Tuesday, November 21, 2006

LEMMING VS. THE MOUSTACHE VS. THE RING FINGER

--อันนี้เป็นความเห็นที่ไปเขียนตอบใน BLOG ของคุณ THE AESTHETICS OF LONELINESS
http://theaestheticsofloneliness.blogspot.com/2006/11/blog-post_19.html

แฮะ แฮะ เราไม่มีความเห็นเรื่องภาพวาดนะ เราไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้ แต่คิดว่าภาพแรกให้อารมณ์ที่น่าสนใจดี ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้นะเนี่ยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสยองขวัญ มันดู “กลางๆ” ดี จะให้มันเป็นตึกในหนังสยองขวัญก็ได้ หรือเป็นตึกในหนังแนวอื่นๆก็ได้

เราชอบ TOOLBOX MURDERS (2004, A+) มากเลยล่ะ แต่ดูบางฉากแล้วแทบอ้วกออกมา ตอนที่ตัวละครไปเจอศพหลายๆศพน่ะ เราดูเรื่องนี้ในโรงหนังที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ก็เลยได้เห็นฉากศพเน่าใหญ่เต็มตา จอใหญ่ๆสามารถถ่ายทอดความน่าสะอิดสะเอียนได้มากเป็นพิเศษ

ถ้าพูดถึง “ตึก” ในหนังสยองขวัญแล้ว “ตึก” ที่เราชอบก็รวมถึง “ตึก” ในหนังเรื่อง

1.HOTEL (2004, JESSICA HAUSNER, A+)

2.INFERNO (1980, DARIO ARGENTO, A)
http://www.imdb.com/title/tt0080923/

3.DARK WATER (2005, WALTER SALLES, A+)

4.โรงแรมใน SILENT HILL (2006, CHRISTOPHE GANS, A-)

5.โรงแรมใน SEE NO EVIL (2006, GREGORY DARK, B+)


SCREENOUT PAGE 161
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4000

ตอบน้อง ZM

พูดถึงเวลาเจ็บคอแล้ว สิ่งที่พี่มักกินเป็นประจำเวลาเจ็บคอคือยาอมมะแว้งค่ะ พี่รู้สึกว่ามันใช้ได้ผลชะงัดกับตัวพี่มาก

รายละเอียดเกี่ยวกับยาอมมะแว้ง
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/dis/drugs47/24/24_12_ma_waeng.htm

ยาอมมะแว้ง (MA-WAENG LOZENGE)


ข้อบ่งใช้ แก้ไอขับเสมหะ

วิธีใช้ อมครั้งละ 3 – 5 เม็ด เมื่อมีอาการไอ
ขนาดบรรจุ
ยาอม 1 เม็ด ประกอบด้วย ผลมะแว้ง 18.89 % , ใบกระเพราแดง 5.9 % , ใบตาลหม่อน 5.9 %, ใบสวาด 4.71 %,ขมิ้นอ้อย 4.425 % , สารส้ม 2.190 %

รู้สึกตลกดีเมื่อเห็นว่าวิธีใช้คืออมครั้งละ 3-5 เม็ด เพราะเวลาพี่อมที พี่กรอกหมดทั้งซองเข้าปากเลยค่ะ (ซองละ 20 เม็ด) รู้สึกว่ามันสะใจดี และพี่เป็นคนใจร้อน อยากหายเร็วๆ ก็เลยใช้วิธีอมยานี้ครั้งละ 20 เม็ดไปเลย


ตอบน้อง merveillesxx

--ช่วงนี้ก็ยุ่งมากเหมือนกันค่ะ ตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.เป็นต้นมา ดิฉันก็ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการบริหาร “เวลา” เพื่อตอบสนองกิเลสตัณหาของตัวเอง เพราะปกติแล้วดิฉันจะมีเวลาตามดูหนังโรงที่อยากดูได้ครบเกือบทุกเรื่อง และมีเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตได้ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง แต่ตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.เป็นต้นมา ดิฉันก็ไม่มีเวลาไปดูหนังโรงประมาณ 10 เรื่อง และเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตก็เหลือน้อยมาก ตอนนี้ยังเหลือสิ่งที่อยากอ่านแต่ยังไม่ได้อ่านเยอะมาก อย่างเช่น

1.อ่านความเห็นของคนในเว็บบอร์ด SCREENOUT

2.อ่านสิ่งที่น้อง merveillesxx และคุณ pc เขียนในกระทู้ต่างๆ

3.อ่าน BLOG ของเพื่อนๆ

ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อไหร่จะตามอ่านย้อนหลังได้หมด แต่เดาว่าพอหมดเทศกาลละครกรุงเทพช่วงสุดสัปดาห์นี้แล้ว ก็น่าจะมีเวลาว่างเยอะขึ้น

ส่วนหนังโรงที่พลาดการดูไปแล้ว ก็รวมถึงเรื่อง

1.STORMBREAKER

2.LUCKY LOSER

3.MASTERS OF HORROR: DREAMS IN THE WITCH-HOUSE (STUART GORDON)

4.MASTERS OF HORROR: SICK GIRL (2006, LUCKY MCKEE)

5.MASTERS OF HORROR: CIGARETT BURNS (2005, JOHN CARPENTER)

6.END OF THE SPEAR (2005, JIM HANON)
http://www.imdb.com/title/tt0399862/

7.BEWITCHING ATTRACTION (2006, HA LEE)
http://www.imdb.com/title/tt0778159/

8.BLOODY TIE (2006, HO CHOI)
http://www.imdb.com/title/tt0816437/

ส่วน FLYBOYS กับ MONSTER HOUSE ก็อาจจะไม่ได้ดูเช่นกัน

--ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตหายไปเยอะมาก เป็นเพราะช่วงนี้เกิดอาการ “สุมหัวนินทา” กับเพื่อนๆหลังดูหนังเป็นประจำ โดยล่าสุดนี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากดูละครเวทีเสร็จ ดิฉันกับเพื่อนๆกลุ่มสกรีนเอาท์ก็ไปปักหลักบริหารปากกันที่ถนนข้าวสารตั้งแต่สี่ทุ่มถึงตีสอง และเมื่อวานนี้หลังจากดูหนังที่ม.ศิลปากรเสร็จตอนประมาณทุ่มนึง ดิฉันกับน้องเก้าอี้มีพนักและเพื่อนๆก็ไปตั้งวงนินทาผู้คนกันต่อจนถึงสี่ทุ่ม

--ดู LEMMING แล้ว รู้สึกว่ามันเข้ากันได้ดีกับหนังเรื่อง LA MOUSTACHE (2005, EMMANUEL CARRERE, A+) และ THE RING FINGER (2005, DIANE BERTRAND, A+) เพราะมันพิศวงเหมือนๆกัน และ “สภาพจิต” หรือ “สภาพอารมณ์” ของตัวละครในหนังทั้งสามเรื่องนี้น่าสนใจมากๆ ดูหนังทั้ง 3 เรื่องนี้แล้วดิฉันพบว่าตัวเองไม่สามารถให้คำตอบได้กับปริศนาหลายๆอย่างที่อยู่ในหนัง หรือไม่ก็ไม่แน่ใจ 100 % เต็มว่าสิ่งที่ตัวเองคิดคือคำตอบที่ถูกต้อง

--ยังไม่เคยไปหอศิลป์สิริกิติ์เลยค่ะ แต่พอน้อง merveillesxx แนะนำก็เลยรู้สึกว่าน่าไปเหมือนกัน

--อีกงานนึงที่อยากให้น้อง merveillesxx ไปร่วมงานอย่างมากๆ เพื่อมาเขียนรายงานให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้ฟังกัน ก็คืองาน BANGKOK DJ FESTIVAL ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.bkkdjfestival.com/
TUESDAY 28 NOVEMBER
AXWELL – BED SUPPERCLUB
DOC SCOTT – Q BAR

Wednesday 29 NOV
JAMIE LEWIS – BED
DJ PREMIER – Q

Thursday 30 NOV
AKBAR SAMI – BED
NIC FANCULLI – Q

Friday 1 DEC
KID MASSIVE – BED
HEATHER – Q

SATURDAY 2 DEC
BAR GROOVES BEN SOWTON & MATTY HELLBRONN– BED
FUNK AGENDA – Q

SUNDAY 3 DEC
*****LOUIE VEGA – BED SUPPERCLUB*****
(ชอบ LOUIE VEGA มากๆตอนเขาอยู่ในวง MASTERS AT WORK)
JAZZY JEFF – Q

MONDAY 4 DEC
STEPHANE POMPOUGNAC – BED
STEVE LAWLER – Q

--BED SUPPERCLUB เพิ่งจัดฉายงานวิดีโอเรื่อง FOSSIL ของ ADI KIRKETERP ศิลปินชาวเดนมาร์ก งานนี้จัดระหว่างวันที่ 7-20 พ.ย. ดิฉันไม่ได้ไปดูงานนี้ ไม่รู้มีใครได้ไปดูมาแล้วบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิคะว่ามันเป็นยังไง
http://www.bedsupperclub.com/home.php


ดูตัวอย่างผลงานของ ADI KIRKETERP ได้ที่
http://www.artmixmedia.com/art.html

HIDDEN TEDDY (ADI KIRKETERP)
http://www.artmixmedia.com/images/Art/large_images/artwork_003.jpg
BLACK LADY (ADI KIRKETERP)
http://www.artmixmedia.com/images/Art/large_images/artwork_039.jpg

MBK (ADI KIRKETERP)
http://www.artmixmedia.com/images/Art/large_images/artwork_020.jpg


--เห็นน้อง merveillesxx เคยพูดถึงพันธบัตร ก็เลยนึกถึงข่าวที่เพิ่งได้อ่านเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน เขาบอกว่าเทรดเดอร์พันธบัตรในย่านวอลล์สตรีทของสหรัฐช่วงนี้มีรายได้ดีมาก

1.ในปีที่แล้วนั้น โบนัสปลายปีของเทรดเดอร์พวกนี้อยู่ที่ 125,500 ดอลลาร์ต่อคน หรือ 4,550,630 บาทต่อคน

2.รายได้ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 289,664 ดอลลาร์ต่อคนในปีที่แล้ว หรือ 10,503,216 บาทต่อคน

3.เทรดเดอร์กลุ่มที่ได้รับค่าจ้างสูงสุด คือเทรดเดอร์ที่ทำงานเกี่ยวกับตราสารหนี้ CDO หรือ COLLATERIZED DEBT OBLIGATIONS

4.เทรดเดอร์พันธบัตรที่มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปี ได้ค่าตอบแทนราว 800,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือ 29,008,000 บาทต่อปี

5.เทรดเดอร์พันธบัตรที่มีประสบการณ์ทำงาน 12 ปี ได้ค่าตอบแทนราว 2 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 72,520,000 บาทต่อปี

6.เทรดเดอร์บางคนที่เก่งจนโดดเด่นก็เรียกร้องค่าตอบแทนสูงๆได้เช่นกัน โดยมีเทรดเดอร์บางคนที่มีอายุ 25 ปี และจบมหาลัยมาเพียง 2 ปี ก็ได้รับค่าตอบแทนสูงถึง 750,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือ 27,195,000 บาทต่อปี

หวังว่าตัวเลขพวกนี้คงทำให้น้อง merveillesxx ขยันเรียนมากขึ้นนะจ๊ะ แต่เอ ไม่รู้ว่าเรียนจบมาแล้วน้องสามารถทำงานเป็นเทรดเดอร์พันธบัตรได้หรือเปล่า แต่ถ้าน้องไม่สามารถทำงานแบบนี้ได้ พี่ก็ขออวยพรให้น้องได้สามีหรือภรรยาเป็นเทรดเดอร์พันธบัตรย่านวอลล์สตรีทวัย 25 ปีที่มีรายได้ 750,000 ดอลลาร์ต่อปีแทนแล้วกันนะจ๊ะ ฮ่าๆๆๆๆ (เวลาไปเรียนต่อเมืองนอก ก็พยายามเลือก “จับ” สามีให้ดีๆล่ะ)


--อันนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง CREMASTER 3 จากนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 23 พ.ค. 2002

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุด Cremaster ซึ่งมีทั้งหมด 5 ภาคและได้รับการยกย่องว่าเป็นงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยที่มีความสำคัญมาก โดยแมทธิว บาร์นีย์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชุดนี้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยไม่เรียงตามลำดับ โดยเขาเริ่มต้นด้วยการสร้าง Cremaster 4 ในปี 1994 ตามมาด้วย Cremaster 1 ในปี 1995, Cremaster 5 ในปี 1997 และ Cremaster 2 ในปี 1999

Cremaster 3 มีความยาว 182 นาทีและเป็นภาพยนตร์ที่ไม่เน้นการเล่าเรื่อง โดยผู้ชมจะได้เห็นภาพประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, การเต้นรำ และฉากที่วิจิตรพิสดารมากมายในเรื่อง ในขณะที่เนื้อหาของเรื่องจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างตำนานและเรื่องราวแปลกประหลาดต่างๆ โดยเฉพาะตำนานเกี่ยวกับลัทธิฟรีเมสัน และตำนานของชาวเคลท์ (ชนชาติที่อาศัยอยู่ในอังกฤษและไอร์แลนด์ในยุคโบราณ) ซึ่งรวมถึงเรื่องของพิณทองคำ, เหล้ากินเนส และยักษ์ที่สามารถขโมยเวลา

เนื้อหาส่วนใหญ่ของ Cremaster 3 เกี่ยวข้องกับตึกไครสเลอร์ในนครนิวยอร์คและพลังในการสร้างสรรค์และทำลายของศิลปิน โดยริชาร์ด เซร์รา ประติมากรชื่อดังรับบทเป็นฮิราม อาบิฟฟ์ในเรื่องนี้ ซึ่งอาบิฟฟ์นั้นเป็นบุคคลที่อยู่ในตำนานของลัทธิฟรีเมสันและมีผู้เชื่อว่าเขาเป็นผู้ออกแบบวิหารโซโลมอนในอียิปต์โบราณ ในขณะที่บาร์นีย์ยกให้อาบิฟฟฟ์มีตำแหน่งเป็นบิดาของการก่อสร้างตึกระฟ้าในภาพยนตร์เรื่องนี้

ตัวละครสำคัญอีกคนในเรื่องนี้คือ the Entered Apprentice (แมทธิว บาร์นีย์) ซึ่งพยายามเดินทางจากชั้นล้อบบีของอาคารไครสเลอร์ขึ้นไปยังชั้นบน และในระหว่างทางเขาต้องพบกับเหตุการณ์แปลกประหลาดพิสดารมากมาย ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ในบาร์ Cloud Cafe และเหตุการณ์สยองขวัญในห้องทำฟันซึ่งเป็นฉากที่นักวิจารณ์กล่าวขวัญถึงอย่างมาก โดยในฉากห้องทำฟันนี้ the Apprentice จะถูกจับเปลื้องผ้าจนเห็นอวัยวะเพศที่มีลักษณะพิกลพิการ และเขาถูกบังคับให้กินชิ้นส่วนรถยนต์เข้าไปจนกระทั่งกระเพาะและลำไส้ของเขาพังยับเยินและไหลกองออกมาอยู่นอกตัว

ชื่อเรื่อง Cremaster นั้นมาจากชื่อกล้ามเนื้อในอวัยะเพศชายที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะเพศ โดยนักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าการที่บาร์นีย์ตั้งชื่อเรื่องเช่นนี้เป็นเพราะว่าศิลปินส่วนใหญ่มักได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องเพศ นอกจากนี้ บาร์นีย์มักเน้นย้ำถึงเรื่องการเคลื่อนที่ในแนวตั้งและเปรียบเทียบรูปทรงของตึกระฟ้ากับอวัยวะเพศชายในภาพยนตร์ของเขาด้วย

นักวิจารณ์บางคนเปรียบเทียบ Cremaster ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงภาพยนตร์ของเดวิด โครเนนเบิร์ก (Crash, Naked Lunch, The Fly), สแตนลีย์ คูบริก (Eyes Wide Shut, A Clockwork Orange, 2001: A Space Odyssey), ไคลฟ์ บาร์เกอร์ (Lord of Illusions, Nightbreed, Hellraiser), ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ (The Cook,the Thief, his Wife & her Lover, A Zed and Two Noughts, Pillow Book) และเคนเน็ธ อังเกอร์ (Lucifer Rising) และกล่าวว่าผลงานของบาร์นีย์ชุดนี้เป็นภาพยนตร์แฟนตาซีที่เป็นขั้วตรงข้ามกับภาพยนตร์อย่าง Lord of the Rings, Harry Potter และ Star Wars ถึงแม้จะมีลักษณะที่เหมือนกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านภาพที่หรูหราตระการตา, การสร้างติดต่อกันหลายภาค และการขายสินค้าประกอบภาพยนตร์ก็ตาม

บาร์นีย์เคยทำงานเป็นนายแบบมาก่อน เขาเคยเป็นนักศึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจย้ายมาเรียนด้านทัศนศิลป์เพื่อเจริญรอยตามแม่ของเขาที่เป็นจิตรกรแนวแอบสแตรคท์ ทั้งนี้ เขาประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเมื่อเขาอายุได้เพียง 24 ปี เขาก็สามารถจัดโชว์ผลงานเดี่ยวของตัวเองในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งซานฟรานซิสโกได้แล้ว

Cremaster 3 ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ที่สามารถทำลายช่องว่างทางศิลปะระหว่างประติมากรรมและสื่อภาพยนตร์ ในขณะที่สตีเฟน โฮลเดน นักวิจารณ์ของนิวยอร์คไทม์กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างปริศนาที่เหนือกว่าทุกๆปริศนา ทางด้านฮิลารี เอ็ม. ชีทส์ จากนิตยสาร Art News กล่าวว่าบาร์นีย์คือตัวอย่างของศิลปินประเภทที่ไม่เน้นสร้างความเข้าใจต่อผู้ชม ส่วนแพท สเตียร์ ซึ่งเป็นศิลปินเช่นกันนั้นก็กล่าวถึงบาร์นีย์ว่า "คนที่คุ้นเคยกับงานของบาร์นีย์จะรู้ว่าเขาไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะให้คนเข้าใจผลงานของเขา"



--ในเว็บไซท์ SENSES OF CINEMA ในบทความ GLEANING THE FUTURE FROM THE GALLERY FLOOR ของ CHRIS DERCON มีการระบุชื่อของศิลปินผู้กำกับภาพยนตร์แนวพิสดารที่น่าสนใจคนอื่นๆที่น่านำมาเทียบเคียงกับ MATTHEW BARNEY ด้วย
http://www.sensesofcinema.com/contents/03/28/gleaning_the_future.html

ผู้กำกับกึ่งศิลปินกลุ่มนี้รวมถึง

1.DOUGLAS GORDON
หนึ่งในนักสร้างภาพยนตร์ที่น่าสนใจที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยภาพยนตร์เรื่อง 10MS-1 (1994, A+) ของเขาเพิ่งมาเปิดฉายในกรุงเทพในเดือนส.ค.ปีนี้
http://celinejulie.blogspot.com/2006/08/nirvana-szuper-gallery.html


2.SHARON LOCKHART
อ่านเรื่องของ SHARON LOCKHART ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/01/17/lockhart.html

ภาพยนตร์เรื่อง GOSHOGAOKA (1997) ของ SHARON LOCKHART เคยมาเปิดฉายในกรุงเทพในวันเสาร์ที่ 11 ธ.ค.ปี 1999 แต่ดิฉันไม่ได้ไปดูค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0150767/

ผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อ SHARON LOCKHART รวมถึง CHANTAL AKERMAN, JEAN ROUCH และ JAMES BENNING
http://www.findarticles.com/p/articles/mi_m0268/is_6_38/ai_59923226


3.PIERRE BISMUTH

ภาพยนตร์ที่น่าสนใจของเขารวมถึง RESPECT THE DEAD (2001-2002) ที่เป็นการนำเอาภาพยนตร์หลายๆเรื่องมาตัดต่อเข้าด้วยกัน โดยซีเควนซ์ของหนังแต่ละเรื่องจะถูกตัดไปยังเรื่องอื่นในทันทีเมื่อใดก็ตามที่มีคนตายคนแรกบนหน้าจอ

หนังเรื่อง RESPECT THE DEAD นี้เป็นการให้ความสำคัญกับตัวละครและเหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่สำคัญเมื่ออยู่ในภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิม

ผลงานของ PIERRE BISMUTH


3.1 SOMETHING LESS SOMETHING MORE
http://www.kunstnet.at/koenig/picts/BISMUTH0401.jpg

3.2 ONE THING MADE FROM ANOTHER; ONE THING USED AS ANOTHER (2006)
http://jameswagner.com/mt_archives/005739.html
http://jameswagner.com/mt_archives/BismuthOneThing.jpg


4.MARK LEWIS

ภาพยนตร์ของเขามักจะกระตุ้นให้ผู้ชมตระหนักถึงความซ้ำซากและขนบธรรมเนียมของภาพยนตร์ทั่วไป โดยผลงานภาพยนตร์ของเขารวมถึง SMITHFIELD (2000), PEEPING TOM (2000) และ NORTH CIRCULAR (2000)

LANDSCAPES (2006, MARK LEWIS)
http://www.mnac.ro/previous2005.htm
http://www.mnac.ro/mark.jpg
http://www.mnac.ro/mark%20lewis/mark-lewis_1.jpg
http://www.mnac.ro/mark%20lewis/mark-lewis_3.jpg

ALGONQUIN (MARK LEWIS)
http://www.portfoliocatalogue.com/37/05.jpg


5.GEORGINA STARR

ผลงานของเธอรวมถึง STATIC STEPS (1992), VISIT TO A SMALL PLANET (1995) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ของ JERRY LEWIS, HYPNODREAMDRUFF (1996) และ TUBERAMA (1998)

CRYING (1993, GEORGINA STARR)
http://www.cca.kiev.ua/exhib/museum/museum15.html
http://www.cca.kiev.ua/exhib/museum/museum_b/museum15.jpg
http://www.cca.kiev.ua/exhib/museum/museum_b/museum05.jpg


6.STAN DOUGLAS

ONOMATOPOEIA (1985-1986)
http://www.medienkunstnetz.de/assets/img/data/2758/bild.jpg
ในงานชิ้นนี้ สแตน ดักลาสนำภาพขาวดำ 154 ภาพของโรงงานร้างมาฉายเป็นสไลด์ต่อเนื่องบนจอขาวที่แขวนอยู่บนเปียโนตัวหนึ่งที่เล่นเพลง BEETHOVEN’S C MINOR SONATA, OPUS 11

WIN, PLACE, OR SHOW (1998, STAN DOUGLAS)
http://www.medienkunstnetz.de/works/win-place-or-show/
http://www.medienkunstnetz.de/assets/img/data/1800/bild.jpg


7.SAM TAYLOR-WOOD

ผลงานดังของเธอคือภาพยนตร์เรื่อง DAVID ที่เป็นการบันทึกภาพเดวิด เบคแฮมขณะนอนหลับ และภาพถ่ายชุด CRYING MEN ที่ทางนิตยสาร BIOSCOPE เคยลงไปแล้ว

BRAM STOKER’S CHAIR VI (2005, SAM TAYLOR-WOOD)
http://www.balticmill.com/images/mmImages/exhibition/Sam%20Taylor-Wood/SamTaylorWood425.jpg


8.PIERRE HUYGHE
http://www.pierrehuyghe.com/
http://www.modernamuseet.se/v4/templates/template3.asp?lang=Eng&id=2632&bhcp=1

ATARI LIGHT (1999, PIERRE HUYGHE)
http://www.mariangoodman.com/Huyghe/artist/bottom_img_01.jpg

LES GRANDS ENSEMBLES (2001, PIERRE HUYGHE)
http://www.mariangoodman.com/Huyghe/artist/bottom_img_03.jpg

TWO MINUTES OUT OF TIME (PIERRE HUYGHE)
http://www.mariangoodman.com/Huyghe/artist/bottom_img_04.jpg

PIERRE HUYGHE + STEAMBOAT SWITSERLAND
http://www.smba.nl/shows/72/72.htm
http://www.smba.nl/shows/72/pierre%20huyghe+%20steamboat%20switserland.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PIERRE HUYGHE ได้ในนิตยสาร ART IN AMERICA ฉบับเดือนก.ย.ปีนี้ นิตยสารเล่มนี้มีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ โดยในเล่มนี้มีพูดถึงภาพยนตร์เรื่อง GHOST OF ASIA (2005, APICHATPONG WEERASETHAKUL + CHRISTELLE LHEUREUX, A+/A) ด้วย

2 comments:

the aesthetics of loneliness said...

อมยาพวกนี้มากๆ ไม่ดีนะครับ มันกัดเนื้อเยื่อภายในปาก และยิ่งทำให้เชื้อโรคมารบกวนมากขึ้น วัตถุออกฤทธิ์จริงๆ แล้วไม่ใช่มะแว้งอะไรนั่นหรอกมั้ง มะแว้งทำให้น้ำลายเราเยอะขึ้น เลยรู้สึกชุ่มคอ แค่นั้น ลองเปลี่ยนมาเป็นบ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เช้า-กลางวัน-เย็น รับรองหายเจ็บคอเร็วมาก

celinejulie said...

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำมากๆเลยค่ะ