Sunday, October 26, 2014

WHERE UNITY LIES


Favorite quote from Jean-Luc Godard about PIERROT LE FOU (1965):

ความจริงก็คือว่าคุณอ่านหนังสือพิมพ์ และการอ่านหนังสือพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อย่างไรก็ดี ในภาพยนตร์นั้น มีความเชื่อกันว่า ถ้าหากคุณอยู่ในห้องห้องหนึ่ง คุณก็ไม่ควรที่จะทำเพียงแค่เปิดหน้าต่างออกไปและถ่ายสิ่งที่อยู่นอกหน้าต่าง ไอ้พวกขี้บ่นมองว่าการทำแบบนี้เป็นการทำลายความเป็นเอกภาพ แต่พวกมันนั่นแหละที่ประสบความล้มเหลวในการมองว่าเอกภาพอยู่ที่จุดใด บางคนอาจจะรู้สึกว่าใน PIERROT นั้น เอกภาพในหนังเรื่องนี้เป็นเพียงเอกภาพทางอารมณ์  และชี้ว่ามีบางสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเอกภาพทางอารมณ์ในหนังเรื่องนี้ แต่การจะบอกว่าการเมืองไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในหนังเรื่องนี้ถือเป็นการพูดที่เปล่าประโยชน์ เพราะการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเอกภาพทางอารมณ์ และปัญหานี้มีสาเหตุมาจากการจัดประเภทภาพยนตร์เป็น genre ต่างๆตามแบบเก่า ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งถูกจัดประเภทว่าเป็นภาพยนตร์แนวกวี, แนวจิตวิทยา, แนวโศกนาฏกรรม แต่ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง  ทั้งนี้ ถ้าหากผมจะสร้างหนังเกี่ยวกับคดี Dreyfus คุณก็จะแทบไม่ได้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับคดีนี้ แต่สิ่งที่คุณจะได้เห็นเป็นอย่างมากก็คือประชาชนและความสัมพันธ์ส่วนตัวของพวกเขา อีกสิ่งหนึ่งที่น่าทำเป็นอย่างยิ่งในตอนนี้ก็คือเรื่องราวชีวิตของนักจดชวเลขในค่ายกักกันเอาช์วิตซ์  (Mikhail Romm ได้สร้างหนังสารคดีทำนองนี้แล้วโดยใช้ชื่อเรื่องว่า ORDINARY FASCISM) แต่ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักจดชวเลขที่เอาช์วิตซ์จะเป็นภาพยนตร์ที่ทุกๆคนเกลียดชัง พวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายซ้ายมักจะเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาวิจารณ์ผู้กำกับภาพยนตร์ฝ่ายซ้ายตัวจริง  ซึ่งรวมถึง Pasolini และ Rossellini ในอิตาลี และ Dovzhenko กับ Eisenstein ในรัสเซีย”

“In cinema, however, one isn’t supposed, if one is in a room, simply to open the window and film what is going on outside. The grumblers see this as a rupture in unity, but for all that fail to see where the unity lies.”

“Here we come back to the old classification by genres: a film is poetic, psychological, tragic, but it is not allowed simply to be a film.”

PIERROT LE FOU ฉายวันนี้ที่เซ็นทรัลเวิลด์รอบ 15.20 น.นะ

อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับคดี DREYFUS ได้ที่นี่

รูปมาจาก ORDINARY FASCISM (1965, Mikhail Romm)


No comments: