Saturday, September 22, 2012

ON ACTING

ข้อความข้างล่างนี้ ก็อปปี้มาจากที่เขียนคุยกับเพื่อนในเฟซบุ๊คครับ:

สำหรับประเด็นเรื่องนักแสดงนั้น พี่มีความเห็นดังต่อไปนี้ครับ

--น้องอาจจะยังไม่เจอ "นักแสดงคู่บุญ" ก็ได้ครับ เรื่องอย่างนี้ขึ้นอยู่กับโชคและเวลาด้วยเหมือนกัน แต่ถ้าน้องเข้ามหาลัยแล้วได้เจอเพื่อนใหม่ๆ น้องอาจจะได้เจอ "นักแสดงคู่บุญ" ที่จะได้ร่วมงานกับน้องไปอีกนานก็ได้

พี่เข้าใจว่าตอนนี้นักแสดงในหนังของน้องส่วนใหญ่ก็คือเพื่อนๆของน้องเอง ซึ่งเรื่องแบบนี้เราก็คงต้องยอมรับความจริงครับว่า เพื่อนบางคนของเราเขาเป็น "เพื่อนที่ดีมากๆ" สำหรับเรา แต่เขา "ไม่มีพรสวรรค์", "ไม่มีความสามารถ" และ "ไม่มีใจรัก" ในการแสดงเลยจริงๆ สิ่งที่น้องเขียนทำให้พี่นึกถึงประสบการณ์ของตัวเองครับ เพราะพี่กับเพื่อนๆก็เคยชวนเพื่อนผู้หญิงบางคนให้มาเล่นถ่ายรูปกันในแบบฮาๆ และก็พบว่าเพื่อนผู้หญิงบางคนนั้น เขามีพรสวรรค์จริงๆ คือบอกอะไรไปแค่นิดเดียว เขาเข้าใจทันที และเขาก็โพสท่า ทำอารมณ์ในใบหน้าให้ออกมาดูดีใช้ได้ในแบบที่ effortless มากๆ คือสำหรับเพื่อนบางคนนั้น การแสดงหรือการแอคท่าต่อหน้ากล้อง เป็นสิ่งที่เขาสามารถทำได้ดีโดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามเลย

แต่กับเพื่อนผู้หญิงบางคนที่มาเล่นถ่ายรูปด้วยกันนั้น เธอไม่มีความสามารถในด้านนี้เลยจริงๆ เธอมีปัญหาจุกจิกเหี้ยห่าอะไรก็ไม่รู้ตลอดเวลา ต้องมีเรื่องให้ด่ากันตั้งแต่เริ่มต้นแต่งหน้า แต่งชุด คือกว่าจะแต่งหน้าเธอเสร็จก็ด่ากันไปเป็นชั่วโมง แล้วพอเธอแอคท่าต่อหน้ากล้อง เธอก็ดับสนิทมากๆ งานนี้เลยทำให้ได้รู้ว่าสำหรับบางคนนั้น เธอเป็นเพื่อนที่ดีมากๆ แต่อย่าไปฝืนให้เธอทำอะไรที่เธอไม่เต็มใจและไม่มีความสามารถจะดีกว่า

--การเจอ "นักแสดงคู่บุญ" ของตัวเองนั้นคงต้องอาศัยโชค+ดวง หรืออาจจะต้องอาศัยการเข้าไปรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ สังคมใหม่ๆด้วยเหมือนกันครับ พี่เองก็รู้สึกทึ่งมากที่คุณวริศเขาได้นักแสดงหญิงที่ทุ่มสุดตัวให้กับหนังของเขา และทึ่งมากที่คุณสมเจตน์เขาได้กลุ่มเด็กนักเรียนที่สนุกกับการเล่นหนังของเขามากๆ แต่ถ้าสังเกตให้ดี พี่รู้สึกว่าหนังของคุณสมเจตน์ยุคแรกๆจะยังไม่ค่อยฮาเท่าไหร่ อย่างเช่นเรื่อง "อาจารย์เต้ ตุ่มเปรี๊ยะ" ภาค 1 กับ 2 แต่พอเป็นเรื่อง "อาจารย์เต้ จัดให้" หนังกลับออกมาฮามากๆ พี่ก็เลยเข้าใจว่า ถึงแม้เราได้เจอคนที่เต็มใจเล่นหนังให้เราแล้ว เราก็ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเหมือนกันในการ "จูนคลื่นให้ตรงกัน" ระหว่างนักแสดงกับผู้กำกับ, ในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และในการหาวิธีที่จะดึงเอาศักยภาพของนักแสดงออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถ้าพี่เข้าใจไม่ผิด หนังของคุณสมเจตน์ น่าจะให้นักแสดงช่วยคิดบทหรือด้นบทกันสดๆด้วย ซึ่งวิธีการให้นักแสดงร่วมเขียนบทหรือด้นบทสดๆนี้เป็นวิธีการที่ผู้กำกับภาพยนตร์หลายคนที่พี่ชอบเขาก็ทำกันเหมือนกัน วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้กำกับบางคนครับ และเป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจมากๆ เพราะมันมักจะทำให้หนังออกมาดูเป็นธรรมชาติมากๆ และมันช่วยขยายมุมมองของหนังด้วย โดยเฉพาะผู้กำกับที่เป็นผู้ชาย และให้นักแสดงหญิงมาช่วยเขียนบทนั้น หนังที่ออกมามักจะเป็นหนังที่เข้าถึงอารมณ์ของผู้หญิงมากๆ ซึ่งถ้าหากให้ผู้ชายเป็นคนกำกับ+เขียนบทอยู่ฝ่ายเดียว หนังอาจจะออกมาไม่เข้าถึงอารมณ์ผู้หญิงขนาดนั้น

ผู้กำกับที่พี่ชอบในกลุ่มนี้ก็มีเช่น

1.Mike Leigh
ถ้าพี่เข้าใจไม่ผิด หนังของเขามักจะเกิดจากการเวิร์คช็อปกับนักแสดงระยะนึงก่อน คือตัวไมค์ ลีห์คงคิดแค่โครงเรื่องคร่าวๆว่าหนังจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร แล้วก็ให้นักแสดงมารวมตัวกัน ซ้อมกันและแสดงความคิดเห็น ซึ่งความเห็นของนักแสดงในระหว่างการเวิร์คช็อปนี่แหละที่จะเป็นตัวกำหนดบทสนทนา, รายละเอียดของเรื่อง และอาจจะรวมไปถึงเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง พอเวิร์คช็อปกันไประยะนึง ตัวบทภาพยนตร์ถึงค่อยเขียนเสร็จ แล้วถึงค่อยเปิดกล้องถ่ายทำกัน วิธีการนี้ต้องอาศัยเวลาในการเวิร์คช็อประยะนึง และ ต้องอาศัยนักแสดงที่มีความเป็นศิลปินอยู่ในตัว แต่หนังที่ออกมาจะสะท้อนแง่มุมความเป็นมนุษย์ออกมาได้อย่างสุดยอดมากๆ

2.Jacques Rivette
คนนี้คือผู้กำกับสุดโปรดของพี่ครับ หนังของเขามีความประหลาดพิสดารในแบบที่บอกไม่ถูก และเขามักจะให้นักแสดงหญิงของเขาร่วมเขียนบทด้วย

3.Eric Rohmer
คนนี้ก็ทำหนังที่ออกมาเป็นธรรมชาติมากๆเหมือนไมค์ ลีห์ครับ หนังของเขาที่พี่ชอบที่สุดก็คือ THE GREEN RAY ซึ่งให้นางเอกมาร่วมเขียนบทด้วย และบทสนทนาในเรื่องมันก็ออกมาเป็นธรรมชาติมากๆ

4.John Cassavetes

--แต่ถ้าหากน้องจะทำหนังที่เขียนบทไว้เสร็จแล้ว และเป็นหนังแนวดราม่าที่เน้นความสมจริงในการแสดงเป็นหลัก พี่ก็แนะนำให้น้องใช้นักแสดงละครเวทีโรงเล็กครับ ซึ่งหนังสั้นที่ดีๆหลายเรื่องก็ใช้วิธีการนี้เหมือนกัน เพราะนักแสดงละครเวทีโรงเล็กหลายๆคนของไทย เล่นหนังได้ดีมาก พวกเขามีทั้งพรสวรรค์, มีความสามารถ และมีใจรักในการแสดงอย่างเต็มเปี่ยม และพี่ก็เดาว่านักแสดงกลุ่มนี้น่าจะคิดค่าตัวไม่แพงด้วย น่าจะถูกกว่านักแสดงที่ต้องติดต่อผ่าน agency ที่เราต้องเสียเงินให้ agency ด้วย

พี่เคยรวบรวมรายชื่อหนังสั้นที่ใช้นักแสดงละครเวทีโรงเล็กไว้ด้วยครับ อันนี้เป็นรายชื่อที่พี่เคยทำไว้เมื่อปีก่อน
http://celinejulie.blogspot.com/2011/11/marathon-film-festival-game-part-4.html

"19. Discuss how the performances of stage actors/actresses contribute to the success of these films.

19.1 BLIND (2008, Kanjana Akasin), starring Sasapin Siriwanij and Kusuma Thepparak

19.2 BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke), starring Athapol Anunthavorasakul, Watcharapong Kanjanakrit, and Sawanee Utoomma

19.3 A CHRONICLE OF LOVE AND PAIN (2009, Kanchat Rangseekansong), starring Wanatsanan Sasom

19.4 FAIRY FEMININE (2009, Arpapun Plungsirisoontorn), starring Sumontha Suanpolrat

19.5 HASAN (2008, Attapon Pamakho), starring Suphasawatt Purnaveja and Pavinee Samakkabutr

19.6 HUNGRY OR FULL (2009, Anuchit Muanprom), starring Watcharapong Kanjanakrit

19.7 JIM (2005, Tosaporn Mongkol), starring Farida Jiraphan

19.8 KONTHAN (2010, Witchupong Sukhavichai), starring Montree Wongbutra

19.9 LOVE IS (NOT) MAD (2008, Tosaporn Mongkol), starring Pinthip Satprertprai

19.10 MAE NAK (1997, Pimpaka Towira), starring Mullika Tangsa-ngob

19.11 MIDNIGHT RAINBOW (2008, Patha Thongpan), starring Duangjai Hirunsri

19.12 MOTHER (2011, Vorakorn Ruetaivanichkul), starring Natthaya Nakawech

19.13 MY LOVE TV (2011, Duangporn Pakavirojkul), starring Sumontha Suanpolrat

19.14 PANATIPATA (2010, Nawapol Thamrongrattanarit), starring Sawanee Utoomma

19.15 QING (2011, Boonyanuch Kraithong), starring Sasapin Siriwanij

19.16 69 (201, Somkid Phukpong), starring Sawanee Utoomma

19.17 STAINED (2009, Manasrawee Wongpradu), starring Pattarasuda Anuman Rajadhon

19.18 TAKE A MESSAGE (2005, Maythus Chaichayanon), starring Jaturachai Srichanwanpen

19.19 THAI FAMILY (2009, Yingsiwat Yamolyong), starring Donruedee Jamraschai and Montree Wongbutra

19.20 THIS CONSTRUCT CAN SERVE NO PURPOSE ANYMORE (2008, Sathit Sattarasart)

19.21 WASABI (2007, Asit Wangsuekul), starring Shogo Tanikawa

19.22 WOMAN I (2010, Nuntanat Duangtisarn), starring Nophand Boonyai, Sasithorn Panichnok, Sumontha Suanpolrat, and Ornanong Thaisriwong"

--แต่ประเด็นสำคัญประเด็นแรกก็คือว่า หนังที่น้องจะทำเป็นหนังแนวไหนน่ะ ครับ เพราะแนวหนังจะเป็นตัวกำหนดว่าเราต้องการนักแสดงประเภทไหน อย่างเช่น

1.ถ้าน้องจะทำหนังตลก น้องก็อาจจะต้องใช้เวลาระยะนึงในการแสวงหานักแสดงคู่บุญของน้องครับ เพราะหนังตลกมันต้องได้นักแสดงที่มีความสามารถด้านนี้จริงๆ และผู้กำกับกับนักแสดงต้องจูนคลื่นตรงกันได้จริงๆ เพราะฉะนั้นมันก็เลยไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่หนังตลกดีๆหลายๆเรื่อง ผู้กำกับต้องนำแสดงเอง ทั้งหนังของ Charlie Chaplin, Buster Keaton, Jerry Lewis, Jacques Tati, Woody Allen, Weerasak Suyala

2.ถ้าน้องจะทำหนังดราม่า พี่ก็ขอแนะนำให้ใช้นักแสดงละครเวทีโรงเล็กเหมือนอย่างที่เขียนไปข้างต้นครับ ซึ่งน้องจะรู้จักนักแสดงกลุ่มนี้ได้ก็ด้วยการไปดูละครเวทีเป็นประจำ, สอบถามเพื่อนที่ดูละครเวที หรือลองไปเข้าค่ายฝึกอบรมดู อย่างเช่นค่ายทำนองนี้


3.แต่สิ่งที่พี่คิดว่าน้องทำได้ดีอยู่แล้วในตอนนี้ ก็คือการถ่ายบันทึกชีวิตประจำวันและชีวิตจริงของเพื่อนๆไปเรื่อยๆครับ อย่างเช่นใน "เอาหนังไปให้หนุ่ย" และ "เมื่อเราแอบลอบผ่านปราการสวรรค์และถูกผู้พิทักษ์ไล่ล่า" ฟุตเตจที่น้องถ่ายเพื่อนๆเหล่านี้ มันจะมีประโยชน์ในภายหลังครับ พี่เชื่ออย่างนั้น บางทีเราก็ต้องพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเหมือนกัน คือถ้าเรายังหานักแสดงคู่บุญไม่ได้ เราก็ต้องหาวิธีทำประโยชน์จากเพื่อนๆของเราไปก่อน การได้ถ่ายเพื่อนๆคุยกันหรือการได้บันทึกอากัปกิริยาของเพื่อนๆเอาไว้ มันอาจจะมีประโยชน์ในภายหลังเวลาเราต้องการจะเขียนบทหนังที่ต้องการบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติหรืออะไรทำนองนี้

4.มีหนังอาร์ทบางเรื่องเหมือนกัน ที่ไม่ต้องอาศัยการแสดงที่สมจริงแต่อย่างใด แต่อาศัย "สไตล์ทางการแสดง" บางอย่างเพื่อรองรับธีมของหนังเรื่องนั้น อย่างเช่น

4.1 หนังของ Robert Bresson ที่เน้นการแสดงที่ "แข็งกระโด๊ก" มากๆ เพราะเขามีความเชื่ออะไรบางอย่างว่ามันสามารถสื่อในสิ่งที่เขาต้องการได้ ถ้าพี่จำไม่ผิด พี่เคยได้ยินว่าเขาจะให้นักแสดงซ้อมจนเหนื่อย และเอาเทคที่นักแสดงเล่นขณะเกือบหมดแรงแล้วนั่นแหละมาใช้ เพราะมันจะดูแข็งกระโด๊กมากๆ แต่พี่ไม่แน่ใจในเรื่องนี้เหมือนกัน ต้องถามฟิล์มซิคดู

4.2 Alain Robbe-Grillet
คนนี้ก็เป็นผู้กำกับสุดโปรดของพี่เหมือนกัน นักแสดงในหนังของเขาเป็นเหมือนกับนางแบบนายแบบที่มาโพสท่าสวยๆงามๆ และไม่ต้องแสดงอารมณ์อันลึกซึ้งเพื่อถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ที่ซับซ้อนแต่อย่างใด เพราะหนังของเขาเน้นโครงสร้างการเล่าเรื่องที่สลับซับซ้อนยอกย้อนซ่อนเงื่อนมากๆ และเน้น "ความไม่จริง" ของสิ่งที่เราได้เห็นอยู่ตรงหน้าของเรา

อันนี้เป็นฉากนึงจาก EDEN AND AFTER ครับ และเป็นตัวอย่างนึงที่แสดงให้เห็นว่าในหนังบางเรื่องนั้น การตัดต่อมีความสำคัญมากกว่าการแสดง

4.3 Marguerite Duras
คนนี้ก็เป็นผู้กำกับสุดโปรดของพี่เหมือนกันครับ การแสดงในหนังของเขามันดูหลอนๆแบบแปลกๆ โดยเฉพาะในเรื่อง INDIA SONG และถ้าพี่เข้าใจไม่ผิด ในการถ่ายทำหนังเรื่องนี้นั้น ดูราส์จะมีวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจของนักแสดงเพื่อไม่ให้ "กลายเป็นตัวละครตัวนั้นอย่างสมบูรณ์" ในระหว่างการถ่ายทำครับ ซึ่งมันตรงข้ามกับในหนังทั่วๆไป เพราะในหนังทั่วๆไปนั้น เขาต้องการให้นักแสดงเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกหรือจิตวิญญาณของตัวละครตัวนั้นอย่างสมบูรณ์ แต่ในหนังของดูราส์ เธอเหมือนกับว่าต้องการให้นักแสดงอยู่ในภาวะก้ำกึ่งอะไรบางอย่าง แต่มันกลับออกมาดูดีสุดๆ

4.4 Werner Schroeter
คนนี้เป็นผู้กำกับที่พี่กับ Ratchapoom Boonbunchachoke ชื่นชมมากๆครับ หนังบางเรื่องของเขาอย่างเช่น THE DEATH OF MARIA MALIBRAN ก็ไม่เน้นการแสดงที่สมจริง แต่เน้นการโพสท่าที่เริ่ดมากๆ


สรุปว่าพี่ขออวยพรให้น้องได้เจอกับนักแสดงคู่บุญเร็วๆนี้นะครับ เหมือนอย่าง

1.วัชรพล สายสงเคราะห์ กับธิติพล โรจนโรวรรณ

2.ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล กับเนเน่

3.อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล กับเจนจิรา พงพัศ

4.Rainer Werner Fassbinder กับ Irm Hermann, Margit Carstensen และ Hanna Schygulla
:-) :-) :-)

No comments: