Saturday, May 13, 2006

HEAVEN'S MEADOW (A+)

หนังที่ได้ดูในช่วงนี้

1.DOGVILLE (2003, LARS VON TRIER, A+)
http://www.dogvillemovie.com/
ชอบการแก้แค้นของนางเอกที่ทำต่อวีร่าเป็นอย่างมาก


2.HEAVEN’S MEADOW (2005, DETLEV F. NEUFERT, A+)
ดูที่ลิโด
http://www.heavensmeadow.com/

3.PSY SHOW (1999, MARINA DE VAN, A+)

4.PRETTY PERSUASION (2005, MARCOS SIEGA, A+)

5.DOWN IN THE VALLEY (2005, DAVID JACOBSON, A+/A)

6.HONEY (2003, BILLE WOODRUFF, A+/A)
ดูทาง HBO เป็นหนัง FEEL GOOD สูตรสำเร็จที่ชอบมากๆ

7.POSEIDON (2006, WOLFGANG PETERSEN, A-)

8.MOR 8 (2006, YONGYUTH PINIJPONGSE, C-)


MOST DESIRABLE ACTOR
1.MIKE VOGEL – POSEIDON
http://www.mike-vogel.com/images/premiere/rumor_premiere01.jpg

2.SHAWN DESMAN – HONEY
เขาโผล่มาประมาณ 5 วินาทีในเรื่องนี้
http://photos.lacoccinelle.net/68/03/216803.jpg


FAVORITE ACTRESS
1.EVAN RACHEL WOOD – PRETTY PERSUASION

2.ELISABETH HARNOIS (1979) – PRETTY PERSUASION
เธอเคยเล่น STRANGERS WITH CANDY (2005, PAUL DINELLO)


FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
1.JANE KRAKOWSKI – DOGVILLE

2.PATRICIA CLARKSON – DOGVILLE

3.JACINDA BARRETT – POSEIDON
เธอเคยเล่น BRIDGET JONES: THE EDGE OF REASON (2004, BEEBAN KIDRON, B)

4.JOY BRYANT – HONEY
เธอเคยเล่น BAADASSSSS! (2003, MARIO VAN PEEBLES, A)
http://sacmedia.net/khtk/phantom/joy_bryant/joy_bryant-1lg.jpg

5.ANNEMARIE DURINGER (1925) (CILLY) – BERLIN ALEXANDERPLATZ

เธอเคยเล่น THE LACEMAKER (1977, CLAUDE GORETTA) โดยรับบทเป็นแม่นางเอก และเล่นหนังเรื่อง THE PLOT TO ASSASSINATE HITLER (1955, FALK HARNACK, A-)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0008ENMQC.01.LZZZZZZZ.jpg

6.TRAUTE HOSS (EMMI) – BERLIN ALEXANDERPLATZ
http://www.imdb.com/name/nm0388592/
http://www.duesseldorfer-schauspielhaus.de/presse/archiv_ensemble/Images/Hoess__Traute.jpg
เธอเคยเล่น LOVE YOUR FEMALE NEIGHBORS (1998, DETLEV BUCK)
http://images.amazon.com/images/P/B00004RYQ3.01.LZZZZZZZ.jpg


FAVORITE SUPPORTING ACTOR
1.STELLAN SKARSGARD (CHUCK) – DOGVILLE

2.BEN GAZZARA (JACK MCKAY) – DOGVILLE

3.JAMES NESBITT (DETECTIVE BANNER) – MATCH POINT
เขาเล่นหนังเรื่อง MILLIONS (2004, DANNY BOYLE, A-)

4.JOSH ZUCKERMAN – PRETTY PERSUASION

5.GARRET DILLAHUNT (1964) – DEADWOOD
http://mirrorimageorigin.collegepublisher.com/media/paper328/stills/bm19pe06.jpg
เขาเคยรับบทเป็น JESUS CHRIST ใน THE BOOK OF DANIEL (2006)

6.RAY MCKINNON (1961) – DEADWOOD
http://www.saputofamily.com/art/hwsmith.jpg
เขาเคยได้รับรางวัลออสการ์จากการกำกับหนังสั้นเรื่อง THE ACCOUNTANT (2001)


FAVORITE SOUNDTRACK
1.I’M GOOD – BLAQUE – HONEY
http://www.amazon.com/gp/product/B0000DD78C/sr=8-1/qid=1147500829/ref=pd_bbs_1/102-3746424-2547359?%5Fencoding=UTF8

2.NO MORE DRAMA – MARY J. BLIGE – HONEY

3.I BELIEVE – YOLANDA ADAMS – HONEY

4.DOWN IN THE VALLEY
เพลงในหนังเรื่องนี้เป็นของ MAZZY STAR


FAVORITE TV PROGRAM
คุยแหกโค้ง เมื่อคืนวันพฤหัสบดี เมื่อ “ยิ่งศักดิ์” ปะทะ “ลีน่า จัง”



FAVORITE OLD SONG OF THE WEEK

LEAVIN’ ในอัลบัม FIRST CONTACT (2001, A-) ของ ROGER SANCHEZ โดยมี ANGELA JOHNSON มาให้เสียงร้องนำในเพลงนี้ และเพลงของเธอกินขาดเพลงของ N’DEA DAVENPORT (อดีตนักร้องนำวง BRAND NEW HEAVIES) กับเพลงของ SHALEEN SPITERI (นักร้องนำวง TEXAS) ในอัลบัมชุดเดียวกันไปเลย


ความรู้สึกจากการดูหนังในช่วงนี้

HEAVEN’S MEADOW (หนังสารคดีเกี่ยวกับบ้านเพื่อเด็กกำพร้าเพราะโรคเอดส์ในประเทศไทย)

ความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหามากกว่าฝีมือการกำกับ เพราะรู้สึกว่าเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ดีมาก ถึงแม้ว่าการกำกับหนังเรื่องนี้อาจจะดูจงใจเรียกน้ำตาหรือสร้างความซาบซึ้งอยู่บ้าง รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ “จงใจซึ้ง” มากกว่าหนังเยอรมันยุคเก่าๆที่เคยดูมา แต่ก็ไม่ได้จงใจฟูมฟายมากเกินไป หนังมีการรักษาระยะห่างระหว่างผู้ชมกับคนในหนังมากพอสมควร โดยไม่ได้เข้าไปใกล้ชิดกับเด็กๆมากเท่า “เด็กโต๋” (A+) หรือ BORN INTO BROTHELS (2004, ZANA BRISKI + ROSS KAUFFMAN, A+/A)

จุดนึงที่ชอบในหนังเรื่องนี้ก็คือหนังแสดงให้เห็นมุมมองอย่างกว้างๆ หรือมองโครงสร้างรวมๆอยู่ด้วย โดยแทนที่หนังจะเจาะไปที่ชีวิตเด็กแต่ละคน หนังกลับให้เวลากับเรื่องการทำงานของคนในโรงพยาบาล, ทัศนคติของบริษัทที่เคยบริจาคเงิน, สัปเหร่อ, องค์การที่ทำงานคล้ายกัน, เจ้าลัทธิเรกิในเยอรมนี (ถ้าจำไม่ผิด), การดูถูกเหยียดหยามจากสวนสนุก, คณะแพทย์ชาวจีนที่มาเรียนรู้งาน ซึ่งวิธีการแบบนี้อาจจะสร้างความน่าเบื่อให้ผู้ชมบางคน และทำให้หนังมีลักษณะคล้ายสารคดีวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง แต่ถ้าหากใครชอบสารคดีวิทยาศาสตร์ของเยอรมนีอยู่แล้ว ก็อาจจะชอบตรงจุดนี้

อีกจุดที่ชอบมากก็คือการที่ฝรั่งเจ้าของโครงการที่อยู่อาศัยแห่งนี้เล่าให้ฟังถึงการเรียนรู้ข้อผิดพลาดต่างๆในการจัดตั้งโครงการ อย่างเช่น การที่เด็กๆมีชีวิตยืนยาวกว่าที่วางแผนไว้ในตอนแรก, การที่เด็กๆไม่ได้เจ็บป่วยจนต้องใช้รถเข็นเหมือนอย่างที่คาดการณ์ไว้ และการจัดระบบอำนาจที่ผิดพลาดในหมู่บ้าน การได้รับรู้ข้อมูลตรงจุดนี้เป็นการเตือนสติผู้ชมได้เป็นอย่างดีว่า การทำงานต่างๆต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ไม่ได้คาดฝันอยู่เสมอ และเราต้องพร้อมที่จะเผชิญกับเรื่องเหล่านี้

จุดที่ซึ้งมากในหนังเรื่องนี้คือการที่หนังเล่าชีวิตเด็กบางคนในช่วงก่อนจะมาเข้าโครงการเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเราได้เห็นรูปเก่าๆของเขา หรือได้เห็นรูปของเขาในปัจจุบัน และลอง “จินตนาการ” ถึงชีวิตของเขาในอดีต เราก็จะรู้สึกเจ็บปวดมาก การได้เห็นดวงตาในภาพถ่ายของเด็กบางคนในอดีตทำให้รู้สึกอยากร้องไห้ออกมา เพราะเด็กบางคนในกลุ่มนี้เกิดมาโดยไม่เคยรู้จักคำว่า “ความรัก” เมื่อพวกเขาเกิดมา พ่อแม่ก็กำลังจะตายเพราะโรคเอดส์ ญาติๆก็รังเกียจเขา สังคมในหมู่บ้านก็รังเกียจเขา เมื่อพวกเขาลืมตาขึ้นมาดูโลก สิ่งเดียวที่พวกเขารู้จักก็คือคำว่า “ความเกลียดชัง” ที่ญาติๆและสังคมรอบข้างมอบให้กับเขา ทั้งๆที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว การได้เห็นเด็กๆที่เคยเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเกลียดชังจากคนในครอบครัวและคนในสังคม คือเหตุผลหลักที่ทำให้ดิฉันรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ และทำให้ชอบฉากจบของหนังเรื่องนี้มากๆ ที่จบด้วยภาพรอยยิ้มของเด็กๆหลายๆคน เพราะถึงแม้หนังเรื่องนี้จะให้เราได้เห็นแต่ภาพ “รอยยิ้ม” ของเด็กๆเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ได้รับรู้ว่ากว่าเด็กๆเหล่านี้จะสามารถ “ยิ้ม” ได้นั้น พวกเขาต้องผ่านพบกับ “ความเกลียดชัง” มาแล้วมากมายมหาศาลเพียงใด

อีกจุดที่ทำให้ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งมาก แม้จะรู้ตัวว่าหนัง “จงใจซึ้ง” ตรงจุดนี้ ก็คือการที่หนังเลือกเด็กหน้าตาดีคนหนึ่งมาให้สัมภาษณ์บ่อยๆ และสิ่งที่เด็กคนนี้พูดก็ซึ้งมาก เพราะในขณะที่เรามองว่าเด็กคนนี้ “น่าสงสาร” แต่สิ่งที่เด็กคนนี้พูดออกมา กลับแสดงให้เห็นว่า เขามักจะคิดว่า “มีเด็กอีกมากมายหลายคนที่น่าสงสารและต้องการความช่วยเหลือมากกว่าเขาอีกหลายเท่า” และนั่นเป็นมุมมองที่น่าทึ่งมาก

ในขณะที่หนังเรื่อง HELL ของ DANIS TANOVIC เพิ่งถ่ายทอดนรกในใจมนุษย์ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม หนังเรื่อง HEAVEN’S MEADOW ก็ถ่ายทอด “สวรรค์บนดิน” ออกมาได้อย่างดีมากเช่นกัน

ก่อนหน้านี้เคยมีการถ่ายทำภาพยนตร์เกี่ยวกับโรคเอดส์ในไทยมาแล้วเหมือนกัน ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์สารคดีเรื่อง MERCY (2002, JEANNE HALLACY + JAMLONG SAIYOT, C+) ที่มีเนื้อหาดีมากๆ แต่ดิฉันดูแล้วรู้สึกค่อนข้างเบื่อ อย่างไรก็ดี คุณค่าของหนังสารคดีประเภทนี้ คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสนุกตื่นเต้นหรือความเป็นศิลปะแต่อย่างใด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MERCY ได้ที่
http://www.der.org/films/mercy.html

หนังอีกเรื่องนึงที่เหมาะจะนำมาดูควบกับ HEAVEN’S MEADOW ก็คือ THE ORPHANS OF NKANDLA (2004, BRIAN WOODS) ที่เล่าเรื่องของเด็กกำพร้าเพราะโรคเอดส์ในแอฟริกาใต้ แต่หนังสารคดีเรื่องนั้นทำให้เราได้เห็นภาพของ “นรก” อย่างชัดเจน เพราะเด็กๆในหนังเรื่องนั้นแทบไม่ได้รับความช่วยเหลือเลย ในขณะที่เด็กอยู่ในสภาพใกล้เคียงกันใน HEAVEN’S MEADOW ได้รับความช่วยเหลือแล้ว


POSEIDON (2006, WOLFGANG PETERSEN, A-)

ชอบมากที่หนังเรื่องนี้แทบไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเกี่ยวกับตัวละครและไม่ค่อยให้เวลากับ “ฉากซึ้งๆ” มากนัก แต่แสดงให้เห็นว่าคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้นคงเอาแต่คิดเอาตัวรอดไปเรื่อยๆให้เร็วที่สุดมากกว่าจะมาทำซึ้งๆ และดิฉันก็เดาว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้จะพยายามทำซึ้งหรือพยายามจะสร้างความลึกให้กับตัวละครมากกว่านี้ WOLFGANG PETERSEN ก็อาจจะไม่ใช่ผู้กำกับที่เหมาะกับภารกิจแบบนั้นสักเท่าไหร่

ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึง

1.การเล่นวิดีโอเกม

2.CUBE เพราะตัวละครต้องร่วมมือกันเอาชนะอุปสรรคขณะเปลี่ยน “ห้อง” ไปเรื่อยๆ

3. ละครทีวีชุด MCGUYVER

ส่วนหนัง/ละครเกี่ยวกับหายนะในเรือที่ชอบมากยังคงเป็น THE FRENCH ATLANTIC AFFAIRS (1979, DOUGLAS HEYES) ที่มีความยาว 4 ชม. 38 นาที (278 นาที) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรือสำราญที่โดนโจรปล้น จำได้ว่าดูตอนเด็กๆทางช่อง 3 แล้วชอบมาก แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าได้มาดูตอนโตจะยังชอบเหมือนเดิมหรือเปล่า

ถ้าจำไม่ผิด ฉากที่ชอบสุดขีดใน THE FRENCH ATLANTIC AFFAIRS คือฉากที่โสเภณีสาวคนนึงกำลังจะถูกผู้ร้ายฆ่าตาย แต่เธอกลับชิงลงมือฆ่าผู้ร้ายตายก่อนด้วยการชักมึดแทงเข้าที่คอของผู้ร้ายคนนั้น ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าดาราที่รับบทเป็นโสเภณีสาวใจเพชรในมินิซีรีส์เรื่องนี้คือ MARIE-FRANCE PISIER (CELINE AND JULIE GO BOATING) หรือเปล่า
http://www.imdb.com/title/tt0078614/


มอ๘ (2006, YONGYUTH PINIJPONGSE, C-)

ในที่สุด BOA (C-) ก็พลาดตำแหน่งหนังไทยที่ดิฉันชอบน้อยที่สุดในปีนี้ไปแล้ว เพราะถึงแม้ BOA จะห่วย แต่ดิฉันก็ไม่ได้คาดหวังอะไรจากหนังมากนักอยู่แล้ว แต่ มอ๘ เป็นหนังที่ทำ “ตัวอย่าง” ออกมาได้น่าสนใจมาก แต่พอเข้าไปดูแล้วกลับไม่มีอารมณ์ร่วมกับหนังเลยแม้แต่นิดเดียว ถึงแม้จะชอบการแสดงของนักแสดงบางคนและชอบโปรดักชันของหนังก็ตาม ดิฉันคิดว่า มอ๘ ไม่ได้เป็นหนังห่วย แต่รู้สึกเพียงแค่ว่าหนังเรื่องนี้ไม่เข้าทางดิฉันเลยแม้แต่น้อย

ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันว่าอะไรใน มอ๘ ที่ทำให้ดิฉันรู้สึกไม่ดีกับหนังอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ตอนแรกคิดว่าบางทีดิฉันอาจจะไม่ชอบการสั่งสอนผู้ชมในหนังเรื่องนี้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็เพิ่งได้ดูหนังเรื่อง FLAG CLASS A GRADE 4 (1976, KATSUHIKO FUJII) ซึ่งนำเสนอโรงเรียนที่ใสบริสุทธิ์มากๆ และเป็นหนังที่จงใจสั่งสอนผู้ชม และจงใจสร้างความซาบซึ้งอย่างรุนแรงเหมือนกันด้วย แต่ดิฉันกลับรู้สึกซึ้งไปกับ FLAG CLASS A GRADE 4 แต่รู้สึกต่อต้าน มอ๘

สิ่งที่รู้สึกว่าซึ้งสุดขีดใน FLAG CLASS A GRADE 4 ก็คือการที่หนังเรื่องนี้สอนให้เด็กๆรู้จักรัก “แม่เลี้ยง” ถึงแม้เขาจะไม่ใช่แม่จริงๆก็ตาม และการที่หนังเรื่องนี้สอนให้เด็กรู้จัก “เห็นหัวจิตหัวใจ” ของครูแก่ๆ เพราะเด็กๆมักจะตื่นเต้นและรัก “ครูสาวๆ” และมักจะมองข้ามหัวครูแก่ๆไป

หลังจากดู มอ๘ เสร็จ ดิฉันก็เลยรู้สึกว่าดิฉันชอบ FLAG CLASS A GRADE 4 เพิ่มขึ้นจาก A- เป็น A ในทันที และทำให้รู้สึกชอบ “แค่เพื่อนค่ะพ่อ” (2006, วีรพงษ์ กาญจนานิจ, A-/B+) เพิ่มขึ้นด้วย

No comments: