Thursday, April 25, 2024

IMAGINARY FILMS FROM THE GRAVES

 

พอเห็นข่าวหนังใหม่ของ Jean-Luc Godard ก็นึกถึงพวกหนังที่พระเอกที่กำลังจะป่วยตาย เขียนจดหมายหรือถ่ายวิดีโอไว้หลายสิบอันเพื่อให้นางเอกหรือลูก ๆ ของพวกเขาได้อ่านจดหมายหรือเปิดดูวิดีโอของพระเอกในอนาคตทุก ๆ ปีหลังจากนั้น แบบว่าในงานวันเกิดลูกอายุครบ 5 ขวบ ก็ดูคลิปวิดีโอนี้, พอลูกอายุครบ 6 ขวบ ก็ดูคลิปวิดีโอนี้, พอลูกอายุครบ 7 ขวบ ก็ดูคลิปวิดีโอนี้, etc.

 

ก็เลยคิดว่า ในอนาคตอาจจะมีผู้กำกับภาพยนตร์บางคน ที่ตั้งใจจะฆ่าตัวตายแบบ Jean-Luc Godard หรือป่วยหนักใกล้ตาย ทำแบบพระเอกหนังเหล่านั้นบ้าง คือถ่ายหนังสั้นไว้สัก 30 เรื่องก่อนฆ่าตัวตายหรือป่วยตาย แล้วให้คนสนิท release หนังสั้นเหล่านั้นปีละ 1 เรื่อง แต่อาจจะทำอะไรคล้าย ๆ แบบ 13 REASONS WHY (เรายังไม่ได้ดูละครทีวีเรื่องนี้นะ)  โดยหนังสั้นเหล่านั้นอาจจะเป็นการ “ตบล้างน้ำ” ประจานอีเหี้ยอีห่าศัตรูของผู้กำกับคนนั้น ปีละ 1 คน อะไรทำนองนี้ เพราะยังไงตัวผู้กำกับก็ตายไปแล้ว ไม่ต้องแคร์อะไรอีก 5555 แบบว่าพอผู้กำกับตายไปครบ 1 ปี ก็ release หนังสั้นที่ด่าประจานป้าของผู้กำกับ, พอตายครบปีที่ 2 ก็ release หนังสั้นที่ด่าประจานครูคนนึงที่เคยสอนผู้กำกับในโรงเรียนประถม, พอตายครบปีที่ 3 ก็ release หนังสั้นที่ด่าประจานอีสัตว์ครูตัวนึงในโรงเรียนมัธยม, พอตายครบปีที่ 4 ก็ release หนังสั้นที่ด่าเพื่อนคนนึงที่เคย bully สมัยมัธยม อะไรทำนองนี้ 5555

 

ไม่รู้ว่าเคยมีผู้กำกับคนไหนทำแบบนี้ไปแล้วหรือยัง หรือมีหนังเรื่องไหนที่มีตัวละครทำแบบนี้หรือเปล่า เราเดาว่า 13 REASONS WHY มีอะไรคล้าย ๆ แบบนี้หรือเปล่า แต่เรายังไม่ได้ดูละครเรื่องนี้นะ คือไหน ๆ กูก็จะตายแล้ว กูขอตบเรียงตัวอีเหี้ยอีห่าทุกตัวให้เต็มที่ก่อนตายก็แล้วกัน 5555 ขอเรียก project ภาพยนตร์ชุดนี้เล่น ๆ ว่า “โครงการ ภาพยนตร์ เพลิงพ่าย ใครเป็นตายไม่สน” 555555

Wednesday, April 24, 2024

MADE IN HOLLYWOOD (1990, Bruce Yonemoto, Norman Yonemoto, 56min, A+30)

 

MADE IN HOLLYWOOD (1990, Bruce Yonemoto, Norman Yonemoto, 56min, A+30)

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่ลิงค์ข้างล่างจนถึงราวเที่ยงวันศุกร์ที่ 26 เม.ย.

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/made-in-hollywood/

 

เพิ่งเคยดูหนังของผู้กำกับสองคนนี้เป็นครั้งแรก กราบตีนไปเลย ชอบทั้งตัวเนื้อเรื่องและ style ของหนังที่เน้น “ความไม่เข้ากันอย่างรุนแรงในแต่ละฉาก” คือหนังเรื่องนี้มีทั้งฉากที่ทำให้นึกถึงความยิ่งใหญ่ของหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่า ยุค INTOLERANCE (1916, D.W. Griffith), หนังยุค CITIZEN KANE, หนังสียุคแรก ๆ ที่สีแต๋นสุดขีด แบบ THE WIZARD OF OZ (1939, Victor Fleming, King Vidor) หรือ GONE WITH THE WIND, โฆษณาทางโทรทัศน์ และหนังสารคดี และเนื้อเรื่องทั้งหมดถูกเล่าผ่านทางสไตล์ของหนังเกรดต่ำโปรดักชั่นราคาถูกที่สุดในทศวรรษ 1980 คือเราชอบสุดขีดที่แทนที่หนังเรื่องนี้จะพยายามคุมโทนคุมสไตล์ของทุกฉากในหนังให้ออกมาในโทนเดียวกัน สไตล์เดียวกัน หนังเรื่องนี้กลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามด้วยการทำให้แต่ละฉากมีโทนหรือสไตล์ที่อาจจะไม่เข้ากันอย่างรุนแรง ฉากหนึ่งของหนังอาจจะทำให้นึกถึงความยิ่งใหญ่ของ INTOLERANCE แต่ฉากต่อมาอาจจะทำให้นึกถึงหนังโป๊ราคาถูกในทศวรรษ 1980 คือพอหนังเรื่องนี้เน้นสไตล์ของแต่ละฉากที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงแบบนี้ เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้คือตัวอย่างที่ดีที่สุดของประโยคที่ว่า “THE STYLE IS THE SUBSTANCE

 

คือในระหว่างที่เราดูหนังเรื่องนี้ นอกจากเราจะ enjoy กับตัวเนื้อเรื่องของหนังที่ฮามาก ๆ แล้ว เรายัง enjoy กับ “สไตล์” ของแต่ละฉากด้วย เหมือน “สไตล์” ที่แตกต่างกันของแต่ละฉากมันบรรจุ “ประวัติศาสตร์หนังฮอลลีวู้ดในแต่ละยุคที่แตกต่างกัน” เอาไว้ เราก็เลยกราบตีนหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่ทำอะไรแบบนี้ออกมาได้

 

Favorite Actress: Mary Woronov from MADE IN HOLLYWOOD (1990, Bruce Yonemoto, Norman Yonemoto, 56min, A+30)

 

มีตุ๊กตาหมีในหนังเรื่อง MADE IN HOLLYWOOD (1990, Bruce Yonemoto, Norman Yonemoto, 56min, A+30) ด้วย

 

Monday, April 22, 2024

HAUNTED HOUSES VS. SHAIHU UMAR

 

หลังจากเกิดเหตุการณ์เซ็นเซอร์ SYNDROMES AND A CENTURY (2006, Apichatpong Weerasethakul) ในไทยในเดือนเม.ย. 2007 ก็มีการผลิตหนังไทยบางเรื่องออกมาเพื่อต่อต้านการเซ็นเซอร์แสงศตวรรษในยุคนั้น ตามที่เราเพิ่งเขียนไปในโพสท์ก่อน ๆ หน้านี้ ซึ่งหนึ่งในหนังไทยกลุ่มนี้ก็คือ I WILL RAPE YOU WITH THIS SCISSORS (2008, Napat Treepalawisetkun, 13min)

 

เรื่องย่อของ I WILL RAPE YOU WITH THIS SCISSORS หรือ “หนังและกรรไกร ในวันที่ 4 เมษา” ในสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้น:

 

“เธอเกลียดหนัง และเธอสั่งให้ลูกสาวตัดหนังออกไปในวันที่ 4 เมษา”

 

ส่วนอันนี้เป็น trailer ของ I WILL RAPE YOU WITH THIS SCISSORS ค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=eTYW-vmF0NU

++++++++

DOUBLE BILL FILM WISH LIST

 

HAUNTED HOUSES บ้านผีปอบ (2001, Apichatpong Weereasethakul, 60min, A+30)

+ SHAIHU UMAR (1976, Adamu Halilu, Nigeria, 142min, A+30)

 

โดยมาฉายคู่กันใน concept “มนตร์เสน่ห์ของความไม่สมจริง”

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เม.ย.เราได้ดู SHAIHU UMAR ที่หอภาพยนตร์ ศาลายาแล้วชอบสุดขีดมาก ๆ หนึ่งในฉากที่ชอบที่สุด และขอยกให้เป็นหนึ่งในฉากคลาสสิคอมตะนิรันดร์กาลสำหรับเราไปเลย คือฉากที่พระเอกที่เป็นเด็กชายตัวเล็ก ๆ ถูกโจรนักลักพาตัวเอามีดยาวจ่อคอหอย แล้วโจรก็บอกพระเอกว่าห้ามส่งเสียงดังเพื่อเรียกคนมาช่วย แต่แทนที่นักแสดงที่เป็นเด็กจะแสดงอาการหวาดกลัว นักแสดงกลับดูเหมือนจะกลั้นหัวเราะแทบไม่อยู่ขณะที่มีดจ่อคอหอยของเขา

 

เหมือนจริงๆ  แล้วฉากนี้เป็น “ฉากที่ไม่สมจริงอย่างรุนแรงที่สุด” แต่เรากลับชอบอะไรแบบนี้อย่างสุด ๆ ซึ่งบางทีนี่อาจจะเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เราชอบดูหนังในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนที่เต็มไปด้วยการแสดงที่ไม่สมจริง 55555 หรือชอบดูละครทีวีช่อง 9 ของคุณสุนันทา นาคสมภพในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มันเหมือนอะไรแบบนี้มันทำให้เรา enjoy สองอย่างในเวลาเดียวกัน นั่นก็คือ enjoy “ตัวเนื้อเรื่องที่หนังพยายามจะเล่า” และ enjoy “ความสนุกของนักแสดงขณะถ่ายทำ” เหมือนฉากนี้มันมีทั้งความเป็น fiction (เล่าเรื่องของตัวละครขณะถูกลักพาตัว) และความเป็น nonfiction ในเวลาเดียวกัน (กล้องทำหน้าที่บันทึกการแสดงที่ไม่สมจริงของนักแสดง) และพอความเป็น fiction กับ nonfiction มันขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในฉากนั้น (ตัวละครควรจะหวาดกลัว แต่นักแสดงกลับกลั้นหัวเราะไม่ได้) มันก็เลยเกิดพลังบางอย่างที่เข้าทางเราขึ้นมา และสิ่งที่สำคัญก็คือว่า หนังไนจีเรียเรื่องนี้ไม่ได้พยายามจะบอกคนดูว่า “คุณควรจะหัวเราะให้กับฉากนี้นะ” เหมือนอย่างที่หนังเรื่องอื่น ๆ ชอบเอาฉากหลุด ๆ มาใส่ใน ending credit ด้วย คือหนังไม่ได้ treat ฉากนี้เป็นฉากตลกนอกเนื้อเรื่อง แต่เอาฉากนี้มาใส่ในเนื้อเรื่องราวกับว่ามันซีเรียสจริงจัง มันก็เลยเกิดพลังของความขัดแย้งบางอย่างขึ้นมาในแบบที่เข้าทางเรามาก ๆ

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังเรื่อง SHAIHU UMAR ตลอดทั้งเรื่องก็ดูเหมือนจะมีลักษณะการแสดงหรือวิธีการเล่าเรื่องที่ดูแปลกตาสำหรับเรามาก ๆ คือมันดูเหมือนเป็นอะไรที่แตกต่างจาก “ขนบการแสดง” และ “ขนบการเล่าเรื่อง” ของหนังเรื่องอื่น ๆ มาก ๆ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีด ซึ่งรวมถึงชอบการแสดงที่อาจจะดูเหมือนไม่สมจริงในหลาย ๆ ฉากเมื่อเทียบกับมาตรฐานหนังโดยทั่วไปด้วย คือมันไม่สมจริง แต่มันกลับมีมนตร์เสน่ห์ของตัวเองในแบบที่เข้าทางเรามาก ๆ

 

แล้วพอเราได้ดู SHAIHU UMAR โดยเฉพาะฉากคลาสสิคอมตะสำหรับเราฉากนั้นแล้ว เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง “บ้านผีปอบ” หรือ HAUNTED HOUSES ของพี่เจ้ยขึ้นมา ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดของพี่เจ้ย และเป็นหนังที่ “ไม่มีความสมจริงอะไรอีกต่อไป” แต่ความไม่สมจริงนี่แหละคือสิ่งที่งดงามที่สุดสำหรับเรา

 

One of my most favorite scenes of all time ใน HAUNTED HOUSES ก็คือฉากที่ หญิงชาวบ้านคนหนึ่งพยายามเล่นละครตามบท (เราอาจจะจำรายละเอียดบางอย่างผิดพลาดในฉากนี้ก็ได้นะ เพราะเราได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อ 20 ปีก่อน ถ้าหากเราจำอะไรผิดก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ) แล้วเหมือนในบทนั้นหญิงชาวบ้านคนนั้นต้องรับบทเป็น “หญิงสาวที่ตื่นเต้นกับรถยนต์ที่หรูหรา” หรืออะไรทำนองนี้ แต่มันไม่มีรถยนต์หรูหราปรากฏเป็นภาพให้เห็นในฉากนั้น มันมีแต่ “รถซาเล้ง” แล้วหญิงชาวบ้านคนนั้นก็ treat รถซาเล้งคันนั้นราวกับว่ามันเป็นรถยนต์ที่หรูหราซะเต็มประดา แล้วเราก็ขอยกให้ฉากนี้เป็นหนึ่งในฉากที่เราชอบที่สุดตลอดชีวิตไปเลย  เราว่าฉากนี้ของ Apichatpong มันมีพลังบางอย่างใกล้เคียงกับพลังของฉากนั้นใน SHAIHU UMAR มันเหมือนฉากนั้นมีทั้งความเป็น fiction และ nonfiction ในเวลาเดียวกัน และมันกระตุ้นจินตนาการอย่างรุนแรงของผู้ชมในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ผู้ชมใช้จินตนาการของตนเองช่วยรับมือกับความไม่สมจริงของฉากนั้น มันกระตุ้นให้ผู้ชมจินตนาการว่ารถซาเล้งคือรถยนต์หรูหรา (เหมือนกับใน SHAIHU UMAR ที่ผู้ชมต้องจินตนาการว่า ตัวละครหวาดกลัว ทั้ง ๆ ที่นักแสดงกลั้นหัวเราะไม่อยู่) และความเป็น fiction กับ nonfiction ของฉากนั้นก็เหมือนขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในฉากนั้น โดยผ่านทางความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่าง “ภาพของรถซาเล้งในความเป็น nonfiction” และ “บทบาทของรถยนต์หรูหราในความเป็น fiction” เราก็เลยรู้สึกว่าสองฉากนี้ในหนังสองเรื่องนี้มันมีอะไรบางอย่างที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ ในแบบเดียวกันมาก ๆ

 

ในแง่หนึ่งสองฉากนี้ก็ทำให้เรานึกถึงหนึ่งในฉากที่เราดูบ่อยที่สุดในชีวิตด้วยนะ นั่นก็คือฉากที่ Rebekah Del Rio ร้องเพลงใน MULHOLLAND DRIVE (2001, David Lynch) แล้วร้อง ๆ ไปเธอก็หงายหลังล้มตึงกลางเวทีไปเลย แต่เพลงที่เธอร้องก็ยังคงเล่นต่อไป เพราะจริง ๆ แล้วเธอไม่ได้ร้อง เธอแค่ลิปซิงค์ เพราะฉะนั้นถึงแม้ตัวเธอจะนอนแผ่หราอยู่บนเวที เพลงที่ไพเราะเพราะพริ้งก็ยังคงดำเนินต่อไป เพราะสิ่งที่เราได้เห็นในตอนแรกมันคือการลิปซิงค์ มันเป็นเพียงแค่ “มายาทางการแสดง” เท่านั้น

 

 ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมสองฉากนี้ใน SHAIHU UMAR กับ HAUNTED HOUSES ทำให้เรานึกถึงฉากนี้ใน MULHOLLAND DRIVE บางทีอาจจะเป็นเพราะว่า ทั้งสามฉากนี้มัน “เปิดเปลือยมายาทางการแสดง” เหมือน ๆ กันก็ได้มั้ง มันเหมือนให้เราดู “การแสดง” แล้วก็แสดงให้เราเห็นอย่างฉับพลันถึง “ความไม่สมจริงทางการแสดง” แต่มันกลับก่อให้เกิดความรู้สึกที่งดงามอย่างสุดขีดในใจเราเหมือน ๆ กันเมื่อได้ตระหนักถึงความเป็นมายาของสิ่งที่เรากำลังดูมันอยู่

 

ซึ่งสมัยก่อนเราชอบดูฉากนักร้องล้มตึงใน MULHOLLAND DRIVE บ่อยมาก ๆ เหมือนมันทำให้เรา “จิตใจสงบ” เหมือนมันทำให้เรายอมรับความเป็นมายาของหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างที่เรายึดมั่นถือมั่นในชีวิตของเรา เหมือนมันทำให้เราปล่อยวางได้ เราก็เลยดูฉากนี้ใน MULHOLLAND DRIVE ซ้ำไปซ้ำมาบ่อยมากในอดีต

https://www.youtube.com/watch?v=uHQnb3HS4hc

 

ภาพของ HAUNTED HOUSES จากสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้นปี 2004

 

 

 

 

 

 

 

 

Friday, April 19, 2024

SLAM SLAM

 

Nostalgic Song: MOVE (DANCE ALL NIGHT) (1991) – Slam Slam featuring Dee C. Lee เราเคยชอบเพลงนี้มาก ๆ เมื่อ 30 กว่าปีก่อน แต่วันนี้เราเพิ่งลอง google ดู ก็เลยเพิ่งรู้ว่า สมาชิกของวง Slam Slam นั้น ที่แท้แล้วก็คือ Robert Howard จากวง The Blow Monkeys นั่นเอง ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้เรามาก ๆ เพราะ The Blow Monkeys เป็นเหมือนวงป็อปที่ออกมาในแนว Spandau Ballet, Then Jerico, The Style Council, Level 42 อะไรพวกนั้นมั้ง ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด เราก็เลยนึกไม่ถึงว่าจริง ๆ แล้วสมาชิกวง The Blow Monkeys จะสามารถทำเพลงแดนซ์ออกมาได้อย่างงดงามถึงขีดสุดขนาดนี้

https://www.youtube.com/watch?v=enysATjbKYE

BLOOD RAIN

 

พอดู ABIGAIL (2024, Matt Bettinelli-Olpin, Tyler Gillett, A+) แล้วก็นึกขึ้นมาได้ว่า หนังอีกเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแวมไพร์ที่เราชอบสุดขีดก็คือ BLOOD RAIN ฝนเลือด (2023, Achitaphon Piansukprasert, 73min, A+30) ที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง CAMILLA (1872) ของ Sheridan Le Fanu ซึ่งเราขอยกให้เป็นหนังแวมไพร์ที่ minimal ที่สุดที่เราเคยดูมาในชีวิตนี้ ถ้าหากเราสามารถเรียก BLOOD RAIN ว่าเป็นหนังแวมไพร์ได้น่ะนะ 55555

 

คือจริง ๆ ตอนที่ดู BLOOD RAIN นี้เราไม่รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น คือไม่รู้เรื่องเลยแม้แต่น้อยว่าแต่ละฉากคืออะไร เกิดอะไรขึ้นในฉากนั้น ตกลงเนื้อเรื่องมันคืออะไร ไม่รู้อีกต่อไปว่าใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่และอย่างไรในหนังเรื่องนี้ เหมือนหนังมันถอดทุกอย่างออกไปหมดจนเหลือแต่เพียง IMAGE AND SOUND ที่งดงามในแบบของมันเอง เราก็เลยชอบความงามแบบเฉพาะตัวของหนังเรื่องนี้มาก ๆ

 

ก็เลยขอลงรูปจากหนังเรื่องนี้ไว้ในอัลบัม COLOR MY LIFE, STRAWBERRIZE MY WORLD นะ เพราะอัลบัมนี้ของเราเอาไว้เก็บรวบรวมหนังที่เราชื่นชอบ “สีสัน” ในภาพของหนัง

 

เราดูหนังเรื่องนี้จากคอมพิวเตอร์ที่ห้องสมุดของหอภาพยนตร์ ศาลายา ในช่วงปลายปี 2023 นะ

500 DAYS OF GRANDMA

 สรุปว่า หนังเกี่ยวกับสามีภรรยาปะทะกันหน้าฮวงซุ้ยที่เราถามไว้เมื่อวานนี้ คือหนังเรื่อง “ขอเพียงน้ำอัดลม” JUST SUGAR (2011, Nopparuj Wuthiranprida นพรุจ วุฒิหิรัญปรีดา 15min) จ้ะ ขอบคุณ Chayanin Tiangpitayagorn มาก ๆ ที่จดจำชื่อหนังเรื่องนี้ได้ เป็นหนังที่เราได้ดูเมื่อ 13 ปีที่แล้ว แต่ยังลืมเนื้อหาในหนังไม่ลงเลยจริง ๆ ถึงแม้เราจะจำชื่อหนังไม่ได้ก็ตาม


อันนี้คือที่เราถามไว้เมื่อวานนี้ “จำได้ว่ามันมีหนังสั้นไทยเรื่องนึงเมื่อราว 10-15 ปีก่อน ที่เล่าเรื่องของสามีภรรยาที่ไปเช็งเม้งหรืออะไรทำนองนี้ แล้วภรรยาเป็นโรคอะไรสักอย่าง แล้วก็หิวน้ำ อยากกินน้ำมาก ๆ ท่ามกลางอากาศร้อนจัด เหมือนภรรยาจะหยิบเอาน้ำอัดลมที่ไหว้เช็งเม้งมาดื่ม แต่สามีห้ามไว้ ภรรยาก็เลยต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากท่ามกลางอากาศร้อนจัดในสุสาน นักแสดงที่เล่นเป็นภรรยาก็เป็นนักแสดงขาประจำในหนังสั้นไทยยุคนั้นด้วย
คือเราจำชื่อหนังไม่ได้ มีใครจำได้บ้าง ว่ามันคือหนังเรื่องอะไร ”

ส่วนอันนี้เป็นเรื่องย่ออย่างเป็นทางการของหนังเรื่อง “ขอเพียงน้ำอัดลม”

“เธอจะทำอย่างไร เมื่อชีวิตของเธอขึ้นอยู่กับน้ำอัดลมเพียงขวดเดียว สามีของเธอจะเห็นค่าของบรรพบุรุษของเธอและอัตตาของเขามากไปกว่าเธอ ในยามมีชีวิตหรือไม่”

แต่เรายังไม่เอาหนังเรื่องนี้ไปบรรจุไว้ในรายชื่อ “หนังไทยเกี่ยวกับเทศกาลเช็งเม้ง” แล้วกันนะ เพราะเราไม่แน่ใจว่า เหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้มันเกิดขึ้นในเทศกาลเช็งเม้ง หรือเกิดขึ้นนอกเทศกาล

รายชื่อหนังไทยเกี่ยวกับเทศกาลเช็งเม้งที่เราเคยดูแล้วชอบมาก
https://www.facebook.com/photo?fbid=10233366459646824&set=a.10223045281543822

ดู trailer หนังเรื่องนี้ได้ใน comment นะ
+++
หนังที่พลาดดูในโรงเพราะชะตาชีวิตของเราในปี 2024

ช่วงสุดสัปดาห์ที่ 22-24 มี.ค
เราป่วยเป็นคออักเสบ ก็เลยพลาดดูหนังเหล่านี้

5.โปรแกรมหนังสั้น SOMETHING ELSE 01: HIDDEN IN THE ARCHIVES 

ซื้อตั๋วไว้แล้วล่วงหน้า แต่พอเราล้มป่วย ก็เลยพลาดดู

6. ชายสามโบสถ์ THE MAN OF THREE CHURCHES (1981, Adul Dulyarat)

ฉายที่หอภาพยนตร์ในสุดสัปดาห์นั้น

7. นักเลงเทวดา THE ANGEL GANGSTER (1975, Sombat Maytanee)

ฉายที่หอภาพยนตร์ในสุดสัปดาห์นั้น

8. MADGAON EXPRESS (2024, Kunal Kemmu, India)
+++
อยากให้มีคนทำหนัง found footage ที่ตัดต่อ FOX AND HIS FRIENDS (1975, Rainer Werner Fassbinder, West Germany), ช่างมันฉันไม่แคร์ I DON'T GIVE A DAMN (1986, M.L. Pundhevanop  Dhewakul) กับ EGOIST (2022, Daishi Matsunaga, Japan) เข้าด้วยกัน
https://www.the101.world/egoist/

+++
   ซื้อ MUSAWA PUFFS (ผลิตภัณฑ์ซีเรียลอบกรอบจากแป้งกล้วยน้ำว้าและแป้งข้าวไทย) มาให้ลูกหมีกินช่วงวันหยุดยาว ลูกหมีประทับใจสุดขีดที่กล่องพัสดุเป็นลายลูกหมี :-) :-) :-)
+++
MY PERFECT DOUBLE BILL: HOW TO MAKE MILLIONS BEFORE GRANDMA DIES หลานม่า (2024,  Pat Boonnitipat, A+30)
+ (500) DAYS OF SUMMER (2010, Marc Webb, A+30)

เขียนเพื่อความฮา 55555

พอเราได้ดูหนัง 2 เรื่องนี้ต่อกัน ก็เลยรู้สึกว่า มันเหมาะฉายควบกันอย่างสุด ๆ สำหรับเรา จนเราอยากเรียกหนังเรื่อง "หลานม่า" ว่า 500 DAYS OF GRANDMA  เพราะว่า

SPOILERS ALERT สำหรับหนังทั้งสองเรื่อง
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.หนังทั้งสองเรื่องเล่าผ่าน "มุมมองของตัวละครชายที่มองตัวละครหญิง" เหมือนกัน  และหนึ่งในสิ่งที่เราชอบสุดขีดในหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็คือว่า ตัวละครหญิงที่ถูกมองในหนังทั้งสองเรื่อง มันเป็นตัวละครที่เขียนขึ้นมาอย่างดีงามมาก ๆ ชอบตัวละครนางเอกในหนังทั้งสองเรื่องนี้มาก ๆ

2.พระเอกของ 500 DAYS OF SUMMER ต้องการ "ความรัก"  จากนางเอก แต่นางเอกบอกแล้วตั้งแต่ต้นว่าไม่ต้องการแฟน ทั้งสองได้ใช้เวลาดี ๆ อยู่ด้วยกันช่วงนึง ก่อนที่จะแยกทางกันไปอย่างร้าวรานเจ็บปวด เพราะนางเอกตัดสินใจว่าจะไม่ให้ "ความเป็นแฟน" กับพระเอกอีกต่อไปตามที่พระเอกต้องการ นางเอกตัดสินใจมอบสิ่งนั้นให้กับชายอีกคนโดยที่เธอมีเหตุผลที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี พระเอกก็ดูเหมือนจะเติบโตขึ้น หรือมีพัฒนาการบางอย่างในช่วงหลังจากนั้น เขาลาออกจากงานเดิม พยายามจะกลับมาเป็นสถาปนิก แต่งตัวภูมิฐานในตอนจบ

ส่วนใน หลานม่า นั้น พระเอกต้องการมรดกบ้านจากอาม่า ทั้งสองได้เก็บเกี่ยวช่วงเวลาดี ๆ อยู่ด้วยกันช่วงนึง ก่อนจะแยกทางจากกันไปอย่างร้าวรานในช่วงต่อมา เพราะอาม่าตัดสินใจมอบสิ่งนั้นให้กับผู้ชายอีกคน แทนที่จะให้มันกับพระเอก โดยที่อาม่าก็มีเหตุผลอันเหมาะสม (เรารู้สึกราวกับว่า อาม่าต้องการ "รับผิดชอบ" กับลูกทุกคนที่เธอเบ่งออกมา เธอก็เลยมอบบ้านให้กับคนที่ in need มากที่สุด) อย่างไรก็ดี พระเอกก็เหมือนเติบโตขึ้น หรือมีพัฒนาการบางอย่างหลังจากนั้น เหมือนเขาแต่งตัวด้วยเชิ้ตขาวที่อาม่ามอบให้ในช่วงท้าย ๆ เรื่องหรือเปล่า เขาก็เลยดูภูมิฐาน เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

พอดูหนังสองเรื่องนี้ต่อกัน มันก็เหมือนเห็นเส้น narrative line บางอย่างที่ตรงกันในบางจุด 55555

3.แต่หนึ่งในสิ่งที่เราชอบสุดขีดในหนัง 2 เรื่องนี้ ก็คือการที่พระเอกเหมือนพยายามควบคุมนางเอกให้มอบในสิ่งที่พระเอกต้องการ (ความเป็นแฟน, บ้าน) แต่พระเอกก็ทำไม่สำเร็จ และพระเอกเองเป็นฝ่ายที่ต้องเรียนรู้จากความผิดหวังนั้น เกิดการเติบโต พัฒนา และก้าวต่อไป เราชอบการที่นางเอกในหนังทั้งสองเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่พระเอกไม่สามารถควบคุมได้ นางเอกมีเจตจำนงแข็งแกร่งเป็นของตัวเอง

4.และเราก็ชอบการออกแบบตัวละครนางเอกในหนังทั้งสองเรื่องนี้อย่างสุดขีดด้วย ชอบการออกแบบตัวละครอาม่ามาก ๆ เพราะเราว่าเธอน่าสงสารมาก เธอเป็นคนที่แต่งงานตามที่พ่อแม่บอก แต่ก็ดันได้ผัวเลว เธอทนดูแลพ่อแม่ แต่ก็ไม่ได้มรดกก้อนใหญ่ พี่ชายก็เลวกับเธอ ลูกชายที่เธอรักที่สุด ก็หวังมรดกจากเธอ ลูกชายอีกคนก็ขโมยเงินแสนจากเธอ (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) ลูกสาวก็ต้องทำงานหนัก เธอแก่มากแล้วแต่ก็ยังลุกมาขายโจ๊กตอนตี 5

เราก็เลยรู้สึกว่า หนังมันออกแบบตัวละครอาม่าออกมาดีมาก ๆ

ส่วนตัวละครนางเอกใน 500 DAYS OF SUMMER นั้น เราก็ชอบมาก ๆ คือตอนแรกเราเฉย ๆ เพราะช่วงแรกของหนัง เธอมีสถานะเป็นเพียง OBJECT OF DESIRE มีสถานะเป็นเพียง "สาวสวยน่ารัก" ให้หนุ่ม ๆ หมายปอง แต่เรารู้สึกราวกับว่า หนังค่อย ๆ เปลี่ยนเธอจาก OBJECT OF DESIRE ให้กลายเป็นมนุษย์จริง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ เราได้เรียนรู้ประวัติเรื่องแฟนเก่าของเธอ เห็นความลังเลใจของเธอ และได้เห็นความมีตัวตนจริง ๆ ของเธอ เห็นการตัดสินใจแบบเป็นอิสระของเธอ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่ให้นางเอกเลือกทางเดินชีวิตแบบนั้นในช่วงท้ายเรื่อง

5.ก็เลยรู้สึกชอบมาก ที่ได้ดู 500 DAYS OF GRANDMA กับ 500 DAYS OF SUMMER ควบกัน 555
+++

Thursday, April 18, 2024

FREE

 

 

71. FREE (2023, Chatdilok Sae-oueng เจตดิลก แซ่อึ้ง / 19.44 นาที, A+25)

 

 

72. FRI(END) (2023, Sornsichar Ruttanamontain สรสิชา รัตนมณเฑียร / 7.39 นาที, A+25)

 

FriendFull / พรรณพัชร สมุมรัตน์, ชนากานต์ โพธิ์ศรี / 30.52 นาที

 

73. FRIENDSHIP (2023, Wannasa Nankathog วรรณศา นันกระโทก / 21.12 นาที, A+25)

 

เรื่องนี้มีรูปจาก CALL ME BY YOUR NAME ด้วย

 

74. FRIENDSHIT (2022, Sirirat Wongsrisuphakul ศิริรัตน์ วงศ์ศรีศุภกุล / 12.18 นาที, A+15)

 

75. THE FUTURE (2022, Pongpat Kaewmoon พงศ์พัฒน์ แก้วมูล / 20.24 นาที, A+)

Wednesday, April 17, 2024

OCTOPUS TAPE

 

ช่วงรำลึกถึงความหลัง

 

วันนี้ลองหยิบเทปอัลบัม TEARS AND REASONS (1992) ของ Yumi Matsutoya มาฟัง ยุคนั้นไม่มีการจำหน่ายเทปลิขสิทธิ์ของนักร้องญี่ปุ่นในไทย ยกเว้นนักร้องญี่ปุ่นที่อยู่ในค่ายเพลงสากล อย่างเช่น Seiko Matsuda, Yoko Minamino, Misato Watanabe, etc. คือถ้าหากเราจำไม่ผิด ยุคนั้นนักร้องญี่ปุ่นที่อยู่สังกัด CBS จะมีเทปเพลงลิขสิทธิ์ออกจำหน่ายในไทย แต่นักร้องญี่ปุ่นที่อยู่สังกัดอื่น ๆ แทบไม่มีเทปลิขสิทธิ์ขายเลย เราก็เลยต้องซื้อเทปเพลงญี่ปุ่นของนักร้องเหล่านี้ในรูปแบบของเทปผี จากตรา Octopus ซึ่งทำเทปผีออกมาได้ดีมาก ๆ เทป Octopus มีเนื้อร้องเพลงญี่ปุ่นลงในปกให้ทุกเพลง และเทปของ Yumi Matsutoya ม้วนนี้ก็มีอายุราว 31 ปีแล้ว แต่ยังฟังได้อยู่เลย

 

ถ้าหากจำไม่ผิด เทป Octopus ยุคนั้นม้วนละ 55 บาท

 

โชคดีที่ยุคนี้เราสามารถฟังเพลงของ Yumi Matsutoya อย่างถูกลิขสิทธิ์ได้แล้วทาง Spotify

https://open.spotify.com/album/3mDLaX5p47f6pZ4pWbV9c2

FOR THE TIME BEING

 MARATHON 2023

66. FLUSH OUT (2022, Sirasak Suteeraworapong ศิรศักดิ์ สุธีระวรพงศ์ / 19.28 นาที, A+30)

 

หนังเกี่ยวกับยาเสพติด

 

67. FOR THE TIME BEING (2023, Chatmongkol Choopaibool,  ฉัตรมงคล ชูไพบูลย์ / 30 นาที, A+30)

 

ชอบไอเดียของหนังเรื่องนี้มาก ๆ เก๋มาก หนังเล่าถึงชายหนุ่มที่มีพลังพิเศษ ที่น่าจะเป็นเหมือนคำสาปมากกว่า และพลังพิเศษของเขาก็คือว่า เมื่อใดก็ตามที่เขามีความสุขมาก ๆ คนที่อยู่รอบข้างเขาในตอนนั้นก็จะแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว

 

68. FRAGMENTS (2023, Kamin Panthakit คามิน พันธะกิจ / 9.36 นาที, A)

 

ดูแล้วงง 555

 

------------------------------------

มาราธอน 14 (MARATHON 14)

อังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 18.00 น. Tue 7 NOV 2023 6 P.M.

.

69. FREAKOUT (2023, Nawapon Thongdee นวพล ทองดี / 15 นาที, B+ )

 

หนังเกี่ยวกับยาเสพติด

 

70. FREAKING AWESOME ขอย้ำความเจ๋ง (2023, Chanadech Ngoen-udomชนะเดช เงินอุดม, Napong Buatim ณพงศ์ บัวทิม / 28 นาที, C+  )

 

เป็นหนังที่ “ตุ๊กตาหมี teddy bear” มีบทบาทสำคัญ แต่เราไม่ค่อยชอบหนังเท่าไหร่

 

Tuesday, April 16, 2024

IF THESE WALLS COULD TALK

 

ฉันรักเขา Takeru Satoh from APRIL COME SHE WILL (2024, Tomokazu Yamada, Japan, A+30)

+++

เพิ่มเติมรายชื่อหนังที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันแล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ

 

72. FOR SALE (1998, Laetitia Masson, France, A+30)

+ RUNAWAY BRIDE (1999, Garry Marshall)

 

เรื่องย่อของ FOR SALE

A Private detective is hired to trace a woman who ran away and disappeared on her wedding day. The movie follows him and recounts the story of her life through her eyes and the eyes of those interviewed by the detective.

 

เรื่องย่อของ RUNAWAY BRIDE

A reporter is assigned to write a story about a woman who has left a string of fiancés at the altar.

+++++++

หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากเวลาเราดูหนัง โดยเฉพาะหนังสั้นของไทย ก็คือการสังเกตว่าห้องของตัวละครติดโปสเตอร์ใดไว้ที่ฝาผนังบ้าง เหมือนการติดโปสเตอร์ไว้ที่ฝาผนังมันช่วยบ่งบอกหลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับตัวละครตัวนั้นได้โดยไม่ต้องผ่านทางบทสนทนา, voiceover หรือ text

 

และอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราชอบสังเกตสิ่งนี้ เป็นเพราะว่าเราเก็บกดด้วยแหละ 55555 คือตอนเด็ก ๆ สมัยที่เราอยู่บ้านกับครอบครัว เราก็ชอบติดโปสเตอร์ที่แถมมากับหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นประเภท CANDY CANDY (1975, Kyoko Mizuki + Yumiko Igarashi) , MAYME ANGEL (1979, Yumiko Igarashi), FOSTINE (Chieko Hara) ไว้ที่ฝาผนังห้องของตัวเอง โปสเตอร์พวกนี้ช่วยทำให้เรามีความสุขมาก ๆ

 

แต่พอเราออกจากบ้านมาอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์ตามลำพัง อพาร์ทเมนท์ของเราเขาห้ามติดโปสเตอร์ที่ฝาผนัง เพราะฝาผนังจะเป็นรอย เราก็เลยต้องอาศัยอยู่ในห้องที่ไม่สามารถติดโปสเตอร์ได้มาเป็นเวลานาน 29 ปีแล้ว เราก็เลยรู้สึกเก็บกดอย่างสุด ๆ 55555 และความเก็บกดนี้ก็เลยทำให้เรามีความสุขที่ได้ดู โปสเตอร์ตามห้องของตัวละครในหนังเรื่องต่าง ๆ เหมือนการที่ตัวละครได้ติดโปสเตอร์ไว้ตามฝาผนังห้องมันช่วยระบายความเก็บกดของเราออกมา

 

เราก็เลยคิดว่าจะทำอัลบัม IF THESE WALLS COULD TALK อันนี้ขึ้นมา เพื่อบันทึกไว้ว่า เราเห็นโปสเตอร์ใดติดไว้ตามฝาผนังในหนังเรื่องใดบ้าง

 

อันนี้เป็นหนังเรื่อง DRUNKEN (2023, Thanapong Sornnarai ธนพงศ์ ศรนรายณ์ / 30.41 นาที, A+30) สังเกตได้ว่ามีโปสเตอร์ของเทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันอยู่ด้วย เป็นปีที่ทางเทศกาลฉายหนังเรื่อง THE TERRORIZERS (1986, Edward Yang, Taiwan)

MARATHON 2023

 

20. CHOICE OR CHUI (2022, Suppasin Pasurawanit, A+30)

Choice or ชุ่ย / ศุภศิลป์ ภาสุรวณิช / 30.50 นาที

 

 

21. A CITY OF CHILDHOOD DEMENTIA (2023, Phakwan Sengsak พาขวัญ เส้งศักดิ์ , 30 นาที, A+25)

 

มาราธอน 9 (MARATHON 9)

เสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 13.00 น. SAT 4 NOV 2023 1 P.M.

.

22. COME IN ALONE (2023, Pavit Karoonvichien ปวิช การุณวิเชียร / 16.32 นาที, experimental film, A+15)

 

23. COMPLEX LOVE ความรักที่ซับซ้อน (2023, Nutchamat Fongkaew นุชจมาศ ฟองแก้ว / 8.02 นาที, C- )

 

24. THE CONCERNER (2023, Nuttapumin Phoungprasert ณัฐภูมินทร์ ปวงประเสริฐ / 28.18 นาที, A)

 

25. CONFIDENT (2022, Pattamon Sukontasap ภัทรมน สุคนธทรัพย์ / 19 นาที,  A- )

 

26. CONTENT ทางกลับแฟลต / 2023, Bussara Sonjareansap บุศรา สอนเจริญทรัพย์, Anant Kasetsinsombut อนันต์ เกษตรสินสมบัติ / 17.30 นาที, A+30)

 

27. CONVERSATION OF TOMORROW  (2023, Tarntham Chanthaurai ธารธรรม ฉันทอุไร /sci-fi, 34.27 นาที,  A+25)

 

28. COPAIN (เพื่อน) (2023, Nutthapon Thepwong ณัฏฐพล เทพวงศ์ / 10.44 นาที, A- )

 

29. CREMATION CEREMONY ประวัติย่อของบางสิ่งที่หายไป (2023, Vichart Somkaew วิชาติ สมแก้ว / 15.41 นาที, political film, A+30)

 

30. CULT (2022, Donlaya Prakobkit ดลยา ประกอบกิจ, Aliocha Perignon อเรียวชา เปรีเนียว / 4.12 นาที, B+  )

 

31 .D (2023, Sadtavud Wangpattanakunchai เสฎฐวุฒิ หวังพัฒนกุลชัย , 5.18 นาที, B+  )

 

------------------------------------

🎞มาราธอน 10 (MARATHON 10)

เสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 18.00 น. SAT 4 NOV 2023 6 P.M.

.

32. CRUSADER – JUSTICE BY BLOOD (2022, Akarin Piboonrattanachai อัครินทร์ พิบูลย์รัตนชัย / animation, 66.11 นาที, A+20)

 

33. DA BIG BOOTY BOY (2023, Jirayu Suratin จิรายุ สุรทิณฑ์ / 19.33 นาที, A)

 

34. DAILY JOURNAL FROM THE BORDER JOURNEY (2023, Saw Po Shee ธงชัย ชคัตประสิทธิ์ / 11.44 นาที documentary, A+30)

 

35. DANS LA LUNE  /2023, Korarat Amatayakul กรรัตน์ อมาตยกุล / 16.34 นาที A+25)

 

เดาว่าหนังเรื่องนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก Nicolas Winding Refn

 

36. DAOFON (ดาวฝน) (2023, Sira Tongorn ศิรา ตองอ่อน / 13.49 นาที, A- )

 

37. THE DASTAR (2023, Arissara Suvarnasuddhi อริสรา สุวรรณสุทธิ / 25.56 นาที, A+25)

 

38. DEATH (2023, Korndanai Chinnakorn กรณ์ดนัย ชินกร / 21.23 นาที, B-  )

.

มาราธอน 11 (MARATHON 11)

อาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 13.00 น. SUN 5 NOV 2023 1 P.M.

.

39. DEAR PEOPLE WHO NEVER FORGET (2023, Prasittiphorn Jaemfa ประสิทธิพร แจ่มฟ้า / 12.21 นาที, A+25)

 

40. THE DEATHING APP (2023, Yam, Nana, Jai Israngkura เยา, นาน่า, ใจ อิศรางกูรฯ / horror, 9 นาที, B-  )

 

41. DECIBLE (2023, Lalada Thankittikul ลลดา ธัญกิตติกูล /slice of life, 5.32 นาที, B )

 

42. DESERVED IT ลาก่อน พบกันใหม่  (2023, Pacharapol Eklakkanarat พชรพล เอกลัคนารัตน์ / 10.17 นาที, A+)

 

43. DICK IN THE BUTT (2023, Kamin Panthakit คามิน พันธะกิจ / 7.15 นาที, A+)

 

44. DISORDER จิตหลอนซ่อนมรณะ (2023, Thanet Suksabai ธเนศ สุขสบาย / crime film, 20.27 นาที, A+5)

 

45. DISSONANTIA (2023, Tiwat Koonphol ฑิวัต คูณผล / 10.50 min, A+)

 

46. DO YOU REMEMBER ME (2023, Chanakan Panyim ชนากานต์ ปานยิ้ม / 28.21 นาที, A+)

 

47. DON’T TOUCH MY BOYFRIEND (2023, Achiraya Ninomiya อชิรญา นิโนมิยะ / 4.22 นาที, A+)

 

หนังเรื่องนี้มีการล้อเลียน SCREAM ด้วย

 

48. DOPE (2023, Natthayada Rungrojanaluk ณัฐญาดา รุ่งโรจนาลักษณ์ / 4.32 นาที, A+)

 

เหมือนปี 2023 มีเด็กมัธยมทำหนังในประเด็นยาเสพติดหลายเรื่อง ซึ่งก็น่าจะรวมถึงเรื่องนี้ด้วย เราเดาว่าอาจจะเป็นหนังส่งโครงการอะไรสักอย่าง

 

49. DREAMCORE: นี่หรือที่คนต้องการ (2023, Thanwa Metmowlee ธันวา เมธเมาลี / 2.59 นาที, A-)

 

หนังต่อต้านยาเสพติด

 

50. DREAMHOUSE บ้านในฝัน ฝันถึงบ้าน (2023, Bundit Khuenkum บัณฑิต เขื่อนคำ, Nuttapumin Phoungprasert ณัฐภูมินทร์ ปวงประเสริฐ / 10.36 นาที, A)

 

51. DRUNKEN (2023, Thanapong Sornnarai ธนพงศ์ ศรนรายณ์ / 30.41 นาที, A+30)

 

ชอบประเด็นของหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่พูดถึงปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายสุราในประเทศไทย

 

52.DyRaME (2023, Akkasit Sudjai เอกศิษฐ์ สุดใจ / 4.50 นาที, B- )

 

หนังเกี่ยวกับเด็กฆ่าตัวตาย

 

------------------------------------

🎞มาราธอน 12 (MARATHON 12)

อาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 18.00 น. SUN 5 NOV 2023 6 P.M.

 

53. THE END OF PARALYZE (2023, Ratchata Sathongtean รชต สระทองเทียน / 30.37 นาที, A+30)

 

นึกว่าต้องฉายควบกับ LOURDES (2009, Jessica Hausner, Austria, A+30) เพราะ LOURDES มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่รักษาไม่หาย แล้วก็เลยเดินทางไปแสวงบุญเพื่อขอปาฏิหาริย์จากพระแม่มารีให้มาช่วยรักษาตนเองให้หาย

 

ส่วนหนังเรื่อง THE END OF PARALYZE นี้เกี่ยวกับผู้ป่วยเป็นอัมพาตและการหวังพึ่งปาฏิหาริย์จากอนุสาวรีย์ย่าโม เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกว่ามันเหมาะจะปะทะกับ LOURDES อย่างรุนแรง

 

ชอบการพูดถึงความเชื่อเรื่องนกแสก และการที่หนังเรื่องนี้เหมือนจะมีประเด็นทางการเมืองอยู่ด้วย

 

54. ENTROPY OF TIME (2023, Pakin Ruengsang ภาคิน เรื่องสังข์ / 7.20 นาที, A+)

 

ดูแล้วงงมาก ๆ

 

55. ENTWINED (2023, Torfon Adisakdecha ทอฝน อดิศักดิ์เดชา / 2.20 นาที, animation, A+20)

 

ดูแล้วงง แต่ภาพสวยมาก

 

56. EVERYTHING LIKE BEFORE (2023, Noramon Wanichkamolnant นรมน วานิชกมลนันทน์ / 30 นาที, A+30)

 

หนังงดงามมาก ๆ ชอบการถ่ายบรรยากาศของหอพักเก่า ๆ ออกมาได้อย่างทรงพลังสุดขีด

 

จริง ๆ แล้วเนื้อหาของหนังทำให้นึกถึงหนังสั้นไทยกลุ่ม TAKE ME HOME, COUNTRY ROAD ที่มักจะเล่าเรื่องของพระเอก/นางเอกกลับไปเยี่ยมปู่ย่าตายายในชนบท แต่หนังเรื่องนี้เปลี่ยนมาใช้ setting เป็นหอพักเก่าในเมือง แทนที่จะเป็นชนบท เราก็เลยชอบมันมาก ๆ ตรงจุดนี้ด้วย

 

57. EYE (2023, Thanawat Sae-jao ธนวัฒน์ แซ่จ๋าว, animation, 2.16 นาที, A+30)

 

58. F (OUR) OF A KIND (2023, Pit Namsomboon พิชญ์ น้ำสมบูรณ์ / 18.45 นาที, A+25)

 

หนังเรื่องนี้มีการพาดพิงถึงคาลิล ยิบรานด้วย

 

เรื่องราวของเพื่อนเก่าที่กลับมาเจอกัน ชอบความเป็นธรรมชาติของหนัง แต่เสียดายที่ตอนจบพยายามทำซึ้งมากไปหน่อย

 

59. FACE TO FACE (2023, Engkarat Sornsriwichai อิงครัต ศรศรีวิชัย / 20.34 นาที, A+30)

 

เรื่องราวของทหารหนุ่มสองคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกัน แต่กลับมาช่วยเหลือกันท่ามกลางสนามรบ ดูแล้วนึกถึงกลอน THE MAN HE KILLED ของ Thomas Hardy ที่เราชอบสุดขีด เพราะกลอนนี้พูดถึงประเด็นที่ว่า ถ้าหากเราสองคนไม่ได้เจอกันในสงคราม ถ้าหากไม่มีสงครามเกิดขึ้น ถ้าหากเราสองคนเจอกันตามผับในประเทศที่ไม่มีสงคราม พวกเราคงได้ผูกมิตรกัน ก๊งเหล้ากันไปแล้ว

 

"Had he and I but met

            By some old ancient inn,

We should have sat us down to wet

            Right many a nipperkin!

 

            "But ranged as infantry,

            And staring face to face,

I shot at him as he at me,

            And killed him in his place.

 

            "I shot him dead because —

            Because he was my foe,

Just so: my foe of course he was;

            That's clear enough; although

 

            "He thought he'd 'list, perhaps,

            Off-hand like — just as I —

Was out of work — had sold his traps —

            No other reason why.

 

            "Yes; quaint and curious war is!

            You shoot a fellow down

You'd treat if met where any bar is,

            Or help to half-a-crown."

 

 

60. FADE (2023, Sataphon Gumarnchan ศตพร กุมารจันทร์ / 9.18 นาที, B )

 

61. FAITH CONSTRUCT (2023, Natdanai Jewsumang, Parkpoom Chamnarnprukesa, Natchanon Chaiyasaeng, Voramate Puaysri, A+30)

 

Faith Constuct / ณัฐดนัย จิ๋วสำอางค์, ภาคภูมิ ชำนาญพฤกษา, ณัฐชนน ไชยแสง, วรเมธ เปือยศรี / 19.23 นาที

 

62. A FAMILY PORTRAIT (2023, Supawin Srisamran, A+30)

ศุภวิญช์ ศรีสำราญ / 23.48 นาที

 

 

มาราธอน 13 (MARATHON 13)

อังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 13.00 น. Tue 7 NOV 2023 1 P.M.

.

63. FAMILY TREE (2023, Bin Bin Bin, Nonthapat Raschusanti ชีววุฒิ บินกำซัน, นนทภัทร รัชชุศานติ / 37.08 นาที, A+30)

 

มีโปสเตอร์ Pink Floyd ในหนังด้วย

 

64. FISH IN THE HOUSE (2023, Chompunut Suksaard ชมพูนุท สุขสะอาด / 30 นาที, A+30)

 

65. FLAME (2023, Pisit Dechawattanapong พิสิษฐ์ เดชาวัฒนะพงศ์ / 13.43 นาที, political film, A+30)

 

ชอบสุดขีดมาก ๆ เราเข้าใจว่าหนังพาดพิงถึงเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 และเหตุการณ์ “ถีบลงเขา เผาลงถังแดง” และทำมันออกมาได้อย่าง minimal มาก แต่ทรงพลังมาก นึกว่าต้องปะทะกับ THE EDGE OF DAYBREAK (2021, Taiki Sakpisit) เป็นหนังของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

 

ผู้กำกับคนนี้เคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง จุดนัดพบ STILL (2022, พิสิษฐ์ เดชาวัฒนะพงศ์ / 9 นาที, A+30) มาก่อนด้วย