Tuesday, May 06, 2008

MOHA

This is my comment in Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=1112.0

ยังไม่เคยดู ANOTHER GIRL, ANOTHER PLANET เลยค่ะ และก็ไม่รู้เหมือนกันว่า FILMVIRUS เคยนำหนังเรื่องนี้มาฉายหรือเปล่า จำได้แต่ว่า FILMVIRUS เคยฉายเรื่อง TWISTER (1989, Michael Almereyda, A) และอาจจะเคยฉายเรื่อง NADJA (1994, Michael Almereyda) เมื่อหลายปีก่อน
http://ecx.images-amazon.com/images/I/41CAKDVFRXL._SS500_.jpg

-----------------------------------------------------

This is my comment in Screenout webboard:
http://www.xq28.org/zaa/viewtopic.php?f=5&t=79&start=200

--เพิ่งดูหนังเกย์เกาหลีเรื่อง NO REGRET (2006, Hee-il Leesong) ที่ HOUSERAMA มา ชอบมากๆในระดับ A+ ค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0996948/


ตอบน้อง ZM

--ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องธรรมะค่ะ และก็ไม่ได้นับถือศาสนาด้วย แต่ดิฉันขอเดามั่วๆตามความเข้าใจแบบผิดๆของตัวเองว่า “ราคะ” อาจจะเป็น SUBSET ของ “โลภะ” ค่ะ เพราะราคะอาจจะหมายถึง “ความอยากผู้ชาย” ส่วน “โลภะ” อาจจะหมายถึงความอยากผู้ชาย, ความอยากร่ำรวย, ความอยากได้รถ, ความอยากได้บ้าน ฯลฯ เพราะฉะนั้นถ้าน้อง ZM อยากได้คนนู้นคนนี้มากมายเต็มไปหมด และน้อง ZM อยากได้ตำแหน่ง “โลภะ” ไปครอง น้องก็เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ด้วยประการทั้งปวงค่ะ

ส่วน “ราคะ” และ “โลภะ” นั้นอาจจะเป็น SUBSET ของ “ตัณหา” อีกทึหนึ่ง เพราะ ตัณหานั้นมีทั้งกามตัณหา, ภวตัณหา และวิภวตัณหา ซึ่งดิฉันเดาว่า “ราคะ” และ “โลภะ” นั้นอาจจะใกล้เคียงกับ “กามตัณหา” อยู่พอสมควร

--ประเด็นเรื่อง “วิภวตัณหา” นั้นน่าสนใจดี เพราะหลายคนตีความคำนี้แตกต่างกันไป ลองอ่านการตีความคำนี้ในทางที่ดี (เขาตีความว่า วิภวตัณหา หมายถึง ความอยากนิพพาน) ได้ที่
http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k161/027_1.html


--ดิฉันเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง “โมหะ” เหมือนกันค่ะ เคยได้ยินว่าคำนี้แปลว่า “หลง” ดิฉันก็เลยเดาเล่นๆว่า ตัวอย่างของ “โมหะ” ที่อาจจะเห็นได้ชัดคือ “องคุลีมาล” เพราะเขาไม่ได้ฆ่าคนเพราะโกรธแค้น และไม่ได้ฆ่าคนเพราะต้องการชิงทรัพย์ แต่ฆ่าคนเพราะหลงผิด และอีกตัวอย่างหนึ่งของโมหะก็น่าจะเป็น BESS (Emily Watson) ซึ่งเป็นนางเอกของ BREAKING THE WAVES (1996, Lars von Trier, A+) เพราะเธอไม่ได้นอนกับผู้ชายเพราะเธอต้องการความสุขทางเพศ, เธอไม่ได้ต้องการแก้แค้นใคร แต่เธอนอนกับผู้ชายหลายคนเพราะเธอ “หลงผิด”

พอได้อ่านความเห็นของน้อง ZM ก็เลยทำให้สงสัยเหมือนกันว่าความหมายของ “โมหะ” คืออะไร ก็เลยลองไปค้นๆหนังสือธรรมะที่มีอยู่ในอพาร์ทเมนท์ดู ก็เจอเขาพูดถึง “โมหะ” อยู่เหมือนกัน รู้สึกว่าความหมายของ “โมหะ” นั้นกว้างมากๆๆๆๆๆๆ ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจที่เขายกมาก็คือ เขาสมมุติถึงสถานการณ์ที่เราขึ้นรถเมล์ แล้วเราเบียดคนแน่นๆ ถ้าหากเราเบียดถูกผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วผู้หญิงคนนั้นเอาศอกมาเสยคางของเรา เราก็จะรู้สึก “โทสะ” หรือ “ทุกข์” แต่ถ้าหากเราเบียดกับหนุ่มหล่อคนหนึ่งบนรถเมล์ รถแน่นมากจนร่างกายของเราถูไถกับเขาหลายครั้ง แล้วเราก็มีความ “สุข” เราก็จะรู้สึก “ราคะ” แต่ถ้าหากเรารู้สึก “เฉยๆ” กับผู้หญิงที่มากระแทกเรา หรือกับหนุ่มหล่อที่มาถูไถเรา โดยที่เราไม่ได้เรียนรู้เข้าใจจิตใจของตัวเองดีพอ นั่นก็อาจจะเป็น “โมหะ” แต่ถ้าหากเรารู้สึกเฉยๆเพราะเราสามารถควบคุมบังคับจิตใจตัวเอง สามารถดับโทสะหรือราคะในใจเราได้ด้วยตัวเอง นั่นก็อาจจะหมายความว่าเราพ้นทั้งราคะ, โทสะ, โมหะ

--อีกตัวอย่างหนึ่งของ “โมหะ” ในหนังสือ “ทางเอก” รู้สึกว่าตัวอย่างนี้น่าสนใจดี เพราะมันทำให้เห็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างโมหะ—โลภะ--โทสะ

“เช่น แต่ก่อนเป็นผู้สะสมอกุศลจิต เพราะคิดเห็นตามๆเขา (ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง) ทั้งๆที่ไม่รู้ แสนจะไม่รู้ว่า มีเหตุมีผลอะไร มีอะไรเป็น “มโนปุพพังคมา ธัมมา “ คือ มีอะไรอยู่ในจิตอยู่ก่อน เป็นเชื้อ เป็นเค้าเงื่อนชักจูง (อัชฌัตตะ) หรือว่า มีเหตุนอกจากวัตถุข้างนอกเป็นเหตุ (พาหิระ, พหิทธะ) ก็ไม่รู้ (อสังขาริกัง) แต่เขาว่าดี ก็ดีกับเขา (โสมนัส) เขาพาอยากได้ อยากเอา ก็ตั้งหน้าตั้งตาอยากเอา อยากได้ไปตะพึด (โลภะ)

จิตตัวนี้ จึงเป็น “โลภมูลจิต” ที่ชื่อว่า “โสมนัสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง” หมายความว่า เป็นสิ่งๆหนึ่งที่มีพลังงานรับรู้ แล้วยินดีเลยไม่ขัดข้องเลย (โสมนัสสหคตัง) คิดเห็นตามเขาไป เข้าใจตามโลกไป ยึดเอาความเข้าใจอย่างนี้ เป็นตัวเป็นตนลงไปด้วย (ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง) แม้จะไม่รู้เหตุรู้เค้า ไม่เข้าใจสิ่งชักสิ่งจูงสิ่งดุนสิ่งดันอะไรทั้งนั้น (อสังขาริกัง) แต่จะสั่งสมลงเป็น “จิต”

ความไม่รู้ (อวิชชา) หรือ โมหะมูลจิตดั่งนี้เอง เป็น “เหตุ” (สสังขาริกัง) ให้สั่งสม “อกุศลจิต” ใส่ตนอยู่ร่ำไป

เมื่อเกิด “โมหะ” ก็จึงเป็นผลให้เกิด “โลภะ” (ดังอธิบายมาแล้ว เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อนกันอยู่ ต้องทำความเข้าใจดีๆ)

และเมื่อเกิด “โลภะ” โดยไม่สมใจในโลภะนั่นแล จีงเกิดผลเป็น “โทสะ” หรือ “พยาบาท”

“โทสะ” หรือ “พยาบาท” ยิ่งแรงเท่าใด “โมหะ” ก็ยิ่งมากมายมืดหน้ามากเท่านั้นๆ

สภาพหมุนรอบเชิงซ้อนดั่งนี้แหละ ที่มันทำให้ “จิต” ให้ “วิญญาณ” สั่งสม ทับถมเข้าไปแล้วๆเล่าๆมากมาย”


--อีกตัวอย่างหนึ่ง เขาอธิบายว่า เมื่อใดก็ตามที่ “จิต” เราถูก “โมหะ” เข้าครอบงำ จิตเราในตอนนั้นก็มีสภาพเป็น “เดรัจฉาน”

“ปัจจุบันนี้ เราเป็น “คน” “จิต” มันยังมีกายหยาบเป็นคน ทว่า “จิต” สิ มันมีอารมณ์ มีกายทิพย์เป็น “สัตว์นรก” ขึ้นมาในปัจจุบัน แม้คราใด ก็ให้รู้ให้ได้ ดับให้ได้ในครานั้น ในปัจจุบันนั้นๆ อารมณ์สัตว์นรกนั้น กายทิพย์สัตว์อบายนั้น อยู่ในตัวเรา ขณะที่เกิดนั้นๆ “เป็นอยู่” นั้นๆ จริงๆ

ขณะใดมัน “โลภะ” นั่นแหละคือมันเป็น “เปรต” แท้ๆ คือ อยากอยู่รอนๆ

ขณะใดมัน “โทสะ” นั่นแหละคือมันเป็น “สัตว์นิรยะภูมิ” แท้ๆ คือ มีทุกข์อยู่เร่าๆ

ขณะใดมัน “โมหะ” นั่นแหละคือมันเป็น “เดรัจฉาน” แท้ๆ คือ โง่อยู่ ยังมืดบอดอยู่

หรือขณะใดมันรู้ตัวอยู่แท้ๆว่า จิตของตนกำลังโลภะก็ดี กำลังโทสะอยู่ก็ตาม แต่ตนก็ยังข่มฝืนหยุดซึ่งโลภะนั้นยังไม่ได้ ข่มฝืนห้ามโทสะนั้นให้หยุดก็ไม่ลง นั่นแหละคือมันเป็น “อสุรกาย” เป็นผู้ยังมีอินทรีย์อ่อนมีพละไม่กล้า ไม่แข็ง ยังแพ้อำนาจต่ำ ยังสู้สัตว์นรกไม่ได้ (อสุรา) ยังให้ความเป็นสัตว์นรกครอบงำอยู่ ตนก็ยังได้ชื่อว่า “สัตว์นรก””

--หนังสือธรรมะมีพูดถึง “โมหะของศิลปิน” ด้วย คิดว่าน่าสนใจดี ก็เลยคัดลอกมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านกันด้วยค่ะ

“เปรียบเทียบชัดๆ ก็เช่น คนผู้ใดเริ่มเรียนรู้ ฝึกฝนประดิษฐ์อะไรสักอย่างให้ตนรู้ ตนเป็น ตนมี ตนทำสิ่งนั้น เรื่องนั้นให้ได้ สมมุติว่า จะประดิษฐ์ฝึกฝนตนให้เป็นศิลปินให้ได้ ดังนี้ เป็นต้น คนผู้นั้นก็จะต้องเรียนรู้ว่า ‘ศิลปที่ตนจะทำ’ คืออะไร? ประกอบไปด้วยอะไรบ้างทั้งหมด ? จะทำให้ดีที่สุดทำอย่างไร? แล้วก็ฝึกฝนประดิษฐ์ตบแต่งดัดแปลง ทำเรื่องนี้ สิ่งนี้ จนเป็น จนได้ชื่อว่า “ศิลปิน” แขนงนั้นได้ ผู้ที่เริ่มรู้ เริ่มทำเป็น เริ่มทำได้ ก็จะหลงอร่อยในรูป ในแบบ ในท่าที ในลีลา จะอร่อยในเสียง อร่อยในรส อร่อยในสัมผัสต่างๆ นี่คือ “กามารมณ์” พร้อมๆกันนั้น ก็จะหลงภาคภูมิ ใน “ความเป็น” ใน “ความทำได้” ของตน ก็จะหลงยินดี ปีติใจ ยึดมั่น นี่แหละคือ “ธรรมารมณ์” หรือ “อารมณ์พรหม” เป็นเรื่องที่เรียกกันว่า “ภวตัณหา” อันคือ ความอยากเป็น อยากมี อยากได้ เมื่อเป็น เมื่อมี เมื่อได้ ก็เกิดรสภาคภูมิ อิ่มเอมใจ ในความเป็น-ความมี-ความได้ ยิ่งรู้มาก ก็เป็นมาก ฝึกทำมาก แนบเนียนมาก ก็ยิ่งจะ หลงภาคภูมิ-อิ่มเอมใจ ในความเป็นมาก ได้มาก เก่งมาก มีมาก ยิ่งขึ้นๆ และยิ่งเมื่อมีผลตอบแทนมาให้ตนทั้งรูปธรรม นามธรรมมากอีก เท่าใด ก็ยิ่งจะหลงยินดีปีติใจมากยิ่งขึ้น หลงอื่นยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับๆ ถ้า “ไม่รู้” (อวิชชา หรือ โมหะ) ถึงสภาพแห่ง “จิต” เลยจริงๆ ก็จะยึดมั่นเอาจริงๆ จังๆ ใหม่ๆก็จะอยากแสดง อยากโอ่ อยากอวด และจะภาคภูมิใจ ปีติใจ สุขใจ ไม่มีลาภ-ยศอะไรตอบแทน ก็ได้ ก็จะทำ จนนานเข้า มากเข้า ทำจนอิ่ม จนเต็ม จนพอแล้ว มันก็จะไม่ปีติ และจะไม่สุขล่ะ มันจะเฉยๆ ชินๆ ชาๆ ไม่ตื่นเต้นอะไร ไม่กระเพื่อมใจอย่างไร จะ “อุเบกขา” ในใจขึ้นเรื่อยๆ ทำงานนั้นทีใด ทำที่ไหน ก็เฉยๆ ไม่ตื่นเต้นอะไร ทั้งไม่ยินดี บางทีจะยินร้ายเอาด้วย คือ “ออกเบื่อ” แต่ถ้าผุ้ใดยังหลงภาคภูมิใน “งานศิลปะ” นั้นอยู่ ภูมิใจหลงยิ่ง หลงใหญ่ หลงเด่น หลงดัง หลงดีในความเป็น “ศิลปิน” นั้นๆอยู่ ไม่เสื่อมคลาย ก็นี่แหละคือ เจ้า “ภวตัณหา” ชั้นหลงวิชชา หลงภูมิธรรมแห่งตน เจ้า “อารมณ์พรหม” แท้ๆ มันคือเรื่องที่เราจะต้อง “ทำฌาน” เรียนรู้กับรูปจิต-อรูปจิต พวกนี้ตรงๆ แท้ๆ”

No comments: