Saturday, April 25, 2015

THE 100-YEAR-OLD MAN WHO CLIMBED OUT THE WINDOW AND DISAPPEARED (2013, Felix Herngren, Sweden, A+/A)


THE 100-YEAR-OLD MAN WHO CLIMBED OUT THE WINDOW AND DISAPPEARED (2013, Felix Herngren, Sweden, A+/A)

ดูแล้วนึกถึง FORREST GUMP + หนังตลกร้าย + หนังที่มีกลิ่นไอจางๆของ magical realism

ปัญหาก็คือว่าเราไม่ได้เป็นแฟนหนัง FORREST GUMP และก็ไม่ได้เป็นแฟนหนังตลกร้าย ส่วนหนัง magical realism ส่วนใหญ่เราก็ชอบแค่ในระดับ “มากพอสมควร” แต่ไม่ใช่มากสุดๆ เพราะฉะนั้นนั่นก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้าทางเรามากนัก

แต่หนังก็ดูเพลิดเพลินดีนะ แต่เราไม่ได้มีความผูกพันอะไรกับตัวละครเลยน่ะ เราก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรไปกับหนังมากนัก

เราว่าสาเหตุนึงที่เราไม่ค่อยถูกโฉลกกับหนังตลกร้าย โดยเฉพาะหนังตลกร้ายของฝรั่งเศส เป็นเพราะว่าเรามักจะอินกับหนังที่ทำให้เรา sympathize กับ “ความเจ็บปวดของตัวละคร” น่ะ แต่ในหนังตลกร้ายโดยทั่วไป มันมักจะมีฉากโหดๆ ฉากเลือดสาด แต่ตัวละครจะไม่มีความเจ็บปวดกับความเลือดสาด ความโหดในฉากเหล่านั้น (ซึ่งตรงข้ามกับหนังสยองขวัญ) และตัวละครก็มักจะไม่เจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจกับอะไรเหี้ยๆห่าๆหลายๆอย่างในหนังด้วย นั่นก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้เราไม่อินกับหนังตลกร้ายโดยทั่วไป เพราะเรามักจะ approach หนังผ่านทางความเจ็บปวดทางจิตใจของตัวละคร

แต่มันก็มีข้อยกเว้นนะ เพราะหนังตลกร้ายของ Danny DeVito นี่เป็นอะไรที่เข้าทางเราสุดๆ เพราะเราว่าทัศนคติหลายๆของเขาเข้ากับเรา หรือหนังอย่าง EVERLY (2014, Joe Lynch, A+30) ก็เข้าทางเราสุดๆ เพราะถึงแม้มันจะมีความตลกร้ายอยู่ในหนัง แต่เราก็รู้สึกว่าตัวละครในหนังมัน “เจ็บจริง”

แต่เราว่ากลิ่นอายของ magical realism ในหนังสวีเดนเป็นอะไรที่น่าสนใจดีนะ จริงๆแล้วเราก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่า magical realism ได้หรือเปล่า 555 แต่มันเหมือนมีความเพี้ยนพิลึกบางอย่างในหนังที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้น

คือปกติแล้วเราจะเจอหนัง magical realism ในอเมริกาใต้กับคาบสมุทรบอลข่านเป็นหลัก พอกลิ่นอายของหนังพวกนี้มันไปอยู่ในหนังชาติอื่นๆ มันก็เลยเหมือนกลายเป็นอะไรที่น่าสนใจ น่าศึกษาวิเคราะห์ดี

นอกจากหนังสวีเดนเรื่องนี้แล้ว หนังเรื่องอื่นๆที่เราว่ามันเหมือนมีกลิ่นอายของ magical realism ลอยอยู่จางๆก็เช่น CITIZEN DOG (2004, Wisit Sasanatieng), FINDING FANNY (2014, Homi Adajania, India) กับ MATRU KI BIJLEE KA MANDOLA (2013, Vishal Bhardwaj, India) เราว่า FINDING FANNY เหมาะนำมาฉายควบกับ THE 100-YEAR-OLD MAN มากๆ เพราะมันเป็นหนัง road movie ของชายชราเหมือนๆกัน แต่เราชอบ FINDING FANNY มากกว่า THE 100-YEAR-OLD MAN เพราะเราว่าตัวละครมันมีอารมณ์แบบมนุษย์มากกว่า, มีงาน visual ที่น่าจดจำกว่า และเราชอบบรรยากาศของ Goa ในหนังอินเดียเรื่องนี้ด้วย

อีกจุดนึงที่เราว่าน่าสนใจดีใน THE 100-YEAR-OLD MAN ก็คือการนำเสนอสตาลินในฐานะตัวละครตลก เราสนใจในแง่ที่ว่า มันมีหนังหลายเรื่องที่นำเสนอสตาลินในภาพลักษณ์แบบนี้ ในขณะที่ dictator คนอื่นๆอย่างเช่นฮิตเลอร์, นายพลฟรังโก้, ซาลาซาร์, อิดี้ อามิน, นโปเลียน, ปิโนเชต์, สฤษดิ์, ถนอม ไม่ได้ถูกนำเสนอในฐานะตัวตลกในสื่อภาพยนตร์มากเท่าสตาลิน เราก็เลยสนใจว่าทำไมสตาลินถึงถูก treat แบบนี้ 555

หนังเรื่องอื่นๆที่นำเสนอสตาลินในฐานะตัวตลกก็เช่น CHILDREN OF THE REVOLUTION (1996, Peter Duncan) และ HOTEL LUX (2011, Leander Haußmann)



No comments: