Sunday, March 04, 2007

SMOKIN' ACES (JOE CARNAHAN, A+++++)

ตอบคุณอ้วน

ได้เข้าไปดูเว็บไซท์ ANDREW CHRISTIAN ที่คุณอ้วนแนะนำแล้ว รู้สึกชอบมากๆเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่แนะนำเว็บไซท์นี้
http://www.andrewchristian.com/advertising.htm
http://www.andrewchristian.com/advertising/acswim-Simon-BlueTowel.jpg
http://www.andrewchristian.com/advertising/andrewchristian-skateboard.jpg
http://www.andrewchristian.com/advertising/ac-underwear-biz02.jpg
http://www.andrewchristian.com/advertising/ac-underwear-biz14.jpg
http://www.andrewchristian.com/gallery/luis-9024b1.jpg
http://www.andrewchristian.com/gallery/michael-wristband.jpg
http://www.andrewchristian.com/gallery/bart-7090blk1.jpg

ได้ข่าวว่าคุณอ้วนชอบ THE LIVES OF OTHERS (2006, FLORIAN HENCKEL VON DONNERSMARCK, A+++++++++++++++) มากๆ ก็เลยจะบอกว่า เห็นนิยายของ CHRISTA WOLF วางขายอยู่ที่ PLAYGROUND ซอยทองหล่อด้วย CHRISTA WOLF คนนี้เป็นนักเขียนหญิงที่โด่งดังมากในเยอรมันตะวันออก ถ้าหากใครสนใจชีวิตในเยอรมันตะวันออก ก็อาจจะอ่านได้จากนิยายของเธอ โดยเฉพาะเรื่อง WHAT REMAINS

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ CHRISTA WOLF ก็คือว่า เธอเคยทำงานเป็น informant ให้กับตำรวจลับ STASI ของเยอรมันตะวันออกระหว่างปี 1959-1961 ด้วย แต่ตำรวจลับ STASI ไม่ค่อยสนใจในข้อมูลที่ได้รับจากเธอ ก็เลยหันมาตรวจสอบเธอเสียเองในช่วงทศวรรษ 1960-1980

Christa Wolf is the best-known writer to emerge from East Germany. Her first major success came in 1963 with Divided Heaven. Other works include: The Quest for Christa T. and Cassandra. She received the Heinrich Mann Prize (1963) and the Schiller Memorial Prize (1983). She lives in Germany.

ตัวอย่างหนังสือของ CHRISTA WOLF

1.PATTERNS OF CHILDHOOD (1984)

หนังสือเล่มนี้ถูกใช้เป็นหนังสือเรียนในโรงเรียน
http://ec2.images-amazon.com/images/P/0374518440.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg

Wolf writes in a way that does not allow the reader to remain passive (which upset some students who wanted the author to do all the work) nor does she allow the Hitler years to become an object of the past (which would allow contemporary readers to remain uncritical of their present society). She wants the reader to consider current issues by using her particular childhood as springboard for thought. Wolf places German suffering in its proper context. She acknowledges that many Germans suffered but she never allows the reader to forget the greater suffering of the Jews and other victims of Nazi hatred. Most remarkable of all, Wolf does not paint herself as a childhood hero bur rather as a typical German young person of the time. She reminds Germans that Germany was responsibility for the war. She also makes it clear (by quoting articles from the local newspaper) that Germans knew far more about the horrible events than they later admitted.


2.ONE DAY A YEAR

หนังสือเล่มนี้บันทึกความคิดทุกอย่างของคริสตา วูลฟ์ในวันที่ 27 ก.ย. ของทุกๆปีตั้งแต่ปี 1960-2000 โดยหนังสือเล่มนี้รวบรวมความคิดของคริสตา วูลฟ์เป็นเวลา 40 วัน ใน 40 ปีเข้าด้วยกัน

http://ec2.images-amazon.com/images/P/1933372222.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg
http://ec2.images-amazon.com/images/P/3442734126.03._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg

In 1960, East German writer Christa Wolf received a phone call from a Moscow newspaper asking if she would describe her experiences on a single day, September 27, "as precisely as possible." She was intrigued by the request and has continued recording her thoughts and feelings on that day ever since. This book collects forty of these intimate essays, written between 1960 and 2000. Wolf, one of the most important authors of the twentieth century, writes about the demands and rewards of being a wife and mother and contemplates national and global events during the course of that one day a year.



3.CASSANDRA: A NOVEL AND FOUR ESSAYS

http://ec1.images-amazon.com/images/P/3630620736.03._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg

In this volume, the distinguished East German writer Christa Wolf retells the story of the fall of Troy, but from the point of view of the woman whose visionary powers earned her contempt and scorn. Written as a result of the author's Greek travels and studies, Cassandra speaks to us in a pressing monologue whose inner focal points are patriarchy and war. In the four accompanying pieces, which take the form of travel reports, journal entries, and a letter, Wolf describes the novel's genesis. Incisive and intelligent, the entire volume represents an urgent call to examine the past in order to insure a future.


--ศิลปินหญิงอีกคนที่น่าสนใจจากเยอรมันตะวันออก คือ CORNELIA SCHLEIME ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และตากล้อง และได้รับสมญานามว่าเป็น CINDY SHERMAN แห่งเยอรมันตะวันออก โดยตัวคอร์เนเลียเองนั้นก็ถูกตำรวจลับเยอรมันตะวันออกเฝ้าจับตามองและทำบันทึกประวัติติดต่อกันนานหลายปีเหมือนกัน

เมื่อเยอรมันตะวันออกล่มสลาย และ CORNELIA ได้ดูแฟ้มบันทึกรายงานของตำรวจลับที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของเธอเอง เธอก็เลยนำแรงบันดาลใจจากแฟ้มดังกล่าวมาสร้างเป็นงานนิทรรศการภาพถ่ายชื่อ HERE’S TO FURTHER FRUITFUL COOPERATION NO. 7284/85


เว็บไซท์ของ CORNELIA SCHLEIME
http://www.cornelia-schleime.de/index.html

ประวัติของ CORNELIA SCHLEIME
http://hosting.zkm.de/ctrlspace/discuss/msgReader$307?mode=day&print-friendly=true

ตัวอย่างผลงานของ CORNELIA SCHLEIME
http://www.cornelia-schleime.de/images/conny-im-wasser-b500.jpg
http://www.cornelia-schleime.de/images/film-conny-lesend-b500.jpg
http://www.cornelia-schleime.de/images/film-unter-tuechern2-b500.jpg
http://www.cornelia-schleime.de/images/conny-bemalt-1981-b300.jpg
http://www.cornelia-schleime.de/images/kinderwagen-zopf-b500.jpg



ตอบคุณ KICHO

If I am not ashamed to be naked, am I a whore?

ตอนแรกดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่า คุณ KICHO เป็น WHORE หรือเปล่า แต่หลังจากได้ไปกินข้าวกับคุณ KICHO ในวันอาทิตย์ที่แล้ว ดิฉันก็พบว่าดิฉันชื่นชอบคุณ KICHO มากค่ะ เนื่องจากคุณ KICHO สร้างเสียงหัวเราะให้กับเพื่อนๆได้ตลอดเวลา และคุณ KICHO ก็ยอมให้คุณ LUNAR รังแกหลายครั้งโดยไม่โกรธแต่อย่างใด ดังนั้นดิฉันจึงขอยกให้คุณ KICHO เป็น HERO คนนึงของดิฉันค่ะ

สมการประจำวัน

KICHO = MY HERO
WHORE = MY HERO
KICHO = WHORE


ตอบน้อง ZM

ขอบคุณมากค่ะที่เอาข้อมูลของ LEE BRENNAN มาฝาก

ได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง ZYZZYX ROAD ที่น้องเอามาแปะแล้ว ก็รู้สึกสงสารหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก นิตยสาร FILM COMMENT บอกว่าหนังเรื่องนี้ใช้ทุนสร้าง 2 ล้านดอลลาร์ และก็ใช้ดาราที่คนพอจะรู้จักดี แต่กลับทำเงินได้ 30 ดอลลาร์เท่านั้น หรือเท่ากับว่าขายตั๋วได้เพียง 3 ใบ

FILM COMMENT ยังรายงานอีกด้วยว่า ปีที่แล้วมีหนังที่ได้รับการจัดจำหน่ายในโรงภาพยนตร์ในสหรัฐสูงถึง 563 เรื่อง สูงกว่าปี 2005 ที่มีหนังได้รับการจัดจำหน่าย 535 เรื่อง และเทียบกับปี 1995 ที่มีหนัง 370 เรื่อง และปี 1985 ที่มี 180 เรื่อง หรือไม่ถึง 1/3 ของจำนวนหนังที่ฉายในปัจจุบัน

แนวโน้มนี้เป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับผู้กำกับภาพยนตร์อิสระที่ต้องการให้หนังของตัวเองได้รับการฉายโดยไม่หวังผลกำไร เพราะหนังอินดี้ที่ได้รับการจัดจำหน่ายในสหรัฐในปี 2006 มีจำนวนสูงมากๆ และหนังพวกนี้ก็ขาดทุนย่อยยับกันเกือบหมด แต่ผู้สร้างหนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายหลักในการทำกำไรอยู่แล้ว แต่มีจุดมุ่งหมายหลักในการทำให้หนังของตัวเอง “มีคนได้ดูบ้าง” เท่านั้นเอง

แม้แต่หนังอินดี้ที่ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์อย่างรุนแรง ก็ทำรายได้ต่ำมากเช่นกัน อย่างเช่น OLD JOY (2006, KELLY REICHARDT) ที่คว้ารางวัลใหญ่มาได้จากเทศกาลหนังรอตเตอร์ดัม ก็ทำรายได้ติดอันดับ 300 ของปีที่แล้ว และทำรายได้เพียง 165,000 ดอลลาร์เท่านั้น

http://ec2.images-amazon.com/images/P/B000N2HDG4.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V45806802_.jpg

ส่วนอันดับ 400 ประจำปี 2006 เป็นของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง PAPER DOLLS (2006, TOMER HEYMANN) ที่ทำรายได้ 35,000 ดอลลาร์ โดยหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มกะเทยฟิลิปปินส์ที่เดินทางไปทำงานดูแลผู้ชายวัยชราชาวยิวในอิสราเอล

http://www.imdb.com/title/tt0783681/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000L43AO8.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V45236409_.jpg
http://www.filmsalescorp.com/graphic.php?gid=127

TOMER HEYMANN ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง PAPER DOLLS นี้เคยเดินทางมากรุงเทพเพื่อร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ในเดือนต.ค.ปี 2004 เพราะตอนนั้นหนังสารคดีของเขาเรื่อง AVIV หรือ F***ED UP GENERATION (2003, A-/B+) มาเปิดฉายในงานด้วย โดยหนังสารคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาวิฟ เกเฟน นักร้องหนุ่มชาวอิสราเอลที่เป็นไบเซ็กชวล และต้องประสบปัญหาจากความผันผวนทางการเมืองในอิสราเอล ถ้าจำไม่ผิด อาวิฟคนนี้ค่อนข้างต่อต้านพวกเคร่งศาสนาชาวยิว/อนุรักษ์นิยม/ชาตินิยม แต่เขาก็ทำให้ฝ่ายเสรีนิยมโกรธเขาด้วยเหมือนกัน เพราะเขาไม่ยอมไปร่วมงานคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นเพื่อประชาชนอิสราเอลที่ปฏิเสธการเกณฑ์ทหาร (เพราะการเกณฑ์ทหารในอิสราเอลอาจนำมาซึ่งการทำร้ายชาวปาเลสไตน์ หรือการทำร้ายผู้บริสุทธิ์ชาติอื่นๆ) ทั้งๆที่เขาเคยให้สัญญาในตอนแรกว่าจะไปร่วมงานนี้ โดยอาวิฟให้เหตุผลว่าที่เขาตัดสินใจไม่ไปร่วมแสดงในงานคอนเสิร์ตนี้ เพราะเขาถูกกดดันจากพ่อของเขาอย่างรุนแรงไม่ให้ไปร่วมงานนี้
http://www.israelfilmfestival.com/iff03/images/aviv_large.jpg

TOMER HEYMANN เคยกำกับหนังสารคดีที่น่าสนใจมากๆอีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือเรื่อง IT KINDA SCARES ME (2001) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัว TOMER เองขณะร่วมมือกับเด็กหนุ่มวัยรุ่นกลุ่มนึงในการสร้างละครเวที โดยจุดสำคัญในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือการที่ TOMER ประกาศต่อเด็กหนุ่มกลุ่มนี้ในเวลาต่อมาว่าเขาเป็นเกย์ และสิ่งนี้สร้างความตกใจอย่างมากให้กับเด็กหนุ่มกลุ่มนี้

This tough Israeli film concentrates on Tomer, a youth group leader in a small town near Tel Aviv who motivates a group of deliquent adolescent boys to create a play. The communal production goes through a number of shifts and changes, especially when the first writer departs abruptly to Canada. In a startling development soon afterwards, Tomer announces to the group that he is gay. For the straight boys in the gang, this is a shock; their process of adjustment forms a major thread in the play and the documentary. Directed by Tomer Heymann, this film has a rough-hewn vitality that matches the energy of the teenage boys


TOMER HEYMANN สร้างหนังสารคดีเกย์ติดต่อกันถึง 3 เรื่อง และนั่นทำให้เขาคงเป็นผู้กำกับหนังเกย์แถวหน้าคนนึงของอิสราเอล ร่วมกับ EYTAN FOX ซึ่งกำกับหนังเกย์เรื่อง YOSSI & JAGGER (2002), WALK ON WATER (2004) และ THE BUBBLE (2006)

EYTAN FOX
http://www.iddistribution.com/assets/images/photo_real.jpg



ตอบคุณแฟรงเกนสไตน์

พูดถึงงานออสการ์ปีนี้แล้ว ก็ชอบการแสดงของนักแสดงบนเวทีที่ใช้เงาของตัวเองทำเป็นรูปประกอบภาพยนตร์เรื่องต่างๆ เป็นการแสดงที่แปลกตาและเก๋ไก๋ดี

รู้สึกเฉยๆกับการที่ THE DEPARTED (A+/A) ได้ออสการ์ เพราะ

1.ชอบหนังเรื่องนี้มาก แต่ไม่ถึงขั้นมากขนาดที่อยากให้ได้ออสการ์ และโดยส่วนตัวแล้ว รู้สึกชอบหนังเรื่อง GANGS OF NEW YORK (A+) และ THE AVIATOR (A+) มากกว่า THE DEPARTED แต่ก็ไม่ได้ชอบหนังสองเรื่องนั้นมากถึงขนาดที่อยากให้ได้ออสการ์เช่นกัน

2.แต่ก็รู้สึกดีใจเล็กน้อยที่ THE DEPARTED ได้ออสการ์ เพราะชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า BABEL (A) และ THE QUEEN (A) ส่วน LETTERS FROM IWO JIMA นั้นไม่ค่อยอยากให้ได้ออสการ์ เพราะถึงแม้ว่าหนังอาจจะดีมาก แต่ CLINT EASTWOOD ก็ดูเหมือนได้ออสการ์ไปมากพอแล้ว ส่วน LITTLE MISS SUNSHINE นั้นไม่มีความเห็นเพราะยังไม่ได้ดู

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่าน่าจดจำมากๆสำหรับปีนี้ ก็คือการที่ปีนี้เป็นปีที่ดิฉันชอบภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลแรซซี WORST PICTURE มากกว่าภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ BEST PICTURE โดยภาพยนตร์ที่ได้รางวัล WORST PICTURE ในปีนี้ก็คือ BASIC INSTINCT 2 (2006, MICHAEL CATON-JONES, A+) ที่มีตัวละครหญิงที่น่าหลงใหลอย่างสุดๆอย่าง CATHERINE TRAMELL

ภาพยนตร์ที่เข้าชิงรางวัลยอดแย่หลายเรื่องในปีนี้ ก็เป็นภาพยนตร์ที่ชอบมากเช่นกัน อย่างเช่น

--THE WICKER MAN (2006, NEIL LABUTE, A+)

--LADY IN THE WATER (A)

--EMPLOYEE OF THE MONTH (2006, GREG COOLIDGE, A)


--รู้สึกดีใจอย่างสุดขีดที่ THE LIVES OF OTHERS ได้ออสการ์ เพราะชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า WATER (A+) และ DAYS OF GLORY (A+) แต่ยังไม่ได้ดู PAN’S LABYRINTH กับ AFTER THE WEDDING

J.HOBERMAN เขียนวิจารณ์ THE LIVES OF OTHERS ไว้ใน VILLAGE VOICE ด้วย อ่านได้ที่นี่ค่ะ
http://www.villagevoice.com/film/0706,hoberman,75745,20.html

J. HOBERMAN เขียนตำหนิ THE LIVES OF OTHERS ด้วยเหมือนกัน แต่ดิฉันก็ไม่ว่าอะไร เพราะถ้าหากมองในแง่ศิลปะ หนังเรื่องนี้ก็คงมีจุดบกพร่องอยู่แล้ว แต่ถ้าหากมองในแง่หนังที่ให้ความสุขแก่ผู้ชมแล้ว หนังเรื่องนี้ก็คงเป็นหนึ่งในหนังที่ให้ความสุขที่สุดแก่ดิฉันเรื่องนึงในปีนี้

คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ก็เคยเขียนวิเคราะห์ THE LIVES OF OTHERS ไว้อย่างดีมากๆในนิตยสาร FLICKS ด้วยเหมือนกัน

J.HOBERMAN ระบุอีกด้วยว่า หนังอีกเรื่องนึงที่นำเสนอประเด็นเดียวกัน แต่ทำออกมาได้ดีกว่า THE LIVES OF OTHERS ก็คือหนังสารคดีเรื่อง THE DECOMPOSITION OF THE SOUL (2002, NINA TOUSSAINT + MASSIMO IANNETTA)
http://www.imdb.com/title/tt0388910/
http://www.indiewire.com/movies/decomposition_iw.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ THE DECOMPOSITON OF THE SOUL ได้ที่
http://www.indiewire.com/movies/2007/02/review_echo_cha.html


ตอบน้อง merveillesxx

เห็นน้องเป็นแฟนหนังญี่ปุ่น ก็เลยจะบอกว่าดีวีดีหนังญี่ปุ่นเฮี้ยนสุดๆที่ห้ามพลาดเป็นอันขาดก็คือ

1.THE FIRST CONTACT (2006, KATSUHITO ISHII)
ดีวีดีออกแล้วที่ร้านพี่คนนั้น

2.WHO’S CAMUS ANYWAY (2005, MITSUO YANAGIMACHI)
http://www.jjflix.net/detail.asp?id=936&Table=CD_NewRelease


ตอบคุณ pc

ขอบคุณมากค่ะที่เอาคลิป CUT PIECE ของ YOKO ONO มาให้ดู ชอบมากๆเลยค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=d1hekrMheGk

ดูคลิปการแสดงอันนี้แล้วก็นึกถึงหนัง/มินิซีรีส์/มิวสิควิดีโอหลายๆเรื่อง อย่างเช่น

1.มินิซีรีส์เรื่อง JOHN AND YOKO: A LOVE STORY (1985, SANDOR STERN, B+) ที่เคยมาฉายทางช่อง 3 ฉากนึงที่น่าประทับใจในมินิซีรีส์เรื่องนี้คือฉากที่จอห์นเจอกับโยโกะครั้งแรกๆในงานแสดงศิลปะของโยโกะ โดยที่โยโกะเขียนคำคำนึงไว้บนกำแพง แต่เขียนไว้ในขนาดตัวอักษรที่เล็กจิ๋วมากที่ระดับสูงบนกำแพง คนที่จะอ่านคำๆนี้ออกต้องปีนกระไดขึ้นไปอ่าน และต้องใช้แว่นขยายในการอ่านด้วย (ถ้าจำไม่ผิด)
http://www.imdb.com/title/tt0089380/


2.มิวสิควิดีโอเพลง NUMB ของ U2 ที่ THE EDGE ให้คนหลายๆมากระทำอะไรต่างๆนานาต่อตัวเขา mvนี้กำกับโดย KEVIN GODLEY

ดู mv นี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=H2lbiS1fris

ดูรายชื่อผลงานการกำกับของ KEVIN GODLEY ได้ที่
http://www.mvdbase.com/tech.php?last=Godley&first=Kevin


3. ภาพยนตร์โครเอเชียเรื่อง PERSONAL CUTS (1982, SANJA IVEKOVIC, A+) ที่เคยมาเปิดฉายในกรุงเทพในช่วงปลายปี 2001 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงคนนึงที่เอาถุงน่องสีดำคลุมศีรษะของตัวเองจนหมด แล้วค่อยๆใช้กรรไกรตัดชิ้นส่วนถุงน่องออกไปทีละส่วน จนกระทั่งหัวของเธอปรากฏออกมาอย่างเต็มๆ


อันนี้เป็นภาพถ่าย DOUBLE LIFE (1975, SANJA IVEKOVIC)
http://www.artmargins.com/content/art/stokic/3_snaja_ivekovic_double_life.jpg

GEN XX (2000, SANJA IVEKOVIC)
http://www.artmargins.com/content/art/stokic/1_sanja_ivekovic_genxx.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SANJA IVEKOVIC ได้ที่
http://www.artmargins.com/content/feature/stokic.htm


4.RELEASE (YUNG-HSIEN CHEN, A+)

ภาพยนตร์เรื่องนี้เพิ่งมาเปิดฉายในกรุงเทพในช่วงกลางปี 2006 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายคนนึงที่ใช้เชือกขนาดยาวรัดใบหน้าของตัวเองจนแน่นไปหมด และเขาค่อยๆใช้กรรไกรตัดเชือกออกไปทีละเปลาะๆ ดูแล้วรู้สึกว่าศิลปินคงทรมานอย่างสุดขีดตอนที่ถูกเชือกรัด (ถ้าหากเขาไม่ได้ใช้เทคนิคพิเศษในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้นะ)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ YUNG HSIEN-CHEN ได้ที่
http://www.changsgallery.com.tw/a_07_chen.htm

อันนี้เป็นภาพจากภาพยนตร์เรื่อง HEAD ON THE PLATE IN & OUT (2001, YUNG-HSIEN CHEN)
http://www.changsgallery.com.tw/images/artists/chen_01.gif

HEAD ON THE PLATE – GRASSING (2001, YUNG-HSIEN CHEN)
http://www.art-taipei.com/elaasia2006/images/img_13.jpg


5.PHYSICAL REQUIREMENTS FOR AN ARTIST, 2ND ENJOY YOURSELF IN EVERY CONDITION (2000, JANG JIA, A)

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ศิลปินหญิงคนนึงยืนอยู่เฉยๆ และให้ผู้คนขว้างปาไข่เข้าใส่เธอ ในขณะที่เธอพยายามทำหน้าระริกระรื่นต่อไป
http://www.kopenhagen.dk/billeder/reportage/seoul_until_now_charlottenborg/
http://www.kopenhagen.dk/uploads/pics/seoul_0705_62.jpg
http://www.kopenhagen.dk/uploads/pics/seoul_0705_63.jpg
http://www.kopenhagen.dk/uploads/pics/seoul_0705_64.jpg
http://www.kopenhagen.dk/uploads/pics/seoul_0705_65.jpg
http://www.kopenhagen.dk/uploads/pics/seoul_0705_67.jpg


6.OPEN REEL (1976, DALIBOR MARTINIS)

ในภาพยนตร์โครเอเชียเรื่องนี้ ศิลปินคนนึงใช้กล้องวิดีโอบันทึกภาพของตัวเขา แต่พอวิดีโอเทปม้วนแรกบันทึกภาพเสร็จ เขาก็เอาเทปจากวิดีโอนั้นมาพันหัวของตัวเองไปเรื่อยๆ ขณะที่ให้กล้องบันทึกภาพการกระทำนั้นลงวีดีโอเทปม้วนที่สอง จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ CUT PIECE ของ YOKO ONO นอกจากว่ามันเป็นหนังที่บันทึกภาพการแสดงแบบ PERFORMANCE ARTIST เรื่องนึงเท่านั้นเอง และในขณะที่ YOKO ONO ถูกตัดเสื้อผ้าออกไปจากตัวเรื่อยๆ DALIBOR MARTINIS กลับเอา “เทปบันทึกภาพตัวเอง” มาพันหัวมากขึ้นเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DALIBOR MARTINIS ได้ที่
http://www.dalibormartinis.com/

ผลงานของ DALIBOR MARTINIS

6.1 OPEN REEL
http://dalibor.wave-tech.com/slike/659_OpenReel1.jpg

6.2 VIDEO IMMUNITY (1978)
http://dalibor.wave-tech.com/slike/663_Video-Immunity2l.jpg

6.3 CHANOYU (1983)
http://dalibor.wave-tech.com/slike/667_Chanoyu.jpg

6.4 SUPPER AT LAST (1990-1992)
http://dalibor.wave-tech.com/slike/513_Supper-at-Last.jpg

6.5 PRISM (1997)
http://dalibor.wave-tech.com/slike/605_PrizmaFinal1m.jpg


--ตัวดิฉันเองนั้นแทบไม่เคยดูการแสดงแบบ PERFORMANCE ART มาก่อน เคยได้ดูก็แต่ภาพยนตร์ที่บันทึกภาพการแสดงคล้ายๆ PERFORMANCE ART โดยเฉพาะภาพยนตร์ชุด PERFORMATIVITY ที่มาเปิดฉายที่หอกลาง จุฬาในปีก่อน

พูดถึงการแสดงแบบ PERFORMANCE ART แล้ว ก็นึกถึงการแสดงที่อยากดูมากๆของ CAROLEE SCHNEEMANN การแสดงนี้มีชื่อว่า UP TO AND INCLUDING HER LIMITS (1973-1976) โดยในการแสดงนี้ CAROLEE จะเปลือยกายต่อหน้าผู้ชมเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเธอจะห้อยตัวลงมาจากเพดานโดยใช้เชือกป่านอะไรสักอย่างรั้งขาเธอไว้ และเธอก็จะใช้สีเครยองขีดเขียนไปตามพื้นและผนังกำแพงขณะห้อยตัวอยู่อย่างนั้นด้วย
http://www.caroleeschneemann.com/works.html

Up To And Including Her Limits was the direct result of Pollock's physicalized painting process....
I am suspended in a tree surgeon's harness on a three-quarter-inch manila rope, a rope which I can raise or lower manually to sustain an entranced period of drawing– my extended arm holds crayons which stroke the surrounding walls, accumulating a web of colored marks. My entire body becomes the agency of visual traces, vestige of the body's energy in motion."


การแสดงอีกอันนึงที่อยากดูมากคือการแสดง THE YEAR OF THE ROPE (1983) ของ LINDA MONTANO + TEHCHING HSIEH ที่ใช้เวลานาน 1 ปี โดยในการแสดงนี้ ศิลปินสองคนข้างต้นได้เอาเชือกมาผูกโยงคนทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นเวลา 1 ปี และทั้งสองต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันกับเชือกเส้นนี้ โดยที่ห้ามสัมผัสแตะต้องตัวกันเลย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ THE YEAR OF THE ROPE ได้ที่
http://www.communityarts.net/readingroom/archivefiles/2002/09/year_of_the_rop.php

STATEMENT

We, LINDA MONTANO and TEHCHING HSIEH, plan to do a one year performance.

We will stay together for one year and never be alone. We will be in the same room at the same time, when we are inside. We will be tied together at the waist with an 8 foot rope. We will never touch each other during the year.

The performance will begin on July 4, 1983, at 6 p.m., and continue until July 4, 1984, at 6 p. m.

--With masterful simplicity of means, Tehching Hsieh and Linda Montano created a year-long art epic. Each of the artists' past works had strangely prepared them for the endurance of the rope. The rope provided an extended and controlled shock to the patterns of their lives. Not separate, yet not a "couple," the two artists' work took on layer after layer of meaning. The reality of the rope became the symbol of relationship...the difficulty of relationships...the inescapability of interdependence... The rope made visible the psychic bond that exists between any two people in close relationship and told the truth that we are each alone yet connected.


ภาพยนตร์ที่ได้ดูในวันเสาร์ที่ 3 มี.ค. 2007

1.SMOKIN’ ACES (2007, JOE CARNAHAN, A+++++)
http://www.imdb.com/title/tt0475394/

ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจจะไม่มีคุณค่าทางศิลปะหรือทางสังคมแต่อย่างใด แต่สำหรับความรู้สึกส่วนตัวแล้ว หนังเรื่องนี้อาจจะเป็นหนังที่ให้ความรู้สึกสนุก, ตื่นเต้น, ลุ้นระทึกที่สุดสำหรับดิฉันนับตั้งแต่ X-MEN: THE LAST STAND (2006, BRETT RATNER, A+) เป็นต้นมา ฉากลิฟท์ขึ้นในหนังเรื่องนี้เป็นฉากที่ทำให้ดิฉันรู้สึกหัวใจจะวาย ซึ่งนั่นเป็นความรู้สึกที่เหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมานานหลายเดือนแล้ว

ดิฉันเดาว่า สาเหตุที่ SMOKIN’ ACES ให้ความสุขอย่างสุดๆแก่ดิฉันได้นั้น อาจจะเป็นเพราะ

1.1 หนังเรื่องนี้มีคุณสมบัติคล้ายกับ X-MEN: THE LAST STAND และ SWORDSMAN II (1992, CHING SIU-TUNG, A+++++) ที่ให้ความลุ้นระทึกแก่ดิฉันมากๆเหมือนกัน เพราะว่าหนังสามเรื่องนี้

1.1.1 มีตัวละครหลายตัว

1.1.2 ตัวละครทุกตัวมีอิทธิฤทธิ์สูงมาก ไม่ใช่มีแค่พระเอกกับผู้ร้ายตัวเอ้ที่มีอิทธิฤทธิ์สูง

1.1.3 ตัวละครทุกตัวตบกันแหลก ตบกันแหลก


1.2 หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันเดาไม่ถูกจริงๆว่าใครจะอยู่หรือใครจะตาย เพราะว่า

1.2.1 ดิฉันไม่รู้ว่าตัวละครตัวใดเป็นพระเอกหรือนางเอกของหนังเรื่องนี้

1.2.2 ตัวละครที่รับบทโดยดาราดัง ก็ตายได้ง่ายๆเหมือนกับตัวละครที่รับบทโดยนักแสดงโนเนม

1.2.3 สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็คือว่าตัวละครหลายตัวเป็นคนเลว และไม่ว่าตัวละครคนไหนจะเป็นคนดี, คนเลวน้อย หรือคนเลวมาก ทุกตัวก็มีสิทธิตายได้เหมือนกัน และตายได้ทุกเมื่อ ในขณะที่หนังแอคชั่นเรื่องอื่นๆ การตายของตัวละครมักจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของระบบศีลธรรมจนทำให้เดาง่ายไปหน่อย


1.3 ตัวละครตัวนึงในหนังเรื่องนี้ถูกคนหลายๆคนพยายามตามฆ่า ซึ่งนั่นทำให้นึกถึงชีวิตประจำวันของตัวเองและคนธรรมดาหลายๆคนในยุคปัจจุบัน ที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะถูกฆ่าเมื่อไหร่และจากใครในการเดินทางออกไปทำงานแต่ละครั้ง

ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา เมื่อดิฉันก้าวออกจากบ้านไปทำงานในแต่ละวัน ดิฉันไม่แน่ใจว่า

1.3.1 ตัวเองจะถูกระเบิดตายหรือไม่

1.3.2 ตัวเองจะถูกโจรมาดักจี้ปล้นและฆ่าตายหรือไม่

1.3.3 ตัวเองจะถูกคนบ้าฆ่าตายหรือไม่ (มีคนบ้าน่ากลัวอยู่ในซอยบ้านดิฉัน)

1.3.4 ตัวเองจะตกเป็นเหยื่อโดนลูกหลงขณะนักเรียนตีกันหรือไม่

ถึงแม้ชีวิตของตัวละครเอกใน SMOKIN’ ACES จะดูเหมือนห่างไกลจากชีวิตประจำวันของคนธรรมดา แต่ในความรู้สึกส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันคิดว่ามันไม่ได้ห่างไกลกันเลย ชีวิตประจำวันของคนธรรมดาในโลกทุกวันนี้ มันก็ตกอยู่ภายใต้เภทภัยจากหลายๆทิศทางเหมือนๆกัน


1.4 ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ขอกราบตีน JOE CARNAHAN คนเขียนบทหนังเรื่องนี้ เพราะดิฉันรู้สึกว่าเขาวางจังหวะได้ลุ้นระทึกถูกใจดิฉันมากๆ เพราะในหนังเรื่องนี้นั้น มันเหมือนกับว่าในทุกๆ “นาที” ที่เนื้อเรื่องดำเนินไป คนเขียนบทต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ตัวละครราว 10 กลุ่มอยู่ที่จุดใดและกำลังทำอะไรอยู่ในแต่ละนาทีนั้น ในขณะที่คนเขียนบทหนังเรื่องอื่นๆ อาจจะเพียงแค่ต้องควบคุมตัวละครแค่กลุ่มเดียวในแต่ละเหตุการณ์เท่านั้น

อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ก็มีจุดที่ไม่ชอบอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะหนังเรื่องนี้ดูเหมือนนำเสนอตัวละครเลสเบียนในแง่ไม่ค่อยดีนัก และดูเหมือนเน้นสไตล์มากเกินไป อีกทั้งยังให้ความรู้สึกไร้สาระมากๆ แต่เนื่องจากดิฉันไม่ได้ดูหนังที่ให้ความรู้สึก “สนุกสุดขีด” อย่างนี้มานานแล้ว ก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+++++ ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ไม่ชอบในหนังเรื่องนี้ก็ตาม


2.CHARLOTTE’S WEB (2006, GARY WINICK, A)
http://www.imdb.com/title/tt0413895/

3.SCHOOL FOR SCOUNDRELS (2006, TODD PHILLIPS, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0462519/
http://www.imdb.com/name/nm0680846/

4.THE MESSENGERS (2007, OXIDE PANG + DANNY PANG, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0425430/

5.ROCKY BALBOA (2006, SYLVESTER STALLONE, B)
http://www.imdb.com/title/tt0479143/

No comments: