Monday, December 05, 2005

THE MUSIC MAN (2003, JEFF BLECKNER, A-)

--เห็นใน BIOSCOPE เล่มใหม่ คุณเต้เขียนถึง HIDDEN ไว้ในคอลัมน์ SYMBOLIC CORNER ด้วยค่ะ

สำหรับคนที่ดูหนังเรื่องนี้แล้ว อาจจะอ่านความคิดเห็นของคุณธีปนันท์ได้ที่นี่ด้วยค่ะ
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000161936

เมื่อวานไปดู “เมืองในหมอก” (1978, เพิ่มพล เชยอรุณ) คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ ซึ่งเป็นวิทยากรในงาน โยง “เมืองในหมอก” เข้ากับ ALBERT CAMUS, สงครามแอลจีเรีย และก็พูดแนะนำให้ไปดู HIDDEN ด้วย แต่เสียดายลืมถามคุณมโนธรรมไปว่าจะเขียนถึงหนังเรื่องนี้ด้วยหรือเปล่า อยากให้คุณมโนธรรมเขียนถึงหนังเรื่องนี้ด้วยอีกคนนึง

สรุปว่าตอนนี้เวลาดูหนังเรื่องนึงที่ชอบมากๆ ก็อยากจะอ่านบทความเกี่ยวกับหนังเรื่องนั้นๆจากนักวิจารณ์ไทย 5 คนนี้เป็นลำดับแรกๆ

1.คุณเต้แห่ง BIOSCOPE

2.คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ แห่ง FLICKS

3.คุณธีปนันท์แห่ง PULP

4.คุณอุทิศ เหมะมูล แห่ง MOVIE TIME

5.คุณเจ้าชายน้อย


--ย้อนกลับไปถึงประเด็นเรื่อง “โฆษณา” ที่ชอบมากๆ เพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่าโฆษณาที่ชอบสุดๆอีกอันนึงก็คือโฆษณาในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ที่มี “สปัน เสลาคุณ” กับ “เยอรัลดีน ริคโคเดล” จูงมือข้ามถนนกันอย่างโฉบเฉี่ยว ก่อนจะไปเล่นดนตรีไทยด้วยกัน แต่จำไม่ได้แล้วว่าเป็นโฆษณาสินค้าอะไร ไม่แน่ใจว่าเป็น DEODORANT หรือเปล่า

--เพิ่งอ่านบทสัมภาษณ์ “เป็นเอก รัตนเรือง” โดย ALEXIS A. TIOSECO แล้วเพิ่งรู้ว่าโฆษณาหลายชิ้นที่เขาเคยทำโดนแบนในไทย อยากรู้จังเลยว่าโฆษณานั้นๆเป็นยังไงบ้าง
http://www.criticine.com/interview_article.php?id=19&pageid=1129619167

เพิ่งรู้จากบทสัมภาษณ์ว่าคุณเป็นเอกแก่กว่าที่ดิฉันคิดราว 10 ปี ตอนแรกดิฉันคิดว่าเขาน่าจะอายุพอๆกับดิฉัน แต่ปรากฏว่าจริงๆแล้วเขาเกิดปี 1962 เพราะฉะนั้นตอนนี้เขาก็อายุ 43 ปีแล้ว แต่เขาดูอ่อนกว่าอายุมาก


ตอบน้อง LOVEJUICE

เห็นน้องไปเล่นสกี ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า หนังที่มีฉากเล่นสกีที่ชอบมากๆก็รวมถึงเรื่อง

1.WINTERSLEEPERS (1997, TOM TYKWER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0120522/

2.PETERKA: YEAR OF DECISION (2003. VLADO SKAFAR, A+)
หนังสารคดีเกี่ยวกับนักเล่นกีฬา SKI-JUMPER

3.THE GREAT ECSTASY OF WOODCARVER STEINER (1974, WERNER HERZOG, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0070136/

4.EXTREME OPS (2002, CHRISTIAN DUGUAY, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0283160/


ตอบน้อง ZM

เห็นตัวอย่างหนังเรื่อง PRIME แล้ว BRYAN GREENBERG เป็นอย่างที่น้องเขียนไว้จริงๆค่ะ

Bryan Greenberg หล่อมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ หล่อบาดใจ น่ารัก หล่อ หล่อ น่ารัก หล่อ หล่อ น่ารัก น่ารัก น่ารัก หล่อ โดน!!! น่าจะได้เกิดมากขึ้นจากหนังเรื่องนี้ เพราะ หล่อบาดใจ น่ารัก หล่อ หล่อ น่ารัก หล่อ หล่อ น่ารัก น่ารัก น่ารัก หล่อ โอ้ โดน!!!

ขอเสนอให้ประโยคข้างบนของน้อง ZM ติดอันดับหนึ่งใน “พรรณนาโวหาร” ยอดเยี่ยมประจำปีนี้ค่ะ


ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND

เห็นคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND สนใจหนังเรื่อง INNOCENCE ของ LUCILE HADZIHALILOVIC ก็เลยเอาข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้มาเพิ่มเติมให้ค่ะ

HADZIHALILOVIC บอกว่าเธอได้รับอิทธิพลในการกำกับหนังเรื่องนี้จากกลุ่ม BELGIUM SYMBOLISTS และจาก RENE MAGRITTE และนักวิจารณ์ก็ตั้งข้อสังเกตว่าภาพในหนังเรื่องนี้มีส่วนคล้ายภาพวาดของ MAGRITTE อย่างเช่นภาพ EMPIRE OF LIGHT
http://www.artsfairies.com/Magritte/The%20Empire%20of%20Light.jpg

นอกจากนี้ HADZIHALILOVIC ยังสนิทกับ GASPAR NOE (I STAND ALONE, IRREVERSIBLE) และอุทิศหนังเรื่อง INNOCENCE ให้ GASPAR NOE ด้วย


หนังที่ได้ดูเมื่อวันอาทิตย์

1.เมืองในหมอก

ต้องขออภัยที่จำชื่อคนเล่นเป็นนางเอกผิดค่ะ นางเอกหนังเรื่องนี้คือ “เบญจวรรณ บุญญกาศ” ส่วน “ปาริชาติ บริสุทธิ์” เล่นเป็น “วี” สาว SWINGING ที่หนีเตลิดเข้าวิหารร้าง นอกจากนี้ รู้สึกว่า “ปาริชาติ บริสุทธิ์” จะทำงานหลังกล้องในหนังเรื่องนี้ด้วย

การแสดงของ “เบญจวรรณ บุญญกาศ” ในเรื่องนี้สุดยอดมากๆค่ะ โดยเฉพาะในฉากที่เธอบอกว่าเธอปวดหัว น่าเสียดายที่เธอเล่นหนังแค่สองเรื่องเท่านั้น คือ “เมืองในหมอก” กับ “คนกลางแดด” (1987, คิด สุวรรณศร)

น่าเสียดายเหมือนกันที่นักแสดงเก่งๆบางคนไม่ค่อยมีโอกาสได้เล่นหนัง อีกคนที่อยากเห็นผลงานของเธอมากกว่านี้ก็คือ “สบันงา วงศ์โสภา” นางเอก “คือฉัน” (1990, แจ๊สสยาม)

2.THE MUSIC MAN (2003, JEFF BLECKNER, A-)

3.THE MAID (A-)

รู้สึกกลัวๆพอสมควรในช่วงแรกๆของหนังเรื่องนี้ แต่ช่วงหลังๆก็ค่อยๆหายกลัว ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าผีในหนังเรื่องนี้ค่อนข้างทำตัว “มีเหตุผล” และการทำตัวมีเหตุผลของผีก็เลยทำให้รู้สึกว่าเราอาจจะไม่ตกเป็นเหยื่อของผีได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ดี ข้อดีของ THE MAID ก็คือการสะท้อนประเด็นทางสังคม และภาวะทางจิตของผู้หญิงในสถานที่และสถานการณ์บางอย่าง ซึ่งจุดนี้อาจจะคล้ายกับ DARK WATER (2005, WALTER SALLES, A+)

ผีในหนังอาจจะแยกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ก็คือผีที่หลอกและทำร้ายคนอย่างมีเหตุผล ผีพวกนี้จะทำร้ายเราก็ต่อเมื่อเราทำผิด “กฎ” บางอย่างที่หนังเรื่องนั้นได้ตั้งไว้เท่านั้น ส่วนกลุ่มที่สองก็คือผีที่ทำร้ายคนอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งประเภทหลังจะทำให้ดิฉันกลัวมาก เพราะเราอาจจะไม่ได้ทำอะไรผิดแม้แต่นิดเดียว เราอยู่เฉยๆ ผีตัวนั้นก็อาจจะมาหลอกหลอนเราได้

ผีที่ทำตัวมีเหตุผลที่ชอบมากก็เช่น

3.1 INTO THE MIRROR (2003, KIM SEONG-HO, A) ที่นำแสดงโดยสุดหล่อ YU JI-TAE ในกรณีของ INTO THE MIRROR นั้น รู้สึกว่าหนังมีพล็อตเรื่องที่สนุก และมีการเล่นกับ “กระจก” ได้สนุกดี ก็เลยทำให้ชอบมากกว่า THE MAID

3.2 “ลองของ” เรื่องนี้ก็รู้สึกชอบ “พล็อตเรื่อง” อย่างมากๆเช่นกัน

ส่วนผีที่ทำตัวไม่มีเหตุผล อยากจะทำร้ายใครก็ทำร้ายโดยไม่มีสาเหตุ อาจจะเห็นได้ในหนังอย่าง

3.3 JU-ON

3.4 THE EXORCISM OF EMILY ROSE


DESIRABLE ACTOR
CLYDE ALVES—THE MUSIC MAN
http://www.famenetwork.com/images/FAME_Clyde_Alves.jpg


FAVORITE ACTRESS
KRISTIN CHENOWETH—THE MUSIC MAN
ชอบเสียงร้องเพลงของเธอในหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ เสียงเธอหวานดี เธอดูเฉิดฉายมากๆในหนังเรื่องนี้ ไม่เหมือนใน BEWITCHED ที่บทของเธอดูเป็นนางรองอย่างมากๆ

KEIRA KNIGHTLEY—DOMINO
ตอนแรกดิฉันไม่ค่อยชอบ KEIRA KNIGHTLEY เท่าไหร่นัก เพิ่งมาเริ่มชอบเธอจากเรื่อง THE JACKET (2005, JOHN MAYBURY, A+) และก็ชอบเธออย่างมากๆจาก DOMINO นี่แหละ เธอดูมีเสน่ห์มากๆๆในหนังเรื่องนี้


FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
DEBRA MONK—THE MUSIC MAN
http://www.imdb.com/name/nm0598213/
เธอเกิดปี 1949 และเคยเล่นหนังเยอะมาก แต่ดิฉันไม่เคยสะดุดตาเธอมาก่อนเลยจนกระทั่งได้ดู THE MUSIC MAN

ผลงานการแสดงของ DEBRA MONK
1.PALINDROMES (2004, TODD SOLONDZ)
2.THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (1995, CLINT EASTWOOD, A+)
3.THE DEVIL’S ADVOCATE (1997, TAYLOR HACKFORD, A+)
4.JEFFREY (1995, CHRISTOPHER ASHLEY, A+, รับบทเป็นแม่)
5.DARK WATER (2005, WALTER SALLES, A+)
6.IN & OUT (1997, FRANK OZ, A)
7.PRELUDE TO A KISS (1992, NORMAN RENE, A-)
8.CENTER STAGE (2000, NICHOLAS HYTNER, B+)
9.FEARLESS (1993, PETER WEIR, B)
10.THE FIRST WIVES CLUB (1996, HUGH WILSON, B/B-)


FAVORITE SUPPORTING ACTOR
DAVID AARON BAKER—THE MUSIC MAN
http://www.imdb.com/name/nm0048379/

เขาเคยเล่นหนังเรื่อง MELINDA AND MELINDA (2004, WOODY ALLEN) และหนังเลสเบียนเรื่อง KISSING JESSICA STEIN (2001, CHARLES HERMAN-WURMFELD)


FAVORITE SENTENCE
“เดี๋ยวคุณก็จะหัวเราะไม่ออกหรอก”—นางเอกของ “เมืองในหมอก” พูดเป็นประโยคแรกของเรื่อง

“ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ปราบคนบาปหยาบช้า ปราบคนบาปหยาบช้า ปราบคนบาปหยาบช้า เอาวิญญาณมันไป เอาวิญญาณมันไป เอาวิญญาณมันไป”--สามสาวจากโลกันตร์พูดในพิธีสวดแช่งครอบครัวของนางเอก


ความรู้สึกต่อหนังที่ได้ดูในช่วงนี้

1.DOMINO (SPOILERS, มีการเปิดเผยความลับของหนัง)

ชอบที่คุณธีปนันท์เขียนถึง DOMINO มากๆเลยค่ะ อ่านได้ที่ลิงค์นี้
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000165288

เป็นหนังที่มีสไตล์โฉบเฉี่ยวมาก แต่ก็ดูสนุกดี เพราะชอบนางเอกและตัวละครหญิงหลายตัวในหนังเรื่องนี้อย่างมากๆ หนังดูเว่อร์อย่างรุนแรงมาก และมีส่วนที่ไม่ชอบอย่างรุนแรงอยู่หลายๆจุดเหมือนกัน แต่โดยรวมๆแล้วก็รู้สึกมีความสุขกับหนังเรื่องนี้มาก

สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้

1.ตัวละครหญิงหลายๆตัวมีบุคลิกที่ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ซึ่งรวมถึง

1.1 นางเอก
1.2 แม่นางเอก
1.3 ลาทีชา แสดงโดย MO’NIQUE ดิฉันรู้สึกว่าเธอสามารถทาบรัศมี QUEEN LATIFAH (CHICAGO) และ LORETTA DEVINE (URBAN LEGENDS) ได้สบาย

QUEEN LATIFAH
http://www.celebritynails.com/queenlatifah/pictures/queenlatifahnails001.jpg

LORETTA DEVINE
http://horror.about.com/library/weekly/Amityville/pages/Loretta_Devine10.jpg

รู้สึกว่าดาราหญิงผิวสีสามคนนี้อาจจะเหมาะมาเล่นหนังเรื่อง THE GODMOTHERS ด้วยกัน

ชีวิตของ “ลาทีชา” เป็นชีวิตที่น่าสนใจมากๆ และชีวิตของเธออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “แกนกลาง” หรือเป็น “ต้นกำเนิด” ของเรื่องราวใน DOMINO มากพอๆกับชีวิตของโดมิโน ฮาร์วีย์ ชีวิตของลาทีชาทำให้นึกถึงชีวิตของผู้หญิงผิวดำในหนังสารคดีเรื่อง LOVE AND DIANE (2002, JENNIFER DWORKIN, A+)

1.4-1.5 ลาชานดรา + ลาชินดรา
1.6 LUCY LIU
1.7 เอฟบีไอหญิงที่มาสอบสวนลาทีชา
1.8 แม่ของคนขับรถขนส่งเงิน
1.9 ผู้หญิงหลายคนที่รุมด่า “ลาทีชา” ในรายการโทรทัศน์


2.ถึงแม้ชื่อ DOMINO ของหนังเรื่องนี้จะมาจากชื่อจริงของนางเอก แต่ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ก็อดคิดถึงตัวโดมิโน่ที่นำมาเรียงต่อกันหลายๆตัว แล้วพอผลักตัวนึงล้ม อีกหลายร้อยตัวที่เรียงต่อๆกันก็จะค่อยๆล้มระเนระนาดไปจนหมด เพราะเหตุการณ์เลวร้ายในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะมีต้นกำเนิดมาจาก “ความรักครอบครัว” ของผู้หญิงคนนึง แต่ “ความรักครอบครัว” ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ “ความเห็นแก่ตัว” ของผู้หญิงคนนั้น กลับส่งผลกระทบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างรุนแรงจนไม่อาจจะยับยั้งได้ มันส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงชีวิตของ “โดมิโน ฮาร์วีย์” อย่างไม่คาดคิด และส่งผลกระทบไปจนถึงทีมงานรายการโทรทัศน์, คนหลายๆคนต้องจบชีวิต และส่งผลกระทบไปจนถึงแอฟกานิสถาน

3.ในขณะที่ MAN ON FIRE (2004, TONY SCOTT, B) เป็นหนังที่ดูเหมือนจะนำเสนอความรักเด็กในด้านบวก และความรักเด็กอาจจะนำไปสู่การทำลายล้างคนชั่ว แต่ DOMINO กลับดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่า “ความรักเด็ก” หรือ “ความรักลูกๆหลาน” นำไปสู่ “อำนาจในการทำลายล้างคนรอบข้างซึ่งอาจจะรวมถึงผู้บริสุทธิ์” สิ่งนี้แสดงให้เห็นชัดทั้งในกรณีของลาทีชา, แม่ของคนขับรถขนส่งเงิน และหัวหน้าแก๊งมาเฟีย พวกเขาทำลายล้างผลาญชีวิตคนอื่นๆเพียงเพราะข้ออ้างว่า “รักลูก”

เหตุผลข้อนี้อาจจะเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้มีความสุขกับการดู DOMINO อย่างมากๆ เพราะปกติแล้วหนังฮอลลีวู้ดมักจะนำเสนอ “ความรักลูก” ในด้านบวก หรือคนที่รักลูกอาจจะทำผิดในแบบที่พอให้อภัยได้ อย่างเช่นใน JOHN Q (2002, NICK CASSAVETES, C) แต่มีไม่กี่เรื่องที่นำเสนอความรักลูกรักหลานในด้านลบอย่างรุนแรงเช่นนี้

หนังที่กำกับโดย TONY SCOTT เรียงตามลำดับความชอบ

1.CRIMSON TIDE (1995, A+)
2.TOP GUN (1986, A+) เพราะความหล่อของดารา
3.DOMINO (A+)
4.TRUE ROMANCE (1993, A-/B+)
5.REVENGE (1990, B+)
6.MAN ON FIRE (2004, B)
7.DAYS OF THUNDER (1990, B-)
8.SPY GAME (2001, C+) ชอบแค่ส่วนที่ CHARLOTTE RAMPLING แสดงในเรื่องนี้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 นาที
9.THE LAST BOYSCOUT (1991, C+)

ส่วนหนังของเขาที่อยากดูที่สุดก็คือหนังเลสเบียนเรื่อง THE HUNGER (1983) ที่นำแสดงโดย CATHERINE DENEUVE, DAVID BOWIE, SUSAN SARANDON
http://images.amazon.com/images/P/B0002KQNKE.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


2.THE EXORCISM OF EMILY ROSE (A)

ชอบหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ แต่ดูแล้วรู้สึกไม่ค่อยแน่ใจในจุดประสงค์ของหนัง ว่ามันเป็นหนังที่สร้างเพื่อความสยองขวัญ หรือสร้างเพื่อส่งเสริมศาสนา ก็เลยไม่ได้ชอบถึงขั้น A+ เพราะดิฉันไม่ค่อยชอบหนังส่งเสริมศาสนาเท่าใดนัก

ชอบการแสดงของดาราหลายๆคนในหนังเรื่องนี้มาก ทั้งลอรา ลินนีย์ ซึ่งดูแตกต่างจากใน P.S. อย่างมาก, CAMPBELL SCOTT, TOM WILKINSON, JENNIFER CARPENTER และ SHOHREH AGHDASHLOO

ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึง THE EXORCIST + AGNES OF GOD (1985, NORMAN JEWISON, A+)

หนังเรื่องนี้ทำให้รู้สึกกลัวพอสมควรในช่วงแรกๆของเรื่อง แต่สิ่งที่ทำให้กลัวสุดขีดเกิดขึ้นหลังจากดูหนังเรื่องนี้ เพราะดูหนังเรื่องนี้ในช่วงเย็นวันพฤหัสบดี ดูเสร็จก็กลับบ้านนอน แล้วอยู่ดีๆก็ตื่นขึ้นมาในเช้าวันศุกร์ หันไปดูนาฬิกาข้างเตียง ปรากฏว่าเป็น “ตี 3” พอดี เห็นนาฬิกาตอนนั้นแล้วรู้สึกเหมือนขนลุกไปทั้งตัว กลัวจนฉี่แทบราด รู้สึกว่าตัวเองซวยสุดขีดที่อยู่ดีๆก็ดันตื่นมาตอนตี 3 หลังจากดูหนังเรื่องนี้ แทบไม่กล้ามองอะไรในห้องอีกต่อไป รีบหลับตาปี๋และเข้านอนต่อในทันที (คนที่ดูหนังเรื่องนี้จะเข้าใจว่าเวลา ตี 3 เป็นเวลาที่น่ากลัวเพียงใด)

โชคยังดีที่ช่วงเวลา 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ตัวเองก็ตื่นนอนกลางดึกในช่วงเวลาที่สลับกันไป อาจจะเป็นตี 1 กว่าๆ, ตี 2 หรือตี 4 มีตื่นนอนตอนตี 3 พอดีอีกแค่ครั้งนึงเท่านั้น

THE EXORCISM OF EMILY ROSE เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องจริงที่ดู “เหลือเชื่อ” มากๆ และยากจะพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ ดูแล้วก็ทำให้นึกถึง THE ENTITIY (1981, SIDNEY J FURIE, B+) และ THE AMITYVILLE HORROR ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ดูเหลือเชื่อมากๆเหมือนกัน


3.SUNDAY IN THE PARK WITH GEORGE (1986, TERRY HUGHES, A)

รู้สึกทึ่งกับฉากและโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนัง/ละครเวทีเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ฉากละครเวทีในหนังเรื่องนี้มีการออกแบบที่ดีมาก โดยเฉพาะในการเลื่อนฉากต่างๆที่ซ้อนกันไปซ้อนกันมา และการนำเสนอฉากการวาดภาพของจิตรกร ที่ทำให้เราได้เห็นทั้งหน้าของจิตรกรและภาพที่เขาวาดพร้อมๆกัน เพราะโดยปกติแล้ว ถ้าหากเรานำ “จิตรกรขณะวาดภาพ” ไปตั้งไว้กลางเวทีละคร ถ้าหากเราหัน “ภาพ” เข้าหาผู้ชม และจิตรกรหันหลังให้ผู้ชม เราก็จะไม่เห็นใบหน้าของจิตรกร แต่ถ้าหากเราหันจิตรกรเข้าหาผู้ชม เราก็อาจจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะภาพวาดก็จะหันหลังให้ผู้ชม และภาพวาดก็อาจจะบังใบหน้าของจิตรกรเอาไว้ด้วย แต่ละครเวทีเรื่องนี้กลับสามารถหันทั้งใบหน้าจิตรกรและภาพวาดเข้าหาผู้ชมได้พร้อมๆกัน

โครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ นั่นก็คือส่วนของจิตรกรเมื่อ 100 กว่าปีก่อน กับเรื่องราวของคนในยุคปัจจุบันที่เดินทางกลับไปยังสถานที่ที่จิตรกรคนนั้นเคยใช้วาดภาพ รู้สึกว่าส่วนที่สองทำให้รู้สึกซาบซึ้งกับเนื้อหาในส่วนแรกมากๆ เพราะขณะที่ดูส่วนแรก ก็จะรู้สึกว่ามันสนุกในแบบธรรมดา เราได้รู้จักกับตัวละครหลายๆคนที่มีความรัก, ความแอบรัก, ความอัดอั้นตันใจ, ความฝัน, ความหวัง แต่อยู่ดีๆ หนังก็บอกเราว่าตัวละครเหล่านั้นตายไปเป็นเวลานาน 100 ปีแล้ว โดยที่แทบไม่ได้แสดงให้เห็นเลยว่าชีวิตของพวกเขาคลี่คลายไปอย่างไร หนังแค่นำเสนอเศษเสี้ยวชีวิตเล็กๆของตัวละครเมื่อ 100 กว่าปีก่อนเท่านั้นเอง และก็หันมานำเสนอชีวิตองคนในยุคปัจจุบันในทันที ก็เลยรู้สึกเสียดแทงใจอย่างมากๆ มันเหมือนกับว่าความรัก, ความฝัน, ความหวัง ที่ดูเหมือน “ยิ่งใหญ่” มากๆ กับเราในขณะนี้ อีกไม่นานมันก็จะกลายเป็น “จุดเล็กๆ” ในอดีต เป็นเพียงจุดเล็กๆในประวัติศาสตร์เท่านั้น ความรักที่แทบจะทำให้เราปิ้มว่าจะขาดใจในปัจจุบันนี้ มันอาจจะกลายเป็น “NOTHING” ไปเลยในอีก 100 ปีข้างหน้า

โครงสร้างของ SUNDAY IN THE PARK WITH GEORGE ทำให้นึกถึง THE HOURS (2002, STEPHEN DALDRY, A+) ด้วยเหมือนกัน


4.LIKE ASHURA (2003, YOSHIMITSU MORITA, A)

ชอบฉากเปิดของหนังเรื่องนี้มาก ที่บรรยายถึงคุณลักษณะของ “อสูร” และขณะที่ดู ก็จะพยายามคิดว่าตัวละครตัวใดกันแน่ในเรื่องนี้ที่เป็น “อสูร”

หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของพี่น้องผู้หญิง 4 คน ดูแล้วก็เลยนึกถึง THE MAKIOKA SISTERS (1983, KON ICHIKAWA, B) ที่เล่าเรื่องของพี่น้องผู้หญิง 4 คนเหมือนกัน
http://www.imdb.com/title/tt0086242/

รู้สึกว่า “ดั่งอสูร” คงจะเป็นหนังที่ตลาดแตกที่สุดของ YOSHIMITSU MORITA อย่างที่นักวิจารณ์ว่าไว้จริงๆ แต่ MORITA ก็ยังคงทำให้หนังเรื่องนี้ดูสนุกมากๆ

ชอบ “สามี” ของน้องคนที่สองกับน้องคนที่สี่ในเรื่องนี้ แต่ไม่รู้ว่าคนที่เล่นเป็นสามีของสองคนนี้มีชื่อว่าอะไร ส่วนสามีของน้องคนที่สามนั้นเป็นดาราชายที่รู้สึกคุ้นหน้าอย่างสุดๆ แต่ไม่รู้ว่าชื่ออะไร

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเยอะมาก เอามาทำเป็นละคร 15 ตอนจบได้สบาย และก็เลยรู้สึกว่าคนเขียนบทหนังเรื่องนี้เก่งมากๆ ที่สามารถย่อเรื่องราวที่กินเวลานานหลายปีให้ออกมาลงตัวเป็นภาพยนตร์ความยาว 135 นาทีได้

“ดั่งอสูร” มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับ “ปริศนาลับ” ด้วย แต่การคลี่คลายปริศนาลับนี้เกิดขึ้นอย่างเรียบง่ายมากๆ และให้ความรู้สึกที่ดีมากๆ จุดนี้ก็เลยทำให้นึกถึงหนังของ JACQUES RIVETTE เพราะหนังหลายเรื่องของเขามักจะมีปริศนาลับหรือความลับ แต่อยู่ดีๆตัวละครก็จะสามารถคลี่คลายปริศนาลับได้อย่างง่ายดายมากๆ โดยแทบไม่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักแต่อย่างใด และการคลี่คลายปริศนาลับดังกล่าวก็มักจะนำมาซึ่งความรู้สึกที่ FEEL GOOD มากๆ

หนังของ JACQUES RIVETTE ที่มีการคลี่คลายปริศนาลับอย่างง่ายดายก็เช่น GANG OF FOUR (1988, A+), UP DOWN FRAGILE (1995, A+) และ VA SAVOIR (2001, A)


5.AIKI (2002, DAISUKE TENGAN, A)

หนังเรื่องนี้มีอะไรหลายๆอย่างที่ดูเป็นสูตรสำเร็จอย่างมากๆ แต่กลับดูเพลินดี

ก่อนไปดูหนังเรื่องนี้ก็คิดอยู่ว่าจะนั่งมอเตอร์ไซค์ไปดูดีมั้ย เพราะกลัวไปไม่ทัน แต่ก็ตัดสินใจไม่นั่งมอเตอร์ไซค์ไป และพอเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ก็รู้สึกว่าตัวเองคิดถูกแล้ว เพราะว่าพระเอกหนังเรื่องนี้ได้รับอุบัติเหตุจากการนั่งมอเตอร์ไซค์จนทำให้ตัวเองต้องพิการตลอดชีวิต

HARUHIKO KATO พระเอกหนังเรื่องนี้ไม่หล่อ แต่หนังกลับทำให้เขาออกมาดูน่ารักมากๆได้ ส่วน RIE TOMOSAKA นางเอกหนังเรื่องนี้ก็มีบุคลิกที่ดีมาก เธอเป็นสาวกร้านโลกที่ทำงานตอนกลางวันเหมือนเป็นนักบวชในศาลเจ้าอะไรสักอย่าง รู้สึกว่าอาชีพของเธอจะเรียกว่า “มิโกะ” ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร แต่ดูคล้ายๆงานของ SAILOR MARS

รู้สึกทึ่งกับหนังญี่ปุ่นอย่าง ROBOCON และ AIKI อย่างมากๆ เพราะถึงแม้หนังมันจะดู “สูตรสำเร็จ” อย่างรุนแรงที่สุด แต่มันกลับ “ควบคุมอารมณ์” ในหนังได้อย่างดีมากๆจนไม่ทำให้รู้สึกเอียน, เฝือ หรือเบื่อเลย ขณะที่ดูก็รู้ตัวอยู่ตลอดว่าเนื้อเรื่องในหนังมันน่าจะดำเนินไปในทิศทางไหน แต่ก็ยังรู้สึกเพลิดเพลินอยู่ดี


6.LOVE OF MAY (2005, HSU HSIAO MING, A)

ปกติไม่ค่อยชอบหนังโรแมนติกสักเท่าไหร่ แต่เรื่องนี้ทำออกมาได้น่ารักดี และตัวละครในหนังก็ดูเหมือนไม่ได้รักกันอย่างดูดดื่มมากจนถึงขั้นน่าอิจฉาหรือน่าหมั่นไส้

หนังเรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์ WHITE TERROR ในไต้หวันด้วย รู้สึกว่าหนังที่พูดถึงเหตุการณ์นี้จะรวมถึง A CITY OF SADNESS (1989, โหวเสี่ยวเสี้ยน, A-) และ TIGERWOMEN GROW WINGS (2005, MONIKA TREUT, B+)
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=15420&wording=city%20of%20sadness

เนื้อหาส่วนหนึ่งในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในเมือง HARBIN ของจีน ซึ่งเป็นเมืองที่เพิ่งประสบภาวะ WATER CRISIS เมื่อไม่นานมานี้

ฉากสะพานในหนังเรื่องนี้เป็นฉากที่น่ารักมากๆ


7.RAINBOW BOYS THE MOVIE (A-/B+)

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ดูเรียบง่ายมากๆ จนอาจจะถึงขั้นน่าเบื่อหรือจืดชืดเล็กน้อยในบางครั้ง หนังเรื่องนี้แทบไม่มีสิ่งที่น่าสนใจในด้านการเล่าเรื่อง, การถ่ายภาพ, การตัดต่อ, การจัดฉากเลย มันดูเรียบจนจืดไปหมด แต่สิ่งที่ชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือ “หัวใจ” และ “ความตั้งใจ” ของทีมงานผู้สร้างหนังเรื่องนี้ และความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังเรื่องนี้เกิดจากการที่ดิฉันนำหนังเรื่องนี้ไปอิงหรือเทียบเคียงกับหนังเรื่องอื่นๆด้วย คือถ้าหากดูหนังเรื่องนี้เพียงลำพังโดดๆ โดยไม่ได้เทียบเคียงกับหนังเรื่องอื่น ดิฉันก็อาจจะไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้มากนัก แต่ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้เป็นการตอบโต้ต่อหนังเรื่องอื่นๆ อาจจะเป็นการตอบโต้ต่อหนังอย่าง “พรางชมพู”, หนังเกี่ยวกับกะเทยไทย หรือละครไทยเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะมีเทคนิคด้านภาพที่แพรวพราว, มีบทภาพยนตร์ที่ซับซ้อนยอกย้อนพิถีพิถัน, มีการตัดต่อที่เท่ระเบิด, มีการออกแบบโปรดักชันที่น่าทึ่ง, มีการแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่เปี่ยมล้น+ความสามารถ+ความช่ำชองชำนิชำนาญของผู้กำกับ แต่กลับสะท้อนให้เห็นถึง “ความเกลียดชังเกย์” หรือ “การดูหมิ่นเกย์”

หากจะเปรียบเทียบไปแล้ว หนังเรื่องอื่นๆก็อาจจะเหมือนคนที่ใส่ “ชุดของดีไซเนอร์หรูหราราคาแพง” , มีบุคลิกดี, มีเสน่ห์, เชิดๆเล็กน้อย, ปากพูดไม่ตรงกับใจ และมี “จิตใจ” ที่ไม่ดีเท่าใดนัก แต่ RAINBOW BOYS THE MOVIE ดูแล้วรู้สึกเหมือนกับว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นคน ก็คงจะเป็นคนที่ใส่เสื้อผ้าราคา 199 บาท, มีบุคลิกงุ่มง่าม เคอะเขิน, ยังไม่ประสีประสาต่อโลก, ยังไม่รู้วิธีการพูดคุยกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนาน แต่มี “หัวใจ” ที่ดีมากๆ

ไม่แน่ใจว่า RAINBOW BOYS THE MOVIE มีคุณค่าทางภาพยนตร์หรือทางศิลปะหรือเปล่า แต่รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีคุณค่าทางสังคมและคุณค่าทางจิตใจอย่างมากๆ

ชอบการแสดงของตัวละครนำ 3 คนในเรื่องนี้มาก ส่วนตัวประกอบในเรื่องนี้แสดงแข็งมาก แต่แข็งจนกลายเป็นฮาไปเลย

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมาะจะเป็น EDUCATIONAL FILM สำหรับนักเรียนมัธยมด้วยเหมือนกัน เพราะเป็นหนังที่ปลูกฝังทัศนคติที่ดี, ตรงไปตรงมา, เข้าใจง่าย และเป็นหนังที่ต้องการส่งสารต่อผู้ชม


8.ชุมแพ (1978, จรัล พรหมรังสี, B+)

ชอบดาราชายที่เล่นเป็นตำรวจในเรื่องนี้มาก ไม่แน่ใจว่าใช่ “นาท ภูวนัย” หรือเปล่า


9.”เพราะรัก...ครับผม” (ธนพล ธนังกูร, B-) (SPOILERS, มีการเปิดเผยความลับในเรื่อง)

เป็นหนังที่โดยภาพรวมแล้วไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากแยกองค์ประกอบออกมาเป็นส่วนๆ จะรู้สึกว่ามีหลายส่วนที่ชอบมากๆ น่าเสียดายที่องค์ประกอบที่ดีมากแต่ละส่วนในหนังเรื่องนี้ไม่มีโอกาสได้แสดงศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่

ชอบตัวละครหญิง 5 คนในหนังเรื่องนี้อย่างมากๆ ซึ่งได้แก่นักวอลเลย์บอลชายหาด 4 คน และเจเน็ต เขียว รู้สึกว่าตัวละครหญิง 5 คนนี้มีบุคลิกและนิสัยใจคอที่น่าสนใจมาก ทั้ง 5 คนนี้ไม่ใช่ตัวละครแบบ “นางเอ๊ก นางเอก” อย่างตัวละครหญิง 2 คนใน “เพื่อนสนิท” (A+) เลย เพราะเจเน็ต เขียวก็เล่นเป็น “สาวบาร์เบียร์จิตใจงาม” ส่วนนักวอลเลย์บอลหญิง 4 คนนี้ ก็ดูเหมือนมีด้านลบในตัวที่น่าสนใจดี

ชอบบุคลิกของซาร่า มาลากุล เลน ในหนังเรื่องนี้อย่างมากๆ เธอดูร้ายดี และชอบที่หนังเรื่องนี้ทำเหมือนกับว่าเธอเป็นนางเอก แต่ไปๆมาๆเธอกลับมีจิตใจที่อาจจะโสมมกว่าตัวละครเกือบทุกตัวในเรื่อง ตัวละครตัวนี้เป็นตัวละครที่ น่าสนใจมากๆ ในแง่ของสภาพจิตใจและอารมณ์ ถ้าหากหนังเรื่องนี้ตัดตัวละครพระเอกทิ้งไป และโฟกัสทุกอย่างไปที่ตัวละครนางเอกแทน โดยเน้นเจาะลึก
สภาพจิตวิทยาของนางเอกอย่างรุนแรง หนังเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นหนังที่ชอบในระดับ A+ ได้ง่ายๆ

ส่วนตัวละครนักวอลเลย์บอลหญิงอีก 3 คนก็น่าสนใจดี ตัวละครที่ทำตัวเป็นนางรอง ก็ไม่ได้มีแต่ด้านดี ในขณะที่ตัวละคร “นางอิจฉา” อีกสองคน ก็กลับมีจิตใจที่ประเสริฐกว่าที่คาด น่าเสียดายจริงๆที่หนังดูเหมือนให้เราได้เห็นแต่ “เรือนร่าง” ของดาราหญิง 4 คนนี้ และให้เราได้เห็น “ความซับซ้อนทางจิตใจ” ของตัวละครหญิง 4 คนนี้น้อยมากๆ ทั้งๆที่จริงๆแล้วทั้ง 4 คนนี้มีอะไรที่น่าสนใจอยู่ “ข้างใน” มากๆเลย

หนังมีอะไรหลายๆอย่างที่ไม่ลงตัวมากๆ ไม่ว่าจะเป็นบทสนทนา, การตัดต่อ และฉากการแข่งขันที่ดูแทบไม่สนุกเลย อย่างไรก็ดี คิดว่าสิ่งที่เป็นส่วนเกินในหนังเรื่องนี้ก็คือเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรัก โดยเฉพาะความรักของพระเอก อยากให้หนังเรื่องนี้สร้างเป็นหนังเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาอย่างจริงๆจังๆ และสามารถถ่ายทำฉากการแข่งขันให้ดูสมจริงและทรงพลังมากกว่านี้ หรือไม่ก็เป็นหนังเกี่ยวกับจิตวิทยาผู้หญิงที่เต็มไปด้วยความสับสนและอารมณ์กราดเกรี้ยวมากกว่า

ชอบการหักมุมในช่วงท้ายๆเรื่องมากเหมือนกัน

สรุปว่าสาเหตุสำคัญที่ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ ก็คือตัวละครนางเอกของเรื่อง

อยากให้มีการสร้างหนังเกี่ยวกับวอลเลย์บอลชายหาด “ชาย” บ้างจังเลย แต่ไม่รู้ว่าดาราไทยคนไหนเหมาะจะเล่นหนังเรื่องนี้บ้าง คงต้องให้คุณอ้วนและหลายๆคนใน SCREENOUT ช่วยกันเลือก
http://www.fotosearch.com/bigcomps/RBL/RBL140/S2_15.jpg
http://www.fotosearch.com/bigcomps/RBL/RBL140/S2_16.jpg


10. “ลองของ” (A+)

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีระดับความรุนแรงที่มากเกินไป แต่ชอบโครงสร้างการเล่าเรื่องและตัวละครในหนังเรื่องนี้มากๆ

ดูหนังเรื่องนี้แล้วให้ความรู้สึกว่ามันช่วยสร้างความสมดุลทางอารมณ์ให้กับตัวเองหลังจากดู “เด็กโต๋” (A+) เพราะในขณะที่ “เด็กโต๋” เต็มไปด้วยความดีงามและคนที่จิตใจบริสุทธิ์ไร้เดียงสา “ลองของ” กลับเต็มไปด้วยตัวละครที่ชั่วร้าย และแน่นอนว่าในขณะที่ดู ดิฉันย่อมรู้สึกผูกพันและ IDENTIFY ตัวเองกับตัวละครใน “ลองของ” มากกว่า

ถึงแม้ตัวเองจะชอบ “ลองของ” มากกว่า “เด็กโต๋” (มันเหมือนเป็นด้านมืดกับด้านสว่าง) แต่ก็รู้สึกอยากให้มีการสร้างหนังแบบ “เด็กโต๋” ออกมามากยิ่งขึ้น เพราะรู้สึกว่าหนังแบบนี้กำลังขาดแคลน ในขณะที่หนังแบบ “ลองของ” มีการสร้างกันออกมาเยอะแล้ว เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยสนุกเท่า “ลองของ”

“ลองของ” จัดเป็นหนังที่เซอร์ไพรส์ตัวเองมากที่สุดเรื่องนึงในปีนี้ เพราะก่อนเข้าไปดู รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้อาจจะได้ C- แต่ปรากฏว่ากลับถูกใจมากๆ

หนังเซอร์ไพรส์ที่สุดอีกเรื่องนึงของดิฉันในปีนี้คือ “โคตรเพชฌฆาต” (อนัต ยวงเงิน, A-)

ส่วนหนังไทยที่เซอร์ไพรส์ที่สุดเรื่องนึงในปีที่แล้ว คือ “หมอเจ็บ” (สมภพ เวชชพิพัฒน์, A-)

ดู “ลองของ” เสร็จแล้ว แอบคิดเล่นๆในใจว่าทีมงานผู้สร้างหนังเรื่องนี้ “ใช้ไสยาศาสตร์” ช่วยในการสร้างหนังหรือเปล่า หนังถึงออกมาได้ถูกใจเกินคาดขนาดนี้

ชอบฉากที่ถ่ายด้วย “กล้องวิดีโอ” ที่แทรกอยู่ใน “ลองของ” อย่างมากๆ เป็นฉากที่ดูแล้วรู้สึกกลัวมาก


11.HIDDEN

สิ่งที่ชอบมากๆในหนังเรื่องนี้

11.1 ฉากบางฉากไม่มีเหตุการณ์ที่น่ากลัวเกิดขึ้นเลย แต่ขณะที่ดูกลับรู้สึกกลัวอย่างมากๆ เพราะขณะที่ดู รู้สึกไม่แน่ใจว่าภาพในฉากนั้นเป็นภาพวิดีโอ หรือมองผ่านสายตาของ “ผู้ร้าย” (ซึ่งอาจจะเป็นคนที่เลวน้อยกว่า “พระเอก”) หรือเปล่า จวบจนกระทั่งฉากนั้นจบไปแล้ว ถึงค่อยถอนหายใจด้วยความโล่งอกว่าฉากนั้นอาจจะไม่ได้มองผ่านสายตาของผู้ร้าย

11.2 หนังพูดถึงความรู้สึกผิดบาปที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝังใจตัวเองเหมือนกัน สิ่งที่อยากทำอย่างมากๆก็คือย้อนกลับไปตั้งต้นชีวิตใหม่ตั้งแต่ 4-5 ขวบ เพราะรู้สึกว่าตอนเด็กๆตัวเองเคยทำร้ายสัตว์โดยไม่มีเหตุผลเยอะมาก น่าเสียดายที่ในชีวิตจริงคนเราไม่สามารถย้อนอดีตได้ ตอนนี้ก็เลยได้แต่ “รับกรรมให้พอ ตัวก่อไว้เอง” (ตามเนื้อเพลง “เพลิงพ่าย”) เพราะผลของการทำร้ายสัตว์ในวัยเด็กต่อไป

รู้สึกว่า HANEKE ยังคงทำงานในแนวทางที่ตัวเองถนัดได้อย่างน่าทึ่งน่าชื่นชมมากๆ และก็สนับสนุนให้เขาทำหนังแนวนี้ต่อไป เพราะไม่ค่อยมีคนทำหนังแบบเขา หรือทำได้ดีเท่าเขาเท่าใดนัก

แต่ถ้าหากพูดถึงความรู้สึกชอบของตัวเองแล้ว แนวทางหนังของ HANEKE อาจไม่ใช่แนวทางหนังที่ตัวเองชอบมากที่สุด บางทีอาจจะเป็นเพราะว่ามันบันเทิงน้อยเกินไป, โหดร้ายในแบบที่ “รบกวนจิตใจ” มากเกินไป (ความโหดร้ายในหนังของ HANEKE ย่อมน้อยกว่าในหนังสยองขวัญอย่าง SAW แต่ความโหดร้ายในหนังสยองขวัญส่วนใหญ่ไม่ใช่ความโหดร้ายแบบที่ “รบกวนจิตใจผู้ชม”) หรืออาจจะต่อต้าน “การมีอารมณ์ร่วม” ของตัวดิฉันมากเกินไป

สาเหตุที่ทำให้คิดเช่นนี้ เป็นเพราะว่าหนังของ HANEKE ที่ดิฉันชอบที่สุดยังคงเป็น THE CASTLE (1997, A++++++++++) ซึ่งเป็นหนังที่มีความเป็น HANEKE น้อยที่สุด แต่กลับเป็นหนังที่ทำให้ดิฉันดูแล้วมีความสุขที่สุด, รู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับหนังมากที่สุด, รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของตัวเองมากที่สุด และรู้สึก “สงสาร” ตัวละครในหนังเรื่องนี้มากที่สุด โดยเฉพาะตัวละครหญิงสาวคนนึงในเรื่องที่ไม่ยอมทำตามความปรารถนาของคนจาก THE CASTLE และส่งผลให้เธอถูกชาวบ้านคว่ำบาตร และได้รับความซวยต่างๆนานา ในขณะที่ตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆของ HANEKE ไม่ค่อยทำให้ดิฉันรู้สึกสงสารมากเท่ากับใน THE CASTLE

ตอนนี้ก็ล่วงมาเกือบจะสิ้นปีแล้ว และก็พบว่าฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้ คงต้องมีหลายๆฉากจาก THE CASTLE รวมไว้ด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งรวมถึง

A.หลังจากพระเอก (ULRICH MUHE) เหน็ดเหนื่อยอย่างสาหัสสากรรจ์ พระเอกก็ได้โอกาสแจ้งปัญหาของตัวเองให้ผู้มีอำนาจได้รับทราบ แต่เขาดันผล็อยหลับเสียก่อนที่จะได้ทำเช่นนั้น และส่งผลให้เขาต้องเหน็ดเหนื่อยอย่างสาหัสสากรรจ์ต่อไป

B.ฉากที่พระเอกด่าเปปี้ (BIRGIT LINAUER) จนเธอร้องไห้ ฉากนั้นรู้สึกสะเทือนใจมากทั้งๆที่ไม่ชอบเปปี้เลย บางทีคงต้องยกความดีความชอบให้กับการแสดงของ BIRGIT LINAUER และจนถึงป่านนี้ตัวเองก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมตัวเองถึงรู้สึกสะเทือนใจมากกับฉากนี้ แต่รู้สึกว่าฉากนี้แปลกดีเพราะว่าพระเอกพูดถึงข้อเสียของเปปี้ ซึ่งข้อเสียของเธอเป็น “ความจริง” พระเอกไม่ได้โกหก แต่พระเอกพูดด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เพราะพระเอกต้องการให้เปปี้เลิกทำงานที่บาร์ และฟรีด้า (SUSANNE LOTHAR) ซึ่งเป็นแฟนของเขาจะได้มาทำงานแทน ฉากนี้ทำให้รู้สึกกำกวมว่าควรจะชอบหรือไม่ชอบ, เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเอก เพราะพระเอกพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเปปี้ เปปี้จะได้ทราบความจริง แต่พระเอกมีเจตนาแอบแฝง

C.ฉากจบ

หนังของ HANEKE เรียงตามลำดับความชอบ

1.THE CASTLE
2.FUNNY GAMES (1997, A+)
3.THE SEVENTH CONTINENT (1989, A+)
4.HIDDEN (2005, A+)
5.BENNY’S VIDEO (1992, A+)
6.THE PIANO TEACHER (2001, A+)

นิตยสาร FILM COMMENT เล่มเดือนพ.ย.-ธ.ค. ลงบทความเกี่ยวกับ HIDDEN ไว้ด้วยเช่นกัน บทความเขียนโดย PAUL ARTHUR ซึ่งมีการเปรียบเทียบหนังของ Haneke กับอะไรหลายๆอย่าง อย่างเช่น

1.Paul Arthur บอกว่าหนังของ HANEKE เป็นการบิดสูตรหนังทริลเลอร์ เพราะแทนที่จะสร้างความลุ้นระทึกตื่นเต้นให้กับผู้ชมเพียงอย่างเดียวแบบหนังทริลเลอร์ทั่วไป หนังของ HANEKE กลับโฟกัสไปที่ IDENTITY ของตัวละครและสภาพสังคมที่แวดล้อม ซึ่งลักษณะเช่นเดียวกันนี้เคยปรากฏมาแล้วในหนังฟิล์มนัวร์บางเรื่อง แต่ต่างกันตรงที่หนังฟิล์มนัวร์เหล่านั้นสะท้อน “สงครามเย็น” แต่หนังของ HANEKE สร้างขึ้นในยุคของ “บุช”

หนังฟิล์มนัวร์ที่ PAUL ARTHUR ยกตัวอย่าง

1.1 ACT OF VIOLENCE (1949, FRED ZINNEMANN) นำแสดงโดยเจเน็ต ลีห์จาก PSYCHO
http://www.imdb.com/title/tt0041088/

แฟรงค์ เอนเลย์ (VAN HEFLIN) เป็นทหารผ่านศึกที่อาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆ เขาแต่งงานและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (คิดถึง DANIEL AUTEUIL เลยแฮะ) จนกระทั่งเขาได้รู้ว่าโจ ปาร์คสัน (ROBERT RYAN) เข้ามาอยู่ในเมืองนี้ และปาร์คสันอาจจะต้องการแก้แค้นให้กับเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในค่ายทหารผ่านศึกในเยอรมนี

เอนเลย์รู้สึกหวาดกลัวปาร์คสันมาก เขาตัดสินใจเดินทางไปแอลเอ แต่ปาร์คสันก็สะกดรอยตามเขาไป


1.2 IN A LONELY PLACE (1950, NICHOLAS RAY)

หนังเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นฮอลลีวู้ด ดิกสัน สตีล (ฮัมฟรีย์ โบการ์ท) เป็นนักเขียนบทภาพยนตร์ที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว และเขาก็ตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมหญิงสาวคนหนึ่ง จนกระทั่งลอเรล เกรย์ (GLORIA GRAHAME) ยอมโกหกเพื่อช่วยเขา โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นฆาตกรตัวจริงหรือเปล่า

ตัวละครในหนังเรื่องนี้น่าสนใจมาก สตีลเป็นคนที่บุคลิกกร้าวแกร่ง แต่จริงๆแล้วเขาเป็นคนโรคจิตที่อ่อนไหวและไม่มั่นคง ส่วนกลอเรีย เกรแฮม ก็ไม่ใช่หญิงร้ายธรรมดา แต่เป็นคนที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก

นักวิจารณ์บอกว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอ “ความเจ็บปวด”, “ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ” และ “การสูญสิ้นความศรัทธา” ได้อย่างเยี่ยมยอดมาก

GLORIA GRAHAME
http://www.atomicpinup.com/images/Gloria_Grahame_2.jpg


2.THE SOCIETY OF THE SPECTACLE (1973, GUY DEBORD)
http://www.imdb.com/title/tt0070712/
http://www.english.ucsb.edu/faculty/warner/courses/w00/engl30/Debordcov.jpg

หนังเรื่องนี้สร้างจากหนังสือของ GUY DEBORD ในปี 1967 และมีเนื้อหาเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตในลัทธิทุนนิยม-บริโภคนิยม ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน ผู้ชมบอกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนแนวคิดของกลุ่ม SITUATIONISTS และแนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อ JEAN BAUDRILLARD และแนวคิด POST-STRUCTURALISM ด้วย (มันแปลว่าอะไรบ้างน่ะ)

สิ่งที่อยู่ในหนังเรื่องนี้

2.1 ภาพจากหนังฮอลลีวู้ด

2.2 ภาพจากหนังโซเวียต

2.3 ภาพจากหนังโป๊แนวซอฟท์คอร์

2.4 ภาพจากชีวิตประจำวัน

2.5 ภาพจากเหตุจลาจลในฝรั่งเศสในเดือนพ.ค.ปี 1968

หนังเรื่องนี้จะได้รับการผลิตเป็นดีวีดีในเร็วๆนี้ ด้วยการผลักดันจาก OLIVIER ASSAYAS เพราะ ASSAYAS ชอบหนังของ DEBORD มาก และเคยโหวตให้หนังเรื่อง IN GIRUM IMUS NOCTE ET CONSUMIMUR IGNI (1973, GUY DEBORD) ติดอันดับหนึ่งในหนังที่เขาชื่นชอบที่สุดในชีวิต

นอกจาก THE SOCIETY OF THE SPECTACLE และ IN GIRUM IMUS NOCTE ET CONSUMIMUR IGNI แล้ว หนังอีกเรื่องของ GUY DEBORD ที่จะได้ออกขายในรูปแบบดีวีดีคือเรื่อง HOWLINGS IN FAVOR OF DE SADE (1952)

ชื่อหนัง IN GIRUM IMUS NOCTE ET CONSUMIMUR IGNI เป็น PALINDROME (คำที่อ่านจากหลังไปหน้าหรือหน้าไปหลังก็ได้ อย่างเช่นคำว่า AVIVA) และเป็นคำลาตินที่แปลว่า "We spin around the night we are consumed by the fire".

อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่องนี้ได้ในเว็บไซท์ NOTHINGNESS.ORG
http://library.nothingness.org/articles/SI/en/display/87

GUY DEBORD เกิดปี 1931 และฆ่าตัวตายในปี 1994


นอกจากนี้ PAUL ARTHUR ยังบอกว่าหนังของ HANEKE ใกล้เคียงกับผลงานของศิลปินเยอรมันหลายคนด้วย ซึ่งรวมถึง


3.WHY DOES HERR R. RUN AMOK? (1970, RAINER WERNER FASSBINDER)
http://www.cinematicreflections.com/WhyDoesHerrRRunAmok.html
http://images.amazon.com/images/P/B0002VEVDO.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

หนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับหนังไตรภาคชุดแรกของ HANEKE โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ HERR R. (KURT RAAB) ผู้ชายที่ดูเหมือนมีชีวิตปกติ ผมเขาเรียบแปล้, แต่งตัวสุภาพ, เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี, ทำตัวดีกับครอบครัว, รักและเอาใจใส่ลูกชาย หนังเรื่องนี้สะท้อนชีวิตประจำวันของชนชั้นกลางไปเรื่อยๆ ในขณะที่ HERR R. ปฏิบัติตัวตามที่สังคมต้องการให้เขาทำ จนในที่สุด ก็มาถึงตอนจบที่สร้างความช็อคอย่างรุนแรงให้กับคนดู

นักวิจารณ์บอกว่าการถ่ายทำในหนังเรื่องนี้เหมือนกับ ELEPHANT ของ GUS VAN SANT เพราะกล้องจะทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่พยายามให้คำอธิบายใดๆต่อสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้


4.หนังบางเรื่องของ JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรม

ผลงานการกำกับของ STRAUB + HUILLET ก็เช่น

4.1 NOT RECONCILED OR ONLY VIOLENCE HELPS WHERE VIOLENCE RULES (1965)

หนังเรื่องนี้สร้างจากนิยายเรื่อง BILLIARDS AT HALF PAST NINE ของ HEINRICH BOLL และเป็นหนังที่ตัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปจนหมดในขณะที่การแสดงในหนังเรื่องนี้ก็เป็นการแสดงแบบละครของแบร์โทลท์ เบรคท์ ที่ตอกย้ำให้ผู้ชมรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังชม “การแสดง” อยู่

หนังเรื่องนี้นำเสนอประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเยอรมนีผ่านทางเศษเสี้ยวชีวิตของครอบครัวเยอรมันชนชั้นกลาง 3 ชั่วอายุคน ตั้งแต่ยุคแอนตี้คอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 1910 มาจนถึงยุคกวาดล้างชาวยิวในทศวรรษ 1930 และมาถึงกระแสการเมืองในทศวรรษ 1960


4.2 THE BRIDEGROOM, THE ACTRESS AND THE PIMP (1968)

สร้างจากบทละครเวทีของ FERDINAND BRUCKNER และตัวหนังประกอบด้วย 3 ซีเควนซ์ด้วยกัน โดยซีเควนซ์แรกเป็น tracking shot ที่ยาวนานที่ถ่ายออกจากหน้าต่างรถยนต์เพื่อบันทึกภาพบรรดาโสเภณีที่ยืนเรียงรายอยู่ข้างถนนในยามกลางคืนในเยอรมนี, ซีเควนซ์ที่สองเป็นการถ่ายทำละครเวทีในเทคเดียว ส่วนซีเควนซ์ที่สามเป็นเรื่องของลิลิธ ผู้ฆ่าแมงดาของเธอ (รับบทโดยไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์)


4.3 EYES DO NOT WANT TO CLOSE AT ALL TIMES, OR, PERHAPS ONE DAY ROME WILL ALLOW HERSELF TO CHOOSE IN HER TURN (1970)

หนังเรื่องนี้สร้างจากบทละครเวทีของ CORNEILLE ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาณาจักรโรมยุคปลาย โดยตัวหนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการที่ “เหตุการณ์” ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมกระแสหลัก และการที่ประชาชนใช้สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ระบบสื่อสาร” และกลายมาเป็น “วัฒนธรรม”


5.HOW TO LIVE IN THE GERMAN FEDERAL REPUBLIC หรือ LEBEN - BRD (1990, HARUN FAROCKI)
http://images.amazon.com/images/P/1565802268.01.LZZZZZZZ.jpg

หนังเรื่องนี้ประกอบด้วยช็อต 32 ช็อตที่นำเสนอกระบวนการฝึกอบรมของคนอาชีพต่างๆในเยอรมนี คนเหล่านี้ดูเหมือนเครื่องจักร และการกระทำของพวกเขาไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและคิดขึ้นมาเอง พวกเขาซ้อมทำสิ่งเดียวกันไปเรื่อยๆ

อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/02/21/farocki_siebel.html

What we see is, on the surface, nothing “special”: daily life, that's it in a nutshell (the film's ironic title couldn't possibly be any better)


6.บทประพันธ์ของ FRANZ KAFKA, HEINRICH BOLL และ PETER HANDKE ซึ่งมักนำเสนอกิจกรรมที่แปลกประหลาดด้วยอารมณ์ที่เรียบเฉย


7.ภาพวาดของ GERHARD RICHTER ที่วาดภาพของกลุ่มผู้ก่อการร้ายแก๊ง BAADER-MEINHOF ของเยอรมนี

ดูภาพวาดดังกล่าวได้ที่
http://www.baader-meinhof.com/special/RichterExhibit.htm

ภาพวาดการจับกุมตัว ANDREAS BAADER, JAN-CARL RASPE และ HOLGER MEINS ซึ่งเป็นผู้ก่อการร้าย
http://www.baader-meinhof.com/images/RichterArrest1L.jpg

ภาพวาดรูป GUDRUN ENSSLIN ซึ่งเป็นแฟนของแอนเดรอัส บาเดอร์ ผู้นำผู้ก่อการร้าย
http://www.baader-meinhof.com/images/RichterConfrontation1L.jpg

ภาพวาดห้องขังของแอนเดรอัส บาเดอร์ในคุก STAMMHEIM
http://www.baader-meinhof.com/images/RichterCellZelleL.jpg


8.ภาพถ่ายอาคารสถาปัตยกรรมของ THOMAS STRUTH
http://www.tate.org.uk/collection/P/P20/P20158_9.jpg
http://www.kgi.ruhr-uni-bochum.de/archphot/images/struth1_1.jpg


9.ภาพถ่ายอาคารสถาปัตยกรรมของ ANDREAS GURSKY
http://www.its.caltech.edu/~squires/gursky/
http://www.its.caltech.edu/~squires/gursky/pics/gursky_montparnasse.jpg



12.THE GREAT RAID (2005, JOHN DAHL, A+)

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังดี แต่เนื่องจากหนังหล่อมากก็เลยได้ A+ ดูหนังเรื่องนี้แล้วไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังดูหนังสงคราม หรือหนัง “ปฏิบัติการนายแบบบุกช่วยนายแบบ”

สิ่งที่ประทับใจมากในหนังเรื่องนี้

12.1 สารคดีช่วงต้นกับช่วงท้ายเรื่อง รู้สึกว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้กล้ามากที่ใส่ภาพจากสารคดีไว้ในช่วงต้นเรื่อง เพราะภาพจากสารคดีแสดงให้เห็นว่า “เชลยสงคราม” ตัวจริงมีสภาพที่ผอมแห้งเหลือแต่โครงกระดูก แต่พอเข้าสู่ช่วงของเนื้อเรื่องแล้ว หนังก็แสดงให้เห็นว่าเชลยสงครามในหนังดูแตกต่างจากเชลยสงครามในสารคดีมากๆ เพราะพวกเขาดูหล่อเหลาบึกบึนสมบูรณ์กว่าเชลยสงครามตัวจริงมาก ผู้กำกับหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่หนังเหมือนกับจะบอกว่า “หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงนะ แต่ฉันไม่ได้พยายามจะทำให้ภาพในหนังดูเหมือนของจริงหรอก คุณดูภาพของจริงเอาจากสารคดีก็แล้วกัน”

12.2 เป็นหนังการรบในสงครามที่พอดูรู้เรื่อง ในขณะที่หนังการรบในสงครามส่วนใหญ่ดิฉันดูไม่ค่อยรู้เรื่อง ซึ่งรวมถึง BLACK HAWK DOWN และ BAND OF BROTHERS

อย่างไรก็ดี รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีข้อเสียตรงที่ดนตรีประกอบที่ชี้นำอารมณ์มากเกินไป

หนังเรื่องนี้เลือกนำเสนอเฉพาะส่วนที่ “ไม่โหดร้าย” ด้วย เพราะนำเสนอเฉพาะช่วงที่ทหารอเมริกันประสบความสำเร็จ แต่หลีกเลี่ยงที่จะนำเสนอช่วงที่ทหารอเมริกันประสบความพ่ายแพ้ในช่วงก่อนหน้านั้น ทั้งๆที่เรื่องราวในช่วงก่อนการบุกช่วยเชลยเป็นช่วงที่น่าสนใจมากๆๆ

ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ใน THE GREAT RAID เคยเกิดเหตุการณ์ BATAAN DEATH MARCH ในฟิลิปปินส์ในปี 1942 ซึ่งส่งผลให้มีทหารอเมริกันตายไปเป็นจำนวนมาก
http://history.acusd.edu/gen/st/~ehimchak/death_march.html

IRIS CHANG ผู้เขียนหนังสือ “หลั่งเลือดที่นานกิง” ฆ่าตัวตายหลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ BATAAN DEATH MARCH
http://www.sfgate.com/cgi-bin/article.cgi?file=/c/a/2004/11/12/MNGTJ9QGVV1.DTL

หนังเกี่ยวกับเชลยสงครามที่อยากดู รวมถึงเรื่อง THE PURPLE HEART (1944, LEWIS MILESTONE) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารอเมริกันที่ตกเป็นเชลยสงครามในญี่ปุ่น นำแสดงโดย DANA ANDREWS และ FARLEY GRANGER (STRANGERS ON A TRAIN, ROPE, SENSO)
http://www.imdb.com/title/tt0037197/
http://rinkworks.com/movies/m/the.purple.heart.1944.shtml
http://images.amazon.com/images/P/630166275X.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

ส่วนหนังเกี่ยวกับทหารที่อยากดูที่สุดในตอนนี้ ยังคงเป็นเรื่อง WINTER SOLDIER ที่เป็นการสัมภาษณ์ทหารอเมริกันในสงครามเวียดนาม คิดว่าคนที่ชอบที่ CASUALTIES OF WAR (1989, BRIAN DE PALMA, A++++++) น่าจะชอบหนังเรื่องนี้
http://www.wintersoldierfilm.com/
http://www.wintersoldierfilm.com/winterposter.jpg
http://www.wintersoldierfilm.com/chicago_reader05.html

No comments: