Sunday, March 16, 2008

FAKE FIELD VS. IMPERATRIX CORNICULA

THIS IS MY COMMENT IN BIOSCOPE WEBBOARD:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=964.0


ตอบคุณ SANTA

กรี๊ด ดิฉันจำชื่อคุณไพสิฐผิดค่ะ ชื่อเล่นเขาชื่อ “เคี้ยง” ไม่ใช่ “เกี๊ยง” ดิฉันต้องกราบขออภัยอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย


ตอบคุณ DPN

ดิฉันเดาว่าถ้าหากปิดเสียง ก็อาจจะมีผู้ชมบางส่วนที่ทนไม่ได้ แต่ก็อาจจะมีผู้ชมบางส่วนที่ยังคงชอบหนังเรื่องนี้มากๆอยู่ และหนังเรื่องนี้ก็อาจจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha, A+) ซึ่งเป็นหนังเงียบที่เน้นภาพท้องทะเลกับบรรยากาศโล่งๆ เหมือนกัน 55555


ตอบน้อง merveillesxx

ถ้าหากชอบ “ทุ่งกำมะลอ” (A+) เราขอแนะนำว่าควรดู IMPERATRIX CORNICULA (2007, Jerome Bertrand, A+) ที่อยู่ในดีวีดีหนังชุด L’EROTISME เป็นอย่างยิ่ง เพราะหนังเรื่องนี้ก็มีการใช้ดนตรีประกอบที่ให้ความรู้สึกรุนแรงสุดๆเหมือนกัน

ไม่รู้เหมือนกันว่า “สัตว์วิบากหนักโลก” (A+++++++++++++++) มีชื่อเรื่องภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการแล้วยัง ถ้าหากยังไม่มี เวลาเราเขียนบล็อกภาษาอังกฤษ เราอาจจะแปลชื่อหนังเรื่องนี้เล่นๆว่า A TOUGH CREATURE WHO BURDENS THE EARTH 55555


--ขออนุญาตโปรโมทบทความของคุณกิตติพล สรัคคานนท์ในนิตยสาร “หนัง:ไทย” ด้วยการตัดตอนบทความบางส่วนของเขามาลงในนี้นะคะ หวังว่าทางมูลนิธิหนังไทยคงไม่ว่าอะไร

บทความของคุณกิตติพล สรัคคานนท์ที่เขียนถึงหนังเรื่อง “จอมโหดมนุษย์ซีอิ๊ว” ของคุณไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ อยู่ในนิตยสาร “หนัง:ไทย” เล่มที่ 11 (July –September 2001) ค่ะ สั่งซื้อนิตยสารเล่มนี้ได้ที่
http://www.thaifilm.com/supportDetail.asp?id=22

อันนี้เป็นข้อความบางส่วนจากบทความของคุณกิตติพล ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 13 หน้า

“ความสอดพ้องของจิตและสสารกับความขัดแย้งของจิตและสสาร (ทั้งสองลักษณะมิได้ให้ผลเป็นเชิงบวกหรือลบ, ดีหรือด้อย, แต่เป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของหนังมากกว่า) ดูเหมือนจะเป็นลักษณะหนึ่งที่แบ่งแยกความคล้ายคลึงหลายๆประการในประเด็นเรื่อง “ความจริง” ของ “จอมโหดมนุษย์ซีอิ๊ว” และ “ดอกฟ้าในมือมาร” ภาพยนตร์อีกเรื่องที่อยู่ในฐานะใกล้เคียงกัน ให้แยกออกจากกันได้

อภิชาติพงศ์มีการท่าทีที่เรียบเฉยกับ “ความจริง” มากกว่า ในแง่ที่ไม่น้อมนำไปสู่สภาวะอื่นที่ปลดเปลื้องให้เกิดเพทนาการภายในขึ้นมา แม้อารมณ์ขันใน “ดอกฟ้าในมือมาร” จะมีอยู่มากมาย (บางทัศนะของผู้เขียนมองเป็นกลไกตอบรับมากกว่าจะเกิดขึ้นจาก “ความน่าขบขัน” อันเป็นความรู้สึกโดยแท้ที่นำให้ไปสู่ หรือให้เป็น “สิ่งขบขัน”) แต่ก็มิอาจขจัดความนิ่งเรียบที่อภิชาติพงศ์มีต่อความเป็นจริงอื่นๆไม่....”

“ขณะที่ไพสิฐมีความอ่อนน้อมและใกล้ชิดต่อความเป็นจริงมากกว่า มีเจตสิก (sentiment) และความหลงใหลในภาวะที่สิ้นหวังมากกว่า จึงดูจะเป็นการประนีประนอมกันเพื่อความสอดพ้องระหว่างจิตและสสาร แม้ว่าเขาไม่พยายามนำเสนอเรื่องที่อยู่เหนือข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้หมายความถึงเขายอมรับเอาเหตุและผลของทุกสรรพสิ่งเป็นที่ตั้งสูงสุด ทั้งนี้ความเป็นจริงที่เขาสัมผัสนั้นมีเหตุหรือไม่มี มาอยู่ก่อนหน้าแล้ว เขาไม่จำเป็นต้องเข้าไปยืนยันความมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของเหตุเหล่านั้นอีก (ขณะที่กระบวนการภาพยนตร์ส่วนหนึ่งสนองคุณเหตุเหล่านี้ ด้วยการยอมรับ การปูพื้นฐานความเป็นมาของบุคคล รัก, ชอบ และเกลียดอะไรเป็นโครงสร้าง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเป็นความจำต้องเป็นรูปแบบหนึ่งไป ที่ไม่แน่ว่าจะใช่ทางออกที่ถูกต้องนัก)”

No comments: