นน้องชายนางเอกมีชื่อว่าอะไร

ชายหนุ่มคนนี้เป็นคนผิวดำที่ดูเหมือนคนขาวอย่างมากๆ เห็นแล้วนึกถึงตัวละครที่แสดงโดย WENTWORTH MILLER ใน THE HUMAN STAIN (2003, ROBERT BENTON, A+) ซึ่งเป็นคนผิวดำที่สามารถปลอมตัวเป็นคนขาวได้อย่างสบาย

นักวิจารณ์หลายคนชอบนำ SHADOWS ไปเปรียบเทียบกับ BREATHLESS (1959, JEAN-LUC GODARD, A-) เพราะว่าหนังสองเรื่องนี้ออกมาปีเดียวกัน, เป็นหนังที่แหวกแนวหนังในยุคนั้นๆ, มีอะไรบางอย่างสอดคล้องกัน และเป็นหนังที่ออกมาในช่วงที่เป็นจุดกำเนิดของหนังแนวทางใหม่ๆพอดี โดย SHADOWS ออกมาในยุคเริ่มต้นของ NEW AMERICAN CINEMA ในขณะที่ BREATHLESS ออกมาในยุคเริ่มต้นของ FRENCH NEW WAVE

นักวิจารณ์ยังบอกว่า SHADOWS มีอิทธิพลอย่างสูงต่อ MEAN STREETS ของ MARTIN SCORSESE และหนังอเมริกันอีกมากมายหลายเรื่องในยุคต่อมา

ใน SHADOWS จะมีฉากงานปาร์ตี้ที่คนที่มีความรู้มาสังสันทน์กัน ดูฉากนี้แล้วก็นึกถึงหนังบางเรื่องในทศวรรษ 1950 ที่ชอบมีงานปาร์ตี้ประเภทนี้ อย่างเช่นในเรื่อง ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, DOUGLAS SIRK, A+) ที่มีฉากเพื่อนๆพระเอกมาสังสันทน์กันและพูดคุยกันอย่างคนมีความรู้ และหนังเรื่อง FUNNY FACE (1957, STANLEY DONEN, A-) ที่มีฉากคลับของปัญญาชนในปารีส

ชื่อที่มักได้ยินคนพูดถึงในงานปาร์ตี้เหล่านี้มีตั้งแต่ HENRY DAVID THOREAU ผู้ประพันธ์หนังสือ WALDEN ไปจนถึงชื่อของ JEAN-PAUL SATRE ซึ่งคงเป็นนักปรัชญาที่กำลังมาแรงในทศวรรษ 1950 นอกจากนี้ ทศวรรษ 1950 ยังเป็นทศวรรษที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนักประพันธ์กลุ่ม BEAT อย่าง JACK KEROUAC (1922-1969) ด้วย ก่อนที่ทศวรรษ 1960 จะถูกครอบงำด้วยสงครามเวียดนามและฮิปปี้ พอพูดถึงฉากงานชุมนุมในทศวรรษ 1960 ก็มักจะนึกถึงฉากเปิดของหนังเรื่อง ZABRISKIE POINT (1970, MICHELANGELO ANTONIONI, A+) บรรยากาศของงานปาร์ตี้ในทศวรรษ 1950 ที่ดูสวยงามและเน้นการพูดคุยกันทางปรัชญาได้เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นงานชุมนุมของคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างรุนแรงแทนในช่วงทศวรรษ 1960

--รู้สึกว่าฟิลิปปินส์เคยมีผู้กำกับดังๆหลายคนในทศวรรษ 1980 แต่ดิฉันก็ไม่ค่อยได้ดูหนังของประเทศนี้มากเท่าไหร่ ผู้กำกับดังๆก็เช่น

1.LINO BROCKA เคยดูหนังของคนนี้สองเรื่อง หนังของเขามี LOOK ที่ดูเหมือนหนังไทยยุคเก่าอย่างมากๆๆ

2.ISHMAEL BERNAL

3.KIDLAT TAHIMIK
http://home.arcor.de/be/bethge/kidlat.htm
http://www.imdb.com/name/nm0846684/

4.RAYMOND RED
http://www.imdb.com/name/nm0714605/
http://www.geocities.com/Hollywood/Interview/8544/filmmakers/raymondred/raymondred.html

5.MIKE DE LEON
http://www.imdb.com/name/nm0209672/
http://www.kabayancentral.com/video/mdeleon.html


--รู้สึกว่าปีนี้หนังมาเลเซียมาแรงมาก เพราะได้ยินชื่อผู้กำกับหนังมาเลเซียบ่อยมากๆในปีนี้ ซึ่งรวมถึงชื่อของ

1.HO YUHANG

2.JAMES LEE ผู้กำกับ THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (B+)

3.TAN CHUI MUI

4.AMIR MUHAMMAD
http://www.imdb.com/name/nm0611243/


--ดู A VERY LONG ENGAGEMENT แล้วทำให้ชอบ MARION COTILLARD (โสเภณีนักฆ่า) มากๆเลยค่ะ หลังจากที่ไม่ชอบหน้าเธอเท่าไหร่ใน LOVE ME IF YOU DARE

MARION COTILLARD เล่นหนังใหม่หลายเรื่องที่น่าดูมาก อย่างเช่น

1.INNOCENCE (2004, LUCILE HADZIHALILOVIC)
http://www.imdb.com/title/tt0375233/

2.MARY (2005, ABEL FERRARA)

3.LA VIE EN ROSE (2006, OLIVIER DAHAN) เธอได้เล่นเป็น EDITH PIAF ในเรื่องนี้ ส่วน OLIVIER DAHAN เคยกำกับหนังเรื่อง THE PROMISED LIFE (2002) ที่นำแสดงโดย ISABELLE HUPPERT และกำกับ THE CRIMSON RIVERS 2: ANGELS OF THE APOCALYPSE (2004, B) (รู้สึกชักไม่แน่ใจในฝีมือของผู้กำกับคนนี้)

--อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากใน A VERY LONG ENGAGEMENT ก็คือการปรากฏตัวของ ELINA LOWENSOHN (นางเอก SOMBRE) เธอมีบทแค่ 3 นาที แต่ใบหน้าชองเธอตอนลบกระดานดำแล้วหันมามองหน้านางเอกเป็นใบหน้าที่ฝังใจดิฉันอย่างรุนแรงมาก

--ดู THE MAID แล้วนึกถึงข่าวที่ได้ยินบ่อยๆในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นั่นก็คือข่าวสาวใช้ชาวฟิลิปปินส์ถูกนายจ้างทำร้ายร่างกาย

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ยากจน เพราะฉะนั้นชาวฟิลิปปินส์หลายคนเลยต้องไปขายแรงงานในต่างประเทศ แม้แต่ในหนังฮ่องกงอย่าง CROSS HARBOUR TUNNEL (1999, LAWRENCE WONG, A+) ก็มีตัวละครชาวฟิลิปปินส์ที่มาขายแรงงานในฮ่องกงเช่นกัน

ในหนังเรื่อง THE ADVENTURES OF PRISCILLA, QUEEN OF THE DESERT (1994, STEPHAN ELLIOT, A+) ก็มีตัวละครหญิงชาวฟิลิปปินส์ที่แต่งงานไปอยู่ออสเตรเลีย ผู้ชมคงจำความสามารถของเธอในการเล่นกับลูกปิงปองในหนังเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

ในหนังเรื่อง 9 SOULS (2003, TOSHIAKI TOYODA, A-) ก็มีตัวละครเป็นหญิงฟิลิปปินส์ที่ไปแต่งงานกับชายญี่ปุ่นเช่นกัน รู้สึกว่าทั้ง PRISCILLA และ 9 SOULS ต่างก็นำเสนอตัวละครหญิงฟิลิปปินส์ในเชิงไม่ดีนัก

นอกจากหญิงฟิลิปปินส์หลายคนจะไปทำงานเป็นสาวใช้ต่างประเทศแล้ว หญิงฟิลิปปินส์หลายคนก็ต้องการจะแต่งงานกับชายต่างชาติเช่นกัน (เหมือนดิฉันเลยค่ะ โฮะๆๆๆๆ ต้องแข่งกันซะหน่อยแล้ว)

--รู้สึกว่า “ลองของ” เป็นหนังที่นำเสนอ “ไสยศาสตร์” ได้อย่างทรงพลังในความเป็นไสยศาสตร์จริงๆ

ชอบตัวละครของ “มะหมี่” มากๆ ตอนแรกๆนึกว่าเธอเป็นคนเลว แต่พอดูจนจบเรื่องแล้วรู้สึกว่าเธอคือฝ่ายที่ถูกกระทำต่างหาก สิ่งที่เธอทำเป็นเพียงการแก้แค้นเท่านั้น เธอมีความผิดอย่างเห็นได้ชัดก็เพียงเรื่องที่เธอไม่ยุติธรรมกับลูกเลี้ยง (ทำไมเธอถึงไม่คิดจะทำแบบ GLORIA GRAHAME บ้างนะ)

ชอบฉากการแอบในตู้เย็นในช่วงต้นเรื่องด้วย

รู้สึกว่า “ไสยศาสตร์” เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากๆ แต่พอเจอหนังอย่าง “คนเล่นของ” (2004, ธนิตย์ จิตนุกูล, C+) , “ฮวงจุ้ย” (C-), “แก้วขนเหล็ก” (C-) และ “อาถรรพ์แก้บนผี” (2004, มนตรี คงอิ่ม, B-) เข้าไป ก็รู้สึกผิดหวังมากๆ ไสยาศาสตร์ในหนังพวกนี้ดูกิ๊กก๊อกมากเลย จนกระทั่งได้มาเจอเรื่อง “จอมขมังเวทย์” (2005, ปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์, A) ถึงได้รู้สึกว่า หนังไทยก็สามารถถ่ายทอดไสยาศาสตร์ออกมาได้อย่างทรงพลังเหมือนกัน และพลังของมันก็มาระเบิดสุดๆใน “ลองของ” (ส่วนในกรณีของ “จอมขมังเวทย์” นั้น สิ่งที่น่าประทับใจในหนังอาจจะเป็นประเด็นเรื่อง “ตำรวจ” มากกว่าไสยาศาสตร์)
--พูดถึงเรื่องไสยาศาสตร์ ก็นึกขึ้นมาได้ว่าได้ดูหนังสารคดีอินโดนีเซียเรื่อง RASINAH: THE ENCHANTED MASK (2004, RHODA GRAUER, A+) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการร่ายรำสวมหน้ากากในงานพิธีสำคัญๆ โดยช่วงต้นของหนังเรื่องนี้ มีคำบรรยายขึ้นมาในทำนองที่ว่า “ผู้สร้างหนังเรื่องนี้พบว่ามีอาถรรพ์บางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถสร้างหนังเรื่องนี้ให้เสร็จได้ ดังนั้นจึงได้มีการทำพิธีบวงสรวงเพื่อให้การถ่ายทำลุล่วงไปได้ด้วยดี” (จำคำบรรยายที่แน่นอนไม่ได้ ถ้าจำผิดก็ต้องขออภัยด้วย)

การร่ายรำในหนังอินโดนีเซียเรื่องนี้ดูขลังพอสมควร

--หนังสารคดีเรื่อง MAKYONG – PAGEANT OF THE ANCIENTS (B+) ที่เพิ่งได้ดูมาที่ภัทราวดีเธียเตอร์ ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีกรรมอะไรสักอย่างในมาเลเซีย โดยในพิธีกรรมนี้ ผู้หญิงบางคนที่มาร่วมงานพิธีจะมีอาการเหมือนผีเข้า พวกเธอมีอาการคล้ายๆนางเอกหนังเรื่อง EXILS (2004, TONY GATLIF, A+) เป็นอย่างมาก ก็เลยรู้สึกประหลาดใจว่า พิธีกรรมในมาเลเซีย, ในแอฟริกาเหนือ และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีส่วนเหมือนกันจนน่าประหลาดใจ เหมือนกับว่าเป็นพิธีกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ระบายออก

--รู้สึกว่าปีนี้มีหนังสยองขวัญที่นำเสนออารมณ์ทุกข์ทรมานของผู้หญิงได้อย่างน่าประทับใจมากๆอย่างน้อย 7 เรื่องด้วยกัน ซึ่งได้แก่

1.DARK WATER (A+)

2.”เกือกผี” (2005, KIM YONG-GYUN, A+++++)

3.THE DESCENT (2005, NEIL MARSHALL, A+)

4.THE MAID

5.SLIM TILL DEAD (2005, MARCO MAK CHI-SIN, A)
ความรักสวยรักงามของผู้หญิงนำไปสู่ความสยองขวัญ หนังฮ่องกงเรื่องนี้มีฉากล้อเลียน DUMPLINGS (2004, FRUIT CHAN, A) ด้วย เพราะ DUMPLINGS ก็นำเสนอเรื่องแบบนี้เหมือนกัน

6.BUNSHINSABA (2004, AHN BYEONG-KI, A)
ฉากที่นางเอกบังคับให้เพื่อนผู้หญิงจุดไฟคลอกหัวตัวเองกลางโรงเรียน ถือเป็นหนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้ หนังเรื่องนี้เปี่ยมไปด้วยแรงเคียดแค้นที่ดิฉันชอบมากๆ อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่ชอบหนังเรื่อง NIGHTMARE (C ) ของผู้กำกับคนเดียวกัน

7.WISHING STAIRS (2003, YUN JAE-YEON, A-)


--A SNAKE OF JUNE (A+) เป็นหนึ่งในหนังที่นำเสนอ “ผู้หญิงในชีวิตสมรส” ได้อย่างถูกใจตัวเองมากที่สุดในปีนี้ โดยหนังในกลุ่มนี้รวมถึง

1.3-IRON (A)
2.5x2 (2004, FRANCOIS OZON, A+)
3.GILLES’ WIFE (2004, FREDERIC FONTEYNE, A+)
4.TO TAKE A WIFE (2004, RONIT ELKABETZ + SHLOMI ELKABETZ, A+)
5.THE SYRIAN BRIDE (2004, ERAN RIKLIS, A+)
6.YASMIN (2004, KENNETH GLENAAN, A)


หนังและวิดีโอที่ได้ดูในวันนี้

1.SHOCK CORRIDOR (1963, SAMUEL FULLER, A+)
2.SCROOGE (1970, RONALD NEAME, A-)

SCROOGE ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ CHARLES DICKENS และมีตัวละครหลักชื่อ EBENEZER

พอเห็นชื่อตัวละครตัวนี้ แล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าเคยมีเพลงที่ชอบมากๆเพลงนึงชื่อ EBENEZER GOODE (1993, A+) ของวง THE SHAMEN แต่จำได้ว่ารายการโทรทัศน์แทบไม่เคยเปิดมิวสิควิดีโอเพลงนี้เลย เปิดให้เห็นแค่แป๊บเดียวเวลารายงานว่าเพลงนี้ขึ้นถึงอันดับ 1 ในอังกฤษ ทั้งๆที่โดยปกติแล้วเพลงที่ขึ้นถึงอันดับ 1 จะต้องได้รับการเปิดมิวสิควิดีโอเต็มๆเพลง

วันนี้ลองมาค้นประวัติดู ก็เลยพบว่าเพลงนี้ถูกแบน เพราะมีคนกล่าวหาว่าเนื้อเพลงนี้ร้องว่า “ยาอีเป็นสิ่งที่ดี”

http://www.bbc.co.uk/totp2/features/top5/drug_songs.shtml
The refrain of the song goes "eezer Goode, eezer Goode, he's Ebeneezer Goode". Do you get it? E's are good, you see.



ตอบคุณ SENSITIVEMAN

ถ้าพูดถึงหนังเกี่ยวกับการแก้แค้นแล้ว ชอบวิธีการแก้แค้นของ SALLY FIELD ใน EYE FOR AN EYE (1996, JOHN SCHLESINGER, B) ด้วยเหมือนกัน เพราะเธอดูใจเย็นและมีสติดี แต่เนื่องจากมันอาจจะเป็นการแก้แค้นแบบ “มีสติ” มากไปหน่อย หนังก็เลยไม่สนุก ในขณะที่ KILL BILL (A) ดูสนุกดุเดือดเลือดพล่านมาก แต่ถ้าหากตัวเองต้องแก้แค้น ก็ไม่อยากแก้แค้นแบบเจ็บตัวอย่างนี้

การแก้แค้นที่ชอบสุดๆอีกอันหนึ่ง ก็คือการแก้แค้นของนางเอกในมินิซีรีส์เรื่อง IF TOMORROW COMES (1986, JERRY LONDON, A+) ที่สร้างจากนิยายของซิดนีย์ เชลดอน เพราะนางเอกหนังเรื่องนี้ต้องตามแก้แค้น “ผู้มีอำนาจ” หลายๆคน แต่เธอเน้นใช้ “หัวสมอง” ในการแก้แค้น ไม่ต้องใช้กำลัง เธอแค่ใช้วิธี “ส่งจดหมายลวง” หรือ “โทรศัพท์ลวง” ไปบอกว่าคนนี้เม้มเงินคนนั้น คนนั้นเป็นสายให้คนโน้น เธอแค่โทรศัพท์ไปยุยง แค่นี้ศัตรูที่เป็นผู้มีอำนาจของเธอก็ถูกกำจัดไปแล้วหลายคน เป็นอะไรที่น่าทึ่งมากๆ
http://www.imdb.com/title/tt0090455/

อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่ชอบมากๆในละครเรื่องนี้ก็คือละครเรื่องนี้ไม่ได้มีประเด็นเพียงแค่นางเอกตามแก้แค้นผู้มีอำนาจเท่านั้น เพราะละครเรื่องนี้ยังมี “ฆาตกรโรคจิต” ที่คอยตามฆ่านางเอกโดยไม่มีสาเหตุด้วย ความเข้มข้นสนุกสนานตื่นเต้นในละครเรื่องนี้ก็เลยอยู่ในระดับสูงมาก

--คุณ SENSITIVEMAN เป็นคนที่ใจดีมากจริงๆค่ะ

--ดูการแสดงบอลของซูโคว่าแล้วรู้สึกว่าการแสดงบอลเป็นอะไรที่ยากมากๆ เพราะการบังคับลูกกลมๆน่าจะบังคับได้ยากกว่าอุปกรณ์อื่นๆ และไม่เปิดโอกาสให้มีลีลาพิสดารได้มากนัก

ชอบเพลงประกอบการแสดงของซูโคว่ามากๆ มันเหมือนเพลงประกอบหนังฝรั่งหรือละครทีวีในทศวรรษ 1970 ฟังแล้วนึกถึงอดีตอย่างรุนแรง

(พูดถึงอารมณ์ถวิลหาอดีต ก็จำได้ว่าเพิ่งมีนักเขียนคนนึงในกรุงเทพธุรกิจ เสาร์สวัสดีเขียนในทำนองที่ว่า ตอนนี้คนมีอารมณ์ถวิลหาอดีตกันมาก และในอีกไม่นานเราจะได้เห็นเด็กอายุ 8-9 ขวบพากันนั่งคร่ำครวญที่ชีวิตตัวเองในปัจจุบันนี้ไม่เหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน)

ส่วนการแสดง RIBBON ของรัสเซียนั้น ชอบท่านึงที่มีการขึงริบบิ้นไว้ที่ระดับสูง ตอนแรกนึกว่าผู้เล่นจะกระโดดข้ามริบบิ้นอันนั้นแบบเล่นโดดยางอีสุดมือเสียอีก

ส่วนในลิงค์ที่คุณ SENSITIVEMAN ให้มานั้น ลองเข้าไปดูแล้วสองอัน อันนึงเป็นการแสดง FREE HANDS ของ GERWIK จากเยอรมนี รู้สึกทึ่งกับรูปร่างของเธอมากๆ ส่วนอีกอันนึงเป็นการแสดงโชว์ของอาร์เซอร์ไบจัน ที่เอาผ้ายาวๆมาใช้ในการแสดงโชว์ รู้สึกว่าไม่ค่อยน่าตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่

ในอนาคตอยากให้มียิมนาสติกลีลาใหม่ที่ี่เพิ่มระดับความยากขึ้นมาอีกขั้นนึง นั่นก็คือผู้แสดงต้องเตรียมท่าเอาไว้หลายๆท่า แต่เลือกเพลงเองไม่ได้ ต้องออกไปยืนกลางฟลอร์และคิดท่าสดๆให้เข้ากับเพลงที่เปิดขึ้นมาอย่างกะทันหัน บางคนอาจจะได้เพลงหมอลำ บางคนอาจจะได้เพลงมองโกเลีย และบางคนอาจจะได้เพลงของวง THE FUTURE SOUND OF LONDON พวกเธอต้องพยายามแสดงลีลาให้เข้ากับจังหวะเพลงให้ได้


ตอบคุณอ้วน

ฉลามหนุ่มที่อยากให้มาแหวกว่ายในสยามพารากอน
http://www.racegirl.nl/PourLaFemme/MaleModels/Images/swimgroup.jpg

สำหรับการบอกคนอื่นๆไปตรงๆว่าไม่พอใจนั้น บางทีก็ทำบ้างเหมือนกันถ้าหากคนนั้นอยู่ในสถานะต่ำกว่าตัวเอง ฮ่า ฮ่า ฮ่า เวลาที่คนกลุ่มนี้ทำอะไรไม่ถูกใจ ก็จะบอกไปตรงๆเลย

แต่มีบางกรณีที่คนนั้นอยู่ในสถานะเท่ากับตัวเอง แต่มีสมัครพรรคพวกเยอะ เราเป็นคนหัวเดียวกระเทียมลีบ ก็ไม่กล้าบอกไปตรงๆเหมือนกัน เพราะไม่ว่าเราจะบอกหรือไม่บอก เราก็ถูกคนกลุ่มนั้นรุมเกลียดชังเราอยู่แล้ว และถ้าหากผลประโยชน์และสวัสดิภาพในชีวิตของเรายังคงต้องเกี่ยวพันกับคนกลุ่มนั้น ก็เลยทำให้ไม่กล้าบอก รู้สึกว่า “ความรักที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป” มันคือเหตุแห่งทุกข์จริงๆ ถ้าหากตัวเองไม่กลัวตาย ก็คงกล้าปะทะกับพวกมันไปแล้ว

แต่ก็มีบางกรณีเหมือนกันที่บอกความไม่พอใจออกไป หลังจากอึดอัดคับข้องใจมานาน 2 ปี ผลก็คือเสียเพื่อนไปทั้งกลุ่มเลย แต่ก็รู้สีกมีความสุขดี รู้สึกเหมือนได้ตัดเนื้อร้ายออกไปจากจิตใจ เราอาจจะไม่มีวันได้มีความสุขแบบ “สนุก” กับเพื่อนๆกลุ่มนั้นอีก เราอาจจะต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง แต่เราก็ได้รับ “ความสงบทางใจ” เป็นของตอบแทน (เพื่อนๆกลุ่มนี้ไม่มีอำนาจเหนือสวัสดิภาพในชีวิตของดิฉัน ดิฉันก็เลยกล้าบอกออกไป)

แต่สำหรับคนที่อยู่ในสถานะสูงกว่าตัวเองนั้น ดิฉันมักจะไม่ค่อยกล้าบอกตรงๆสักเท่าไหร่

--เข้าไปอ่านเว็บธรรมะของคุณอ้วนแล้ว รู้สึกประทับใจกับเรื่องราวของ “โมหะ”มากๆ มันเป็นเรื่องของคนที่โง่มากๆราวกับอยู่ในละครแนว ABSURD

--ดูสถาปัตยกรรมในกรุงปักกิ่งแล้วน่าสนใจดี ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าเคยดูหนังเรื่อง VACANCY (MATHIAS MUELLER, A+) ที่นำเสนอภาพของกรุงบราซิเลีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของบราซิล หนังเรื่องนี้ทำให้ประทับใจกับบราซิเลียเหมือนกัน
http://www.greatestcities.com/1013pic/874/CP874.jpg/Com_as_estatuas,_Brasilia.JPG

ตึกอีกอันนึงที่ดูสวยดี รู้สึกว่าจะเรียกกันว่าตึกลิปสติกในสหรัฐ
http://www.archpaper.com/images/feature_03_05/pjohnson10.jpg


ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND

ดีใจมากค่ะที่ชอบ I’VE BEEN WAITING SO LONG กับ SOMERSAULT เพราะชอบหนังสองเรื่องนี้มากๆเหมือนกัน

SAM WORTHINGTON น่ารักสุดๆ

เข้าไปดูเว็บไซท์ของ 29 TH AND GAY แล้ว หนังดูน่ารักมากๆ ชอบที่พระเอกแต่งตัวเป็นกระต่าย
http://www.outtakesdallas.org/filmstills/327/JamesBunny.jpg

เคยดูหนังอินดี้ของสหรัฐเรื่องนึงชื่อ BUNNY (2000, MIA TRACHINGER, A++++) พระเอกในหนังเรื่องนี้ก็ต้องแต่งตัวเป็นกระต่ายเหมือนกัน
http://www.bunnyfilm.com/intro.html
http://www.indiewire.com/biz/photos/biz_030410madstone.jpg

หนังเรื่อง BUNNY เป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในชีวิต ดูจบแล้วไม่ได้ร้องไห้อย่างรุนแรงในทันที แต่หลังจากนั้น 2 เดือน อยู่ดีๆก็ตื่นขึ้นมาตอนตี 2 แล้วก็ร้องไห้อย่างรุนแรงเป็นเวลานานมากให้กับหนังเรื่องนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมหนังเรื่องนี้ถึงส่งผลกระทบทางจิตแบบนี้

BUNNY มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงผู้ชายต่างชาติที่อพยพเข้ามาหางานทำในสหรัฐ พระเอกกับนางเอกได้งานทำ แต่เป็นงานที่แปลกมาก เพราะพวกเขาต้องแต่งตัวเป็นกระต่ายไปอยู่ตามมุมถนน และให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาสามารถเข้ามาร้องไห้ใส่พวกเขา แต่ “กระต่าย” ไม่สามารถพูดคุยหรือแสดงอาการตอบรับต่อคนเหล่านี้ได้เลย พวกเขาต้องนั่งเฉยๆเท่านั้น ไม่สามารถปลอบโยนคนที่มาร้องไห้ได้

ตลอดหนังเรื่องนี้ มีตัวละครที่มาร้องไห้กับกระต่ายเยอะมาก โดยหนังไม่บอกที่มาที่ไปเลยแม้แต่นิดเดียวว่าตัวละครเหล่านั้นร้องไห้เพราะอะไร

แต่ในที่สุด พอถึงตอนจบของหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็รู้สึก “เข้าใจ” ตัวละครเหล่านั้นขึ้นมาในทันที แต่ไม่ใช่การเข้าใจ “เหตุผล” แต่เป็นการเข้าใจ “ความรู้สึก” เป็นการ “เข้าไปในจิตใจที่โศกเศร้าอาดูรจนเหลือคณานับ” ของตัวละครเหล่านั้น เราไม่รู้หรอกว่าตัวละครส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้ร้องไห้ “เพราะอะไร” เรารู้แต่ว่าพอดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว เราเองก็ “รู้สึก” ไม่ต่างไปจากตัวละครเหล่านั้น

--เพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่าฉากเปิดของ THE FAMILY THAT EATS SOIL อาจจะเป็นการสะท้อนแก่นเรื่องสำคัญเอาไว้เกือบหมดแล้วในฉากเปิดเพียงฉากเดียว เพราะฉากเปิดของเรื่องนี้เป็นฉากหญิงสาวคนหนึ่งถูกข่มขืนโดยผู้ชายหลายๆคนที่มีลักษณะแตกต่างกันไป จำไม่ได้ว่ามีใครบ้าง แต่จำได้ว่าผู้ชายที่ข่มขืนเธอคนแรกเป็น “บาทหลวง” ส่วนคนสุดท้ายเป็น “หุ่นยนต์”

คิดว่าหญิงสาวในฉากเปิดคงเป็นตัวแทนของประเทศฟิลิปปินส์ ที่ตกเป็นเหยื่อของอะไรหลายๆอย่าง เริ่มตั้งแต่สถาบันศาสนาที่มาพร้อมกับการที่ฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของสเปน และเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ที่ฟิลิปปินส์ก็อาจตกเป็นเหยื่อของสังคมวัตถุนิยม

และพอนำมาเทียบกับตัวละครในครอบครัวแล้ว ก็อาจจะพบกับความสอดคล้องกันอยู่บ้าง เพราะตัวละคร “ปู่” ในหนังเรื่องนี้เป็นผีดิบซอมบี้ที่ใส่ชุดสีขาว มองเผินๆเหมือนกับเขาเป็นเทพเจ้าที่ไม่ยอมทำอะไรเลยนอกจากอยู่เฉยๆ เขานั่งอยู่ที่โต๊ะกินข้าวเฉยๆ และในยามว่างเขาก็ออกเดินร่อนเร่ไปตามท้องถนนโดยไม่ยอมทำอะไร ส่วน “ทารก” ในหนังเรื่องนี้ก็สนใจการช้อปปิ้ง

No comments: