Saturday, May 20, 2006

RAINBOW KIDS (KIHACHI OKAMOTO)

เทศกาลหนังต่างๆ ในช่วงนี้ รวบรวมโดยน้อง merveillesxx
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=merveillesxx&group=2

1. Japanese 6 18-24 พ.ค. โรงหนัง House RCAhttp://www.houserama.com/shownews.php?no=000233

2. เทศกาลหนังนิวซีแลนด์24-30 พ.ค. SFX Emporiumรายละเอียด : PULP ปก X-MEN 3 หน้า 151
http://www.nzfilm.co.nz/
http://www.massivesoftware.com/

3. เทศกาลหนังสั้นใต้ร่มเงาสมานฉันท์ 27-28 พ.ค. โรงหนัง House RCA 12.30

รายละเอียด : BIOSCOPE ปก The Da Vinci Code

4. งานกางจอ27-28 พ.ค.คณะนิเทศ จุฬา ตึก1 ห้องประชุม ดร.เทียมวันละสองรอบ 14.00 และ 18.00

5. หน้ากากเปลือย Show Case
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=29911

6. เทศกาลหนังฝรั่งเศส http://www.thaiticketmaster.com/events/lafete2006.php

** เทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศส ภาพยนตร์กว่าสิบเรื่องที่ยังไม่เคยฉายมาก่อนในประเทศไทย (ช่วงปี ๒๕๔๗ และ ๒๕๔๙) พร้อมการมาปรากฏตัวของเหล่านักแสดง วันที่ : ๒๙ มิถุนายน ถึง ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙สถานที่ : เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน

** ( Too Short ) - เทศกาลหนังสั้น หัวข้อ ( ประเทศไทยกับ โลกวัฒนธรรมประชาคมโลกผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ) วันที่ : ๗ ถึง ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙สถานที่ : ออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

ต้องกราบขอบคุณน้อง merveillesxx เป็นอย่างยิ่งค่ะสำหรับข้อมูลเหล่านี้ รู้สึกเสียดายเหมือนกันที่ดิฉันต้องทำงานในวันเสาร์ที่ 27 พ.ค. ซึ่งคงส่งผลให้พลาดชมภาพยนตร์ไปหลายเรื่อง

อีกงานหนึ่งที่น่าดูมากในตอนนี้คืองานนิทรรศการ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ของสาครินทร์ เครืออ่อน และไมเคิล เชาวนาศัยที่หอกลาง จุฬาค่ะ อ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/art/current/index_th.html

17 เมษายน – 3 มิถุนายน 2549
มือใครยาวสาวได้สาวเอา
สาครินทร์ เครืออ่อน และศิลปินรับเชิญ ไมเคิล เชาวนาศัย

ความเสมอภาคทางโอกาส เปรียบเสมือนจุดหมายอันแสนไกล ณ เส้นขอบฟ้า ที่รอให้ผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์เดินทางไปเยือน เพียงเพื่อจะพบว่า แท้จริงแล้วก็แค่คำโฆษณาชวนเชื่อเพื่อก่อให้เกิดพลังแห่งความหวัง ความอยากได้อยากมี อันเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของระบบทุนนิยมลัทธิจูงใจ สร้างความเชื่อ และความหลงในการแสวงหาโอกาส เพื่อสร้างความมั่งมี กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของจักรวรรดิทุนนิยม เป็นกลไกที่เปลี่ยนแปลงค่านิยมด้านจริยธรรมของเราไปทีละน้อย จนการพึ่งพาอาศัยกัน การเผื่อแผ่เห็นใจผู้อ่อนแอ ด้อยโอกาส และการรู้จักเพียงพอ กลายเป็นสิ่งไร้สาระสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่หล่อเลี้ยงด้วยความฝันอันทะเยอทะยาน วัฒนธรรม และวิถีชีวิตถูกเปลี่ยน เราถูกชักจูงให้ศรัทธาในระบบทุนนิยม ให้เชื่อว่าเงินและวัตถุคือปัจจัยหลักที่จะทำให้มาตรฐานชีวิตดีขึ้น และทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นเศรษฐีได้เท่าๆ กัน โดยไม่เน้นความชอบธรรมในการแสวงหาความมั่งคั่ง ทุกอย่างถูกตีราคา จนวัตถุกลายเป็นตัวตัดสินอำนาจของบุคคลข้าพเจ้าให้ชื่อผลงานนี้ว่า Equal Opportunity? “มือ ใครยาว สาวได้ สาวเอา” ความหมายที่แตกต่าง และการอธิบายคำจำกัดความของคำว่า “ ความเสมอภาคทางโอกาส” คือ ความพยายามที่จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ระหว่างความฝัน และความจริงที่ทับซ้อนกันอยู่ในสังคม สื่อผสมระหว่างวัตถุทางความเชื่อกับสื่ออิเล็กโทรนิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และตัวอักษรกับการนำเสนอ ในรูปแบบที่มีเนื้อความเสียดสีปรากฎการณ์ทางความคิดของผู้คน ด้วยการร่วมแสดงเป็นนางกวักอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน ไมเคิล เชาวนาศัย ศิลปิน Performance Art ผู้มีผลงานศิลปะต่อต้านความสมบูรณ์แบบ ย่อมเป็นการเน้นย้ำความคิดเห็นที่มีต่อการโฆษณาชวนเชื่อที่น่ารังเกียจนี้ ให้เด่นชัดขึ้นสัญลักษณ์นางกวักซึ่งแต่เดิมเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ยังได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับสภาพความเป็นไปของสังคมปัจจุบัน ความหวังที่หลอมรวมเข้ากับความละโมบ ได้ก่อตัวเป็นรูปธรรม เป็นมหาวิหารแห่งความศรัทธา ที่มีอิทธิพลโน้มนำให้สังคมดำเนินไปในทิศทางที่ผู้มีโอกาสมากกว่าต้องการ นั่นคือการก้าวไปสู่ยุคสมัยแห่งการฉกฉวย การหาเงินโดยไม่ต้องทำงาน คนฉลาดถูกสอนให้เอาเปรียบคนที่มีสติปัญญาด้อยกว่า คนร่ำรวยฉกฉวยผลประโยชน์จากคนยากจน คนมีอำนาจใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้องสังคมจะเป็นอย่างไรเมื่อความฉลาด ความร่ำรวย และอำนาจ ถูกผนวกเข้าไว้ด้วยกัน บางที การมีจริยธรรม การรู้จักให้ และการนับถือคนที่ความดี อาจเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝัง มากกว่าการสร้าง“ความเสมอภาคทางโอกาส” ที่เป็นเพียงอุดมคติสวยหรู แต่ไม่มีทางเป็นไปได้

สาครินทร์ เครืออ่อน

ชอบภาพของไมเคิล เชาวนาศัยภาพนี้มากๆเลยค่ะ
http://www.car.chula.ac.th/art/current/img_011/pic_07.jpg
วลาทำการ:จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 19.00 น.เสาร์ 9.00 – 16.00 น.ยกเว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ

FAVORITE COMMENTS

ความเห็นของคุณ PC เรื่องการเลื่อนฉาย “หมากเตะ”
อ่านเต็มๆได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=29718

คุณป้าครับ ผมพอจะเข้าใจความรู้สึกของคุณนะครับ ผมเองแม้จะไม่ใช่เป็นคนอีสาน แต่ก็ได้รับการศึกษาในภาคอีสาน และใช้เวลาอยู่ที่นั่นหลายปี นานพอที่จะมีความรู้สึกผูกพันธ์กับผู้คนและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ผมตระหนักดีถึงทัศนคติทางสังคมของคนในสังคมไทยว่ายังแฝงไว้ด้วยอัคติทางเชื้อชาติ ผมค่อนข้างเชื่อว่าผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้สร้างหนังเพื่อสนองอัคติของตัวเอง แต่ก็คิดเหมือนกันครับว่า สิ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สื่อก็ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดที่ว่า คนลาวยังด้อยกว่าคนไทย อาจจะเป็นแนวความคิดที่มีอยู่ในตัวโดยที่กลุ่มผู้สร้างยังไม่รู้ตัว ผมเองก็อยากจะลองชมดูว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ แต่ตอนนี้คงหมดโอกาสแล้วหล่ะครับ ผมเองยังคงคิดว่า ถ้าหนังเรื่องนี้มีโอกาสได้นำเสนอต่อสาธารณชน สาธารณชนยังสามารถตัดสินได้จากเนื้อหาที่นำเสนอว่ามันสร้างขึ้นจากอัคติจริงหรือไม่ หรือไม่ได้สร้างจากอัคติ แต่ก็ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดว่าเขาด้อยกว่าเรา ถ้าในภาพยนตร์มีส่งเหล่านี้อยู่จริง ผู้ที่เห็นถึงอัคติและการบิดเบือนที่มีในผลงานก็สามารถนำเสนอข้อมูลขึ้นมาโต้แย้ง และทำลายความน่าเชื่อถือของผลงานได้นี่ครับ ข้อมูลต่างๆที่นำเสนอต่อสาธารณชนจะเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้กับสาธารณชนไปด้วยในตัว ก่อให้เกิดการโต้แย้ง การค้นคว้าเพื่อหาเหตุผลมาหักล้าง ซึ่งจะนำไปสู่การงอกเงยทางปัญญาครับ และถึงแม้ว่ามันจะสร้างขึ้นมาจากอัคติทางเชื้อชาติ นั่นก็เท่ากับเป็นการให้ข้อมูลกับเราว่า สิ่งนั้นมันมีอยู่จริงในสังคม ซึ่งต้องดูถึงผลตอบรับของศาธารณชนด้วยละครับ แต่การแบนภาพยนตร์เรื่องนี้เท่ากับเป็นการตัดตอนกระบวนการทั้งหมดของการโต้แย้ง การหาข้อสรุป การได้มีโอกาสรู้ถึงทัศนคติของผู้คนในสังคมเราออกไปทั้งหมดเลยนะครับ การพยายามลบมันออกไปด้วยการแบนนี่ทำให้เราหมดโอกาสจะได้รู้ว่าสังคมของเรามีทัศนคติต่อเรื่องนี้กันยังไง เหล่านี้คือความสวยงามของการมีเสรีภาพครับ ผมเชื่อว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอมีสิทธิ์ที่จะแสดงความไม่พอใจออกมาได้ และขอบเขตที่ผู้ต่อต้านผลงานพึงกระทำได้ก็คือ ผู้ที่ต่อต้านผลงานสามารถชักชวนให้บอยคอท หรือนำข้อมูลมาโจมตี ชี้ให้สาธารณชนได้เห็นว่า เนื้อหาที่นำเสนอในภาพยนตร์นั้นมันออกมาจากทัศนคติแบบไหน แต่การดึงให้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการด้านเซ็นเซอร์นี่มันเกินขอบเขตถึงขั้นละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นเลยนะครับ ผมอาจจะมีอัคติส่วนตัวที่ค่อนข้างจะเคลือบแคลงการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐ (ผมทราบมาว่า บริษัทที่สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ระงับการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้เองโดยไม่มีกำหนด แต่ก็ต้องนับแรงกดดันจากหน่วยงานรัฐว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญด้วยล่ะครับ) เพราะข้ออ้างในการเซ็นเซอร์แต่เดิมนั้นจะมุ่งไปที่ภาพที่อนาจารและความรุนแรง แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะก้าวล่วงมาถึงเนื้อหาที่หนังนำเสนอแล้ว ใครจะรับประกันได้ล่ะครับว่า ถ้าวันนี้ปล่อยให้ฝ่ายรัฐเข้ามากำหนดว่าเนื้อหาอะไรที่เราไม่ควรได้รับอนุญาติให้ดู ต่อไป ถ้ามีผู้สร้างภาพยนตร์ต้องการนำเสนอเนื้อหาที่ตั้งคำถามกับนโยบายของรัฐ ฝ่ายรัฐก็อาจจะใช้ข้ออ้างถึงความไม่เหมาะสมของเนื้อหามาสั่งแบนหนังเรื่องนั้นได้อีก อาจจะเป็นข้ออ้างเรื่องความมั่นคง(ของผู้ที่อยู่ในอำนาจ) หรือข้ออ้างที่ว่าเนื้อหาไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจของผู้สร้างในการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายออกไปจากเนื้อเรื่องเดิมๆได้เหมือนกันนะครับ กรณีของภาพยนตร์เรื่องหมากเตะนี่ทำให้ผมนึกถึงหนังอเมริกันระดับตำนานอย่าง The Birth of a Nation (1915, D.W. Griffith) ที่ผู้สร้างนำเสนอผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาจากอัคติทางด้านเชื้อชาติโดยตรง และก็ยังนึกถึงผลงานดนตรีของ Richard Wagner ก็เกิดขึ้นจากความภาคภูมิใจทางเชื้อชาติที่มากจนเหมือนกับว่าเชื้อชาติของตนเหนือว่าเชื้อชาติอื่นๆ มันสมควรหรือเปล่าครับที่ผลงานเหล่านี้จะต้องแบกรับความผิดของผู้สร้าง และนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าสิทธิ์ในการแสดงความเห็นและสิทธิ์การรับรู้ของผู้ชมจะต้องถูกปิดกั้นนี่ครับ อย่างน้อยผลงานเหล่านี้ก็เหมือนกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า สังคมในยุคนั้นเคยมีทัศนคติแบบไหน เราเรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วกันได้บ้าง ผมยังเคยได้ชมภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของ Noam Chomsky ซึ่งท่านจัดได้ว่าเป็น self-avowed anarchists ท่านติดตามเฝ้าระวังการทำงานของสื่ออเมริกันที่คอยสนองนโยบายอำนาจนิยมของรัฐบาลมาโดยตลอด แต่ท่านก็ปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มคลั่งชาติบางกลุ่มด้วย แม้ว่าพวกนั้นจะมีทัศนคติทางการเมืองอยู่ในขั้วตรงข้ามกับท่านโดยสิ้นเชิง ที่ท่านทำอย่างนั้นเป็นเพราะท่านไม่ได้ปกป้องกลุ่มคนเหล่านั้น แต่ท่านปกป้อง free speech เพราะถ้าดึงให้อำนาจรัฐเข้ามาปิดกั้นการแสดงความเห็น มันก็ไม่ต่างอะไรกับวิธีการที่ใช้ในสังคมของพวกฟาสซิสท์เลยครับ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็ไม่ควรจะจำกัดเฉพาะแนวความคิดของฝ่ายเสรีนิยมเท่านั้น ผมก็ลองมานั่งคิดดูว่า การลดอัคติทางเชื้อชาติที่มีอยู่ในสังคมไทยนั้น ภาครัฐ บุคคล หรือองค์กรใดก็ตามที่ต้องการอย่างจริงใจที่จะเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ สิ่งที่พวกเขาควรจะทำเป็นสิ่งแรกก็คือ ผลักดันให้มีการชำระตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่เด็กนักเรียนใช้เรียนกันในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนจบระดับมัธยม ในตำราเหล่านั้นเต็มไปด้วยอัคติแทบจะทุกหน้า รวมทั้งข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ที่บิดเบือน นับได้ว่าเป็นการปลูกฝังอัคติทางเชื้อชาติอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ และสร้างความภาคภูมิใจแบบผิดๆให้กับจิตใจที่ยังไร้เดียงสา ทำให้เรามองผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านเหมือนกับเป็นศัตรู ถ้าจะดีขึ้นมาหน่อยก็ด้วยสายตาที่ดูถูก ทำให้เราคิดกันไปเองว่า เรานี้เป็นพวกรักสงบ มีแต่พวกรอบข้างที่จ้องจะทำลาย ทั้งๆที่ราชอาณาจักรของสยามนี่จัดได้ว่าเป็นนักล่าอาณานิคมระดับภูมิภาค เรากลับไม่เคยกล่าวถึง ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทยย่อมดีหมด ความเสื่อมทั้งหลายที่ปรากฏในสังคมเวลานี้ล้วนเป็นสิ่งที่เรารับมาจากภายนอก ถ้าภาครัฐมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหานี้ การแก้ไขเนื้อหาวิชาเรียนก็คงจะทำไปนานแล้วล่ะครับ แต่ผมว่าที่พวกเขาไม่ทำเพราะมันเป็นหนึ่งในกระบวนการปลูกฝังอุดมการณ์แบบชาตินิยม ซึ่งทำให้เรามีความศรัทธาในรัฐชาติในแบบเดียวกับความศรัทธาของศาสนา ทำให้เรารู้สึกว่าความรักชาติเป็นส่วนหนึ่งของระบบคุณธรรม คนดีต้องเป็นคนที่รักชาติด้วย ทั้งๆที่รัฐชาติไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่เป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนาจที่มนุษย์สร้างขึ้น ชาตินิยมจึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความถูกต้องทางคุณธรรมมากไปกว่าที่มันมีความเกี่ยวข้องทุกๆอย่างกับโครงสร้างทางอำนาจ ซึ่งความเชื่อในแบบนิยมนี้จะทำให้คนที่มีความศรัทธาตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่อยู่ในอำนาจได้ง่าย เราจะมองความผิดปรกติทางสังคมว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกเพียงอย่างเดียวโดยไม่แม้แต่คิดตั้งคำถามกันเลยว่า ความไม่ปรกติอาจจะมาจากอำนาจภายในรัฐชาติของเราเองก็ได้ ที่แน่ๆ การสนับสนุนกลไกการเซ็นเซอร์ของภาครัฐนี่ ผมว่านอกจากจะไม่สามารถกำจัดอัคติที่มีอยู่ในสังคมออกไปได้แล้ว ยังเข้าทางฝ่ายผู้มีอำนาจเสียอีก เพราะจะมีแต่พวกนั้นสามารถเลือกได้ว่า ผู้ถูกปกครองควรได้รับอนุญาติให้รับรู้ข้อมูลในด้านไหน และกระบวนการปลูกฝังทัศนคติต่างๆที่ไปกันได้กับโครงสร้างทางอำนาจจะทำได้ง่ายขึ้น รวมทั้งทัศนคติแบบชาตินิยมที่ส่งเสริมอัคติทางเชื้อชาติด้วยครับ

ความเห็นของคุณ PC เรื่องการเซ็นเซ่อ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=29078

เจแปนฟาวน์เดชั่นกรุงเทพฯ เพิ่มรอบฉายภาพยนตร์
ทุก 18.30 น. ของ วันอังคารที่ 1 และวันอังคารที่ 3 ของทุกเดือน
ภาพยนตร์ทุกเรื่อง มีคำบรรยายภาษาไทย
ชมฟรี ณ ห้องประชุมใหญ่ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ เวลา 18.30 น.

เจ เอฟ เธียเตอร์ มิถุนายน

Fri 2 June 2006 Darkness in the light (A-) 119 mins 2000 Directed by KUMAI Kei
เรื่องราวของการตามหาความจริงของนักข่าว เมื่อเกิดเหตุการณ์ลอบวางแก๊ซพิษซารินในเมืองมัตซึโมโตะ หนึ่งปีก่อนเหตุการณ์ลอบวางแก๊ซพิษชนิดเดียวกันในรถไฟใต้ดินของกรุงโตเกียว

KEI KUMAI เคยกำกับหนังเรื่อง THE SEA IS WATCHING (2002) และ SEN RIKYU: DEATH OF A TEA MASTER (1989, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0474743/
http://images.amazon.com/images/P/B0000CGNEG.01.LZZZZZZZ.jpg

Tue 6 June 2006 Rainbow Kids (A) 117 mins 1991 Directed by OKAMOTO Kihachi
เรื่องราวสืบสวนสอบสวนที่ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง “การลักพาตัวครั้งใหญ่” ของ ชิน เทนโดะ สื่อมวลชนต่างประโคมข่าวใหญ่เมื่อหญิงชราและผู้นำตระกูลมหาเศรษฐีถูกลักพาตัว ดูเหมือนแก๊งค์ลักพาตัวจะทำให้คุณยายไม่พอใจเสียแล้ว...

KIHACHI OKAMOTO (1923-2005) เคยรับบทเป็นครูใหญ่ใน BOY’S CHOIR (2000, AKIRA OGATA) และเคยกำกับหนังเรื่อง DIXIELAND DAIMYO (1986, A+), ZATOICHI MEETS YOJIMBO (1970), RED LION (1969). KILL! (1968), THE HUMAN BULLET (1968), THE SWORD OF DOOM (1966), SAMURAI ASSASSIN (1965)
http://www.midnighteye.com/features/kihachi_okamoto.shtml

http://images.amazon.com/images/P/B0006N0E4S.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00006AFIX.03.LZZZZZZZ.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B00004YKMP.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B000AQKUC2.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0009ZBVO0.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0000B1ODS.01.LZZZZZZZ.jpg


Fri 9 June 2006 Abduction (B-) 109 mins 1997 Directed by OKAWARA Takao
อะโตมิยะ, ยามาเนะ และ คันซากิ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโทโช กรุ๊ป ถูกโจรเรียกค่าไถ่ลักพาตัวไปทีละคน และเหตุการณ์นี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของประชาชนที่เมืองเมืองหนึ่ง ในจังหวัดยามานาชิ ความจริงถูกเปิดเผยว่า ซึดะ ตำรวจนักสืบ มีส่วนพัวพันกับคดีนี้ เนื่องจากคนในครอบครัวรวมทั้งตัวเขาเองต้องตกเป็นเหยื่อของสารพิษดังกล่าวที่บริษัทโตโช เคมิคอลเป็นตัวการเมื่อปี 1971

TAKAO OKAWARA เคยกำกับเรื่อง SUPERGIRL REIKO (1991) และหนังชุด GODZILLA


Fri 16 June 2006 Adrenaline Drive (B+) 112 mins 1999 Directed by YAGUCHI Shinobu
หลังจากขับรถชนท้ายรถจากัวร์สีดำของสมาชิกแก๊งยากูซ่า ซูซูกิ เสมียนบริษัทรถเช่าก็ถูกบังคับให้ไปยังที่ทำการแก๊ง เขาเกือบถูกจับหักนิ้วหมดแล้ว หากไม่เกิดการระเบิดขึ้นก่อน เป็นเหตุให้สมาชิกในแก๊งตายเกือบหมด ในเวลาเดียวกัน ชิซูโกะ พยาบาลสาวท่าทางเซื่อง ๆ กำลังจะออกกะ และต้องการออกไปหาซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ เธอประสบเหตุการณ์ระเบิดพอดี และเข้าไปช่วยซูซูกิซึ่งบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เขาถูกส่งขึ้นรถพยาบาลพร้อมกับคนขับรถจากัวร์สีดำซึ่งดูท่าว่าจะบาดเจ็บสาหัส และก่อนที่จะรู้ตัวว่าอะไรเป็นอะไร หนุ่มสาวทั้งสองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องหลบหนีพวกวายร้ายพร้อมกับเงินเปื้อนเลือดจำนวนมหาศาล เป็นภาพยนตร์ชวนหัวที่สุดเรื่องหนึ่งของญี่ปุ่นในระยะไม่กี่ปีมานี้


Tue 20 June 2006 Station 132 mins. 1981 Directed by FURUHATA Yasuo
ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นฉากชีวิต ณ ชานชาลาสถานีรถไฟอันเป็นทั้งฉาก “การเผชิญหน้าและการจากพราก” ของตัวละครทั้งหญิงและชายในเรื่องท่ามกลางทัศนียภาพอันงดงามของฮอกไกโด : นาโอโกะ ภรรยาเก่าของเออิจิ บอกลาเขาทั้งน้ำตา ซึซึโกะ ผู้ทรยศพี่ชายด้วยการล่อให้เขาออกมา ถูกเออิจิจับกุม คิริโกะเจ้าของร้านอาหารที่เห็นคนรักเก่าถูกเออิจิ ชายที่เธอเคยรักยิงต่อหน้าต่อตา และฟุยุโกะน้องสาวของเออิจิผู้รี ๆ รอ ๆ กับการตัดสินใจแต่งงานกับชายที่เธอไม่ได้รัก

YASUO FURUHATA เคยกำกับ POPPOYA: THE RAILROAD MAN (1999, A-) และ BUDDIES (1989, B+)


Fri 23 June 2006 My Secret Cache (A-/B+) 118 mins. 1997 Directed by YAGUCHI Shinobu
ซากิโกะสาวแบงค์รักเงินมากกว่าอะไรทั้งหมดในโลก วันหนึ่งเธอรู้เรื่องเงิน 500 ล้านเยนที่ซ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง เธอพยายามอย่างสุดกำลังในการค้นหาเงินนั้น..ชิโนบุ ยะงุจิเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คลื่นลูกใหม่ที่สามารถที่สุดผู้หนึ่ง ภาพยนตร์ชวนหัวและใหม่สดเรื่องนี้เป็นที่กล่าวขวัญถึงทั่วไป ทั้งยังได้รับรางวัลพิเศษ จากคณะกรรมการตัดสินในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ฮาวายอีกด้วย


Fri 30 June 2006 A Sand Castle Model Home Family 105 mins. 1989 Directed by SUZUKI Junichi
โดยที่ไม่ได้คาดฝันมาก่อน ครอบครัวคิโดได้เข้าไปอยู่ในบ้านตัวอย่างของบริษัทซื้อขายบ้าน หลังจากยื่นใบสมัครและผ่านการพิจารณา แต่พวกเขาก็ใช้ชีวิตเป็นครอบครัวตัวอย่างได้ไม่นานก็ตระหนักว่ามันเป็นเพียงการแสดงตบตาชาวบ้าน และถูกรุกรานความเป็นส่วนตัวจากผู้คนที่เข้ามาขอชมบ้านตัวอย่างจนไม่สามารถทนอยู่ต่อไปได้ ถึงกับบ้านแตกสาแหรกขาด แต่ในที่สุดพวกเขาก็รวมตัวกันได้อีกวาระหนึ่ง

JUNICHI SUZUKI เคยกำกับ THE LONELY AFFAIR OF THE HEART (2002) และ REMEMBERING THE COSMOS FLOWER (1997)
http://images.amazon.com/images/P/1892649411.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0000714DA.01.LZZZZZZZ.jpg


LEONARD COHEN เพิ่งออกหนังสือใหม่ค่ะ ชื่อ BOOK OF LONGING เป็นหนังสือรวมงานเขียน, บทกลอน และภาพวาดของเขา
http://www.amazon.com/gp/product/006112558X/qid=1148097249/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-5405638-9339060?s=books&v=glance&n=283155

http://images.amazon.com/images/P/006112558X.01._SCLZZZZZZZ_V55001076_.jpg

นอกจากนี้ ยังมีหนังสารคดีเรื่อง LEONARD COHEN: I’M YOUR MAN (2005, LIAN LUNSON) ที่น่าดูมากๆด้วย โดยมี BETH ORTON มาร่วมปรากฏตัวในหนังเรื่องนี้
http://www.leonardcohenimyourman.com/

No comments: