Tuesday, March 08, 2016

HAIL, CAESAR! (2016, Joel Coen + Ethan Coen, A+30)

HAIL, CAESAR! (2016, Joel Coen + Ethan Coen, A+30)

1.ชอบที่ Sight and Sound เขียนถึงหนังเรื่องนี้มากๆ จบ 555

2.ชอบที่หนังสามารถสร้างตัวละครที่น่าจดจำได้หลายๆตัวภายในเวลาอันจำกัด เราว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายๆนะในการสร้างบุคลิกที่น่าจดจำให้กับตัวละครได้อย่างรวดเร็วแบบในเรื่องนี้ คือบางตัวโผล่มาแค่ 3-5 นาที แต่มันน่าจดจำหมดทุกตัวเลย ตัวละครที่เราชอบมากที่สุดก็คือ Professor Macuse ดูแล้วนึกถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนที่ “มองขาด” คือวิเคราะห์สิ่งต่างๆในสังคมได้ดีมากๆ และเราก็ได้รับประโยชน์มากๆจากการฟังสิ่งที่อาจารย์เหล่านี้พูด แต่ฟังจบแล้ว เราก็ต้องกลับมา “ทำงานงกๆก้มหน้ารับใช้ระบบทุนนิยม” ต่อไปตามเดิม คล้ายๆกับตัวละครในหนังเรื่องนี้

3.ชอบ “สี” ในเรื่องมากๆ มันทำให้นึกถึงความสวยงามของสีสันในหนังฮอลลีวู้ดยุคโบราณจริงๆ ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากหาหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่ามาดูมากๆ โดยเฉพาะหนังที่ Carmen Miranda เล่น คือพอเราเห็นตัวละคร Carlotta Valdez ในหนังเรื่องนี้ เราก็นึกถึง Carmen Miranda ขึ้นมาทันที และก็นึกขึ้นมาได้ว่า เราไม่เคยดูหนังที่ Carmen Miranda แสดงเลย

ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ทำให้อยากหาหนังเมโลดราม่ายุคเก่าของฮอลลีวู้ดมาดูด้วย โดยเฉพาะหนังที่กำกับโดย Douglas Sirk, George Cuckor และ John M. Stahl

4.จุดที่ชอบที่สุดจุดนึงคือสิ่งที่ Sight and Sound เขียนไว้ ก็คือว่าเราดูแล้วเราไม่แน่ใจว่าผู้สร้างหนังมีจุดยืนยังไงกันแน่กับระบบทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ คือคอมมิวนิสต์ในเรื่องดูเหมือนเป็นตัวร้าย แต่หนังมันก็ exaggerate คอมมิวนิสต์ในเรื่องมากๆเพื่อทำให้คอมมิวนิสต์ในหนังไม่ได้คล้ายคลึงกับคอมมิวนิสต์ในความเป็นจริงแต่อย่างใด เราก็เลยรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี คือปกติแล้วหนังส่วนใหญ่ผู้ร้ายมันจะถูก associate กับสิ่งที่ผู้สร้างหนังเกลียดชัง (อย่างเช่นใน SALO ผู้ร้ายในหนังก็เป็น fascist, ส่วนในหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าผู้ร้ายก็เป็นนาซี) แต่ในเรื่องนี้นั้น ถึงแม้พระเอกจะอยู่ฝ่ายทุนนิยม และผู้ร้ายจะอยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่หนังก็ดูเหมือนไม่ได้ต้องการบอกว่าคอมมิวนิสต์เลว หนังเพียงแค่ดูเหมือนจะล้อเลียนความหวาดระแวงคอมมิวนิสต์ในหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่ามากกว่า

การที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ชี้ชัดว่าต้องการจะสั่งสอนอะไรผู้ชมกันแน่ มันก็เลยเป็นการทำตรงข้ามกับหนังลิเกฝรั่งที่ซ้อนอยู่ในหนังเรื่องนี้ เพราะไอ้ speech ตอนท้ายของหนังลิเกฝรั่งนั้น มันคือสิ่งที่พบได้บ่อยในหนังฮอลลีวู้ดหลายๆเรื่องในอดีตจริงๆ ที่ต้องจบลงด้วยการที่ตัวละครเอกกล่าว speech อะไรบางอย่างที่ซาบซึ้งประทับใจเพื่อสั่งสอนผู้ชม

5.ชอบประโยคนึงที่ตัวละครพูดมากๆ ที่บอกว่า “ภาพยนตร์” เป็นผลผลิตของระบบทุนนิยมที่กดขี่คนธรรมดา แต่มันสามารถนำมารับใช้คนธรรมดาได้ และชอบเรื่องความตั้งใจของกลุ่มคนเขียนบทภาพยนตร์ในการแอบสอดแทรกแนวคิดต่างๆเข้าไปในหนังอย่างเนียนๆ


6.จัดเป็นหนังที่ชอบในระดับ “ปานกลาง” เมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมาของสองพี่น้องโคเอนนะ คือชอบมากกว่าพวกหนังอย่าง THE LADYKILLERS (2004) กับ INTOLERABLE CRUELTY (2003) แต่ชอบน้อยกว่ากลุ่มหนังที่เราชอบแบบสุดใจขาดดิ้น อย่าง A SERIOUS MAN (2009), NO COUNTRY FOR OLD MEN (2007) และ BARTON FINK (1991)

No comments: